6 พ.ย. 2019 เวลา 12:53 • ประวัติศาสตร์
David; Michelangelo Buonorotti
e Maestro Thailandese .."นที เกวลกุล"
ตอนไปฟลอเรนซ์ ขอเลือกที่จะถ่ายรูปกับ รูปปั้นเดวิด ของ Michaleangelo Buonorotti ศิลปินเอกแห่งเรอเนสซองส์ น้อยที่สุดเพราะต้องการดูจาก "ตาเปล่า" ให้มากที่สุด เพราะมองผ่านเลนส์กล้อง ไม่น่าจะได้ อรรถรส มากเท่ากับการ มองประติมากรรมชิ้นเอกของโลกด้วย ตาเปล่า ของมนุษย์
เป็นโชคดีมหาศาล ที่กับก่อนเดินทาง ได้สนทนากับ ประติมากร สลักหินอ่อน คนเก่งของไทยเรา (น่าจะมีคนเดียว) ที่ไปเรียนวิชา แกะสลักหินอ่อนถึงอิตาลีเป็นเวลา ๘ ปี คุณ "นที เกวลกุล" เพื่อทำรายการ "คุยไร้กระบวนท่า" (ที่จะออกอากาศในไม่ช้านี้)
จึงขอถ่ายทอดเรื่อง งานประติมากรรมดังนี้ครับ
1. แต่ก่อนเคยเห็นรูปปั้นขาวๆ ไม่รู้ว่า แตกต่างกันว่า มีทั้งแบบ "ปูนปั้น" "แกะสลักจากหินทราย" และ "แกะสลักจากหินอ่อน" งานประติมากรรมชิ้นสำคัญๆของอิตาลี เช่น Pieta, David นี้ก็เป็นแบบ แกะสลักจากหินอ่อนนั่นแหละครับ
2. งานปูนปั้น ก็คงจะเข้าใจกันล่ะครับว่า อยากปั้นเป็นรูปทรงใดก็ปั้นไป ขาดส่วนใดก็เพิ่ม เกินส่วนใดก็ตัดทิ้ง ปรับแก้กันไปได้
3. งานหินอ่อน ตรงกันข้ามกัน เพราะเริ่มจาก หินอ่อนชิ้นขนาดใหญ่ยักษ์ สิบกว่าตัน มาเป็นแท่งเป็นก้อนขนาดใหญ่ (ที่เราเห็นสีขาวๆก็คือ หินอ่อน Carrara ที่ขุดกันตั้งแต่สมัยโรมันจนวันนี้ สองพันกว่าปียังไม่หมด เพราะว่าใหญ่เป็น "เทือกเขา" Apuana ตั้งอยู่ใน Toscana
1
4. จากแท่งใหญ่โตน้ำหนักเป็นสิบตัน ต้องค่อยๆใช้ อุปกรณ์ แกะ, แซะออกมาทีละน้อยๆ จนกระทั่งกลายมาเป็น รูปทรงสันฐานที่ประติมากรต้องการ .. ความท้าทายคือ "พลาดแค่นิดเดียว" ไม่เป็นไปตามรูปทรง จมูกหัก นิ้วหักไปแล้ว .... แก้ไม่ได้ แล้วหรือต้องปรับแผนทั้งหมด
1
5. ดูประติมากรรมเดวิด แล้วจะพบว่า การที่เอาหินอ่อนขนาดใหญ่ยักษ์ (เอาแค่ประติมากรรมเดวิดเอง สูงถึง 4.34 เมตร รวมฐานเข้าไปก็ 5.15 เมตร) หินอ่อนตั้งต้นจะใหญ่ขนาดไหน ...
6. แม้ว่า Michelangelo จะ รับงานนี้มาจาก ประติมากรสองคนก่อนหน้าเขา (ที่ทิ้งงานไปเพราะไม่ชอบสิ่งที่ได้เริ่มต้นแกสลักมา) แต่ เขา จัดการกับงานที่ไม่เสร็จและคงไม่เป็นรูปร่างได้เลยนั้น จนออกมาเป็น รูปร่างมนุษย์ที่ ถือกันว่า สมบูรณ์แบบที่สุด แถมยังมีรายละเอียดทุกอวัยวะแบบ สมจริง ราวกับมีชีวิต
มัดกล้าม, เส้นเลือด, ผม, ขน, แววตา, เล็บ ร่องเล็บ สมบูรณ์แบบคมชัด
ต้องไม่ลืมว่าทั้งหมดนี้ มาจากการแกะสลักหินอ่อนก้อนยักษ์ที่แทบจะไม่มีทรวดทรงอะไรเลย !!!
7. ตอนที่คุยกับ "นที" นที สาธิตว่า การแกะสลักหินอ่อน โดยปกติจะต้องมีการทำแบบเป็น "ปูนปั้น" ก่อน ขนาดใหญ่เท่ากันกับ ประติมากรรมแกะสลักจากหินอ่อนที่จะให้เป็น เช่นใหญ่เป็นสัดส่วน 1:1, 1.5: 2:1 (ของตัวมนุษย์จริง) จากนั้นก็จะ ใช้ ปูนปั้น (Plaster Cast) เป็น ต้นแบบ ปักหมุด ลงจุด แล้วใช้ อุปกรณ์ คล้ายไม้วัด สามมิติ (Pantografo) มาทาบ เพื่อเป็นตัวนำทางการ แกะสลักหินอ่อน ให้ออกมาเป้น รูปทรง สันฐานตามที่ได้วางแผนเอาไว้ (แค่คนฟังยังเหนื่อยแทน)
1
8. ถาม "นที" ว่า แล้ว ปูนปั้นต้นแบบของ "เดวิด" ที่ มีขนาดสูงถึง 5.15 เมตร นั้นเก้บเอาไว้ที่ไหน (เพราะที่ Academia, Firenze) นั้นมีแต่ Plaster Cast ผลงานอื่นๆ แต่ไม่มี Plaster Cast ของ "เดวิด" ....
"นที" บอกว่า .... ที่มหัศจรรย์กว่าความสวยงามคือ มิเกลันเจโล่ มิได้ทำ ปูนปั้น เป็นต้นแบบ 1:1 แล้วนำมาแกะสลักหินอ่อน แต่ ... แกะสลักจาก หินอ่อนแท่งยักษ์ที่ได้มาสดๆ เลย (บร๊ะเจ้า !!!!) ทำได้ขนาดนั้น !!!!
1
9. ดังนั้นเมื่อ มีโอกาสได้ไปชมผลงาน ประติมากรรมชิ้นเอกของโลก โดยประติมากรผู้เป็นตำนานของโลกใบนี้ หลังจากได้ คุยกับ ประติมากรเอก ผู้แกะสลักหินอ่อนหนึ่งเดียวของไทย ยิ่งทำให้ ต้องพิศ ต้องชม "เดวิด" ด้วย "ตาเปล่า" ให้ละเอียดชัดเจน
10.1 ถัดมาคือข้อสงสัยที่ว่า มิเกลันเจลโล่ ตั้งใจจะไม่ให้มีแววตาหรือเปล่า (เพราะดูเหมือนไม่มีตาดำ) จริงแล้วเห็นว่า "มีตาดำ" แต่ ประติมากรรมสูงมาก และ จะเห็น แววตา ต้องไปยืนในที่สูง มองจาก พื้นล่างจะไม่เห็น
จึงขอฝากเรื่องราวมาไว้ดังนี้แหละครับ
ปล. ทำให้ผมนึกถึง Cast Room ของ Victoria & Albert Museum ที่ ลอนดอน ด้วยครับเพราะว่าจะมี Plaster Cast ของเดวิด ตั้งเอาไว้ด้วย ตอนไปดูเมื่อ สามปีก่อน ไม่เข้าใจว่า Cast Room คืออะไร ตอนนี้เข้าใจแล้ว
1
โฆษณา