Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
เภสัชกรป้อนข่าว Pharm.NEWS
•
ติดตาม
7 พ.ย. 2019 เวลา 15:25 • สุขภาพ
รู้หรือไม่❓...มีไฟเบอร์จากธรรมชาติชนิดหนึ่ง (Natural Dietary Fiber) ที่สามารถพองตัวและอุ้มน้ำเอาไว้ได้สูงถึง 40 เท่าของน้ำหนักตัวมันเอง นั่นก็คือ "Ispaghula Husk" จากเทียนเกล็ดหอย
Ispaghula Husk อ่านว่า อิส-พา-กูห์-ล่า-ฮัสค์
1
ด้วยความสามารถในการอุ้มน้ำของมันที่สูงถึง 40 เท่าเมื่อเทียบกับน้ำหนักตัวของมันนี้เอง ที่ทำให้ Ispaghula Husk ถูกนำมาใช้เป็นยารักษาโรคได้
ดังนั้น วันนี้ผมจะมาบอกวิธีการรักษาอาการท้องผูก โดยใช้ Ispaghula Husk ที่สกัดได้จาก "เปลือกเมล็ดของเทียนเกล็ดหอย" มาเล่าสู่กันฟังกันครับ
.ถ้าอยากรู้ว่าเจ้าไฟเบอร์ธรรมชาตินี้คืออะไร❓
.มันใช้รักษาท้องผูกได้อย่างไร❓
.ใครสามารถรับประทานได้บ้าง❓
.แล้วเราควรรับประทานเท่าไหร่❓
.มีผลข้างเคียงหรือไม่❓
.คนตั้งครรภ์ หรือกำลังให้นมบุตรอยู่จะกินได้ไหม❓
เราไปหาคำตอบกันเลยครับ👉
1
เทียนเกล็ดหอย มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Plantago ovata เมล็ดรูปไข่หรือรูปรี แบนคล้ายเรือ ลักษณะด้านนอกนูนด้านในเว้า ผิวมัน ลื่น เรียบไม่มีขน มีสีน้ำตาลหรือน้ำตาลอมชมพู ขนาดกว้าง 1.1-1.7 มิลลิเมตร ยาว 2.2 -3.1 มิลลิเมตร เปลือกเมล็ดจะพองตัวมีลักษณะเป็นเมือกเมื่อถูกความชื้น เป็นผงสีน้ำตาลอ่อนหรือน้ำตาลอมชมพู มีรสร้อน ขม หอม เมื่อถูกน้ำจะพองตัวมีลักษณะเป็นเมือก เหมือนเมล็ดแมงลัก ต้นเทียนเกล็ดหอยมีถิ่นกำเนิดในแถบทวีปอเมริกาเหนือ ประเทศนิวซีแลนด์
1
ภาพบนเป็นเยื่อหุ้มเมล็ด, ล่างซ้ายเป็นต้นเทียนเกล็ดหอย, ล่างขวาเป็นเมล็ดเทียนเกล็ดหอย ขอบคุณภาพจาก https://bit.ly/2NqODRG และ https://ebay.to/34Bth9Y และ https://bit.ly/36I7wXR
องค์ประกอบทางเคมีที่สำคัญคือ
สารเมือก (mucilage): 20-30% ประกอบด้วยน้ำตาลเชิงซ้อนที่มีน้ำตาลเชิงเดี่ยวหลายชนิด (galactose, glucose, xylose, arabinose, rhamnose, galacturonic acid, plantiobiose, sucrose, fructose) ส่วนใหญ่เป็น arabinoxylan กรดไขมันหลายชนิด: palmitic acid, stearic acid, linoleic acid, oleic acid
แล้ว Ispaghula Husk มันใช้รักษาท้องผูกได้อย่างไร❓
1
Ispaghula Husk มีส่วนประกอบของเส้นใยไฟเบอร์ (Fibers) และเยื่อเมือก (Mucilage) ที่สกัดได้จากเปลือกหุ้มเมล็ดเทียนเกล็ดหอย
โดยเส้นใยไฟเบอร์ (Fibers) จะละลายน้ำได้ถึง 85% สามารถเกิดขบวนการหมักได้บางส่วนและออกฤทธิ์โดยการ "พองตัวในลำไส้" ผ่านกลไกกระตุ้นผนังลำไส้ (Gut Wall Stimulation)
ในขณะที่เยื่อเมือก (Mucilage) ที่พองตัวจะทำหน้าที่เป็น "ชั้นหล่อลื่น" ช่วยให้กากอาหารและสิ่งที่อยู่ในลำไส้ผ่านออกไปเป็นอุจจาระได้ง่ายขึ้น
ดังนั้น Ispaghula Husk จึงมีฤทธิ์ช่วยให้ระบาย (Laxative) โดยจัดเป็นยาระบายประเภท Bulk-Forming Agent เนื่องจากมันจะไปช่วยเพิ่มปริมาณกากอาหารในลำไส้ จึงเหมาะสำหรับผู้มีปัญหาท้องผูกแบบเรื้อรัง (Habitual Constipation)🙅♂️
นอกจากนี้ยังสามารถใช้ในผู้ป่วยที่เห็นสมควรได้รับอาหารที่มีไฟเบอร์ต่อวันเพิ่มขึ้น เช่น ใช้เสริมการรักษาในผู้ป่วยโรคลำไส้แปรปรวน (IBS) ที่มีอาการท้องผูกเด่น เป็นต้น
ผลิตภัณฑ์ Ispaghula Husk ที่มีจำหน่ายในประเทศไทย คือ Mucilin และ Fybogel
1
Mucilin และ Fibogel
แล้วเราควรรับประทานขนาดเท่าไหร่ อย่างไร❓
รูปแบบซอง: 1 ซอง ประกอบด้วยตัวยา Ispaghula Husk ขนาด 3.5 กรัม
รูปแบบขวด: ขนาด 2 ช้อนชา ประกอบด้วย Ispaghula Husk ขนาด 3.4 กรัม
📄 ขนาดยาสำหรับรับประทานรักษาอาการ "ท้องผูกแบบเรื้อรัง (Habitual Constipation)"
🧒🧓เด็กอายุมากกว่า 12 ปี ผู้ใหญ่และผู้สูงอายุ ให้รับประทาน 1 ซอง หรือ 2 ช้อนชา วันละ 1-3 ครั้ง หลังอาหารทันที และดื่มน้ำตามเพิ่มอีก 1 แก้ว
👱♂️👨เด็กอายุ 6-12 ปี ให้รับประทาน 1/2(ครึ่ง) ซอง หรือ 1 ช้อนชา วันละ 1-3 ครั้ง หลังอาหารทันที
👶👶เด็กอายุต่ำกว่า 6 ปี ไม่แนะนำเพราะไม่มีหลักฐานเพียงพอถึงประสิทธิผลของยาในคนกลุ่มนี้
ส่วนกรณีให้ในผู้ที่สมควรได้รับไฟเบอร์เพิ่มขึ้นต่อวัน แนะนำเฉพาะในผู้ที่มีอายุ 12 ปีขึ้นไปเท่านั้น รับประทานในขนาดที่สูงขึ้นได้ 7-20 กรัม แบ่งให้ 1-3 ครั้งต่อวัน
ต่อไปเป็นวิธีการชง หรือละลายยาเพื่อรับประทาน❓
1
ให้ละลายผงยาในน้ำเย็น นม หรือน้ำผลไม้อย่างน้อย 150 มิลลิลิตร คนให้ละลายเข้ากันดี แล้วดื่มให้หมดแก้วในครั้งเดียว และต้องดื่มน้ำตามอีกอย่างน้อย 1 แก้วเพื่อป้องกันยาไปอุดตันลำไส้
ขอบคุณภาพจาก https://bit.ly/2PX41a0
ต่อไปเป็นคำแนะนำในการรับประทาน Ispaghula Husk❓
❎ ห้ามกลืนผงยา ispaghula husk โดยที่ปราศจากน้ำ เพราะจะทำให้ผงยาพองตัวในทางเดินอาหาร ทำให้เกิดการสำลักหรืออุดตันบริเวณลำคอ หลอดอาหาร และลำไส้ได้ อาจทำให้มีอาการปวดหน้าอก อาเจียน กลืนลำบาก หรือหายใจลำบากได้
❎ในระหว่างการเตรียมผสมยา พยายามเลี่ยงการสูดดมผงยาเข้าปอด เพื่อลดความเสี่ยงภาวะภูมิไวเกิน (แพ้) ต่อตัวยา ซึ่งพบได้บ่อยในผู้ที่เป็นโรคภูมิแพ้
❎ห้ามผสมผงยาในน้ำร้อน
ให้รับประทานยาหลังผสมทันที ห้ามทิ้งไว้จนเป็นวุ้น
❎ห้ามรับประทานยาก่อนนอน ควรรับประทานในตอนกลางวัน และห่างจากยาอื่นอย่างน้อย 30 นาที
☑️ตัวยาจะเริ่มออกฤทธิ์ภายใน 12-24 ชั่วโมงหลังกินยาเข้าไป
1
ข้อห้ามใช้❎
1. ห้ามใช้ในผู้ที่มีทางเดินอาหารอุดตัน
2. ห้ามใช้ในผู้ที่มีปัญหาการกลืนหรือมีปัญหาเกี่ยวกับลำคอ
3. ห้ามใช้ในผู้ที่แพ้ยาตัวนี้
1
คำเตือน และข้อควรระวังการใช้ยา🔊
📣ไม่แนะนำให้ใช้ในเด็กอายุต่ำกว่า 6 ปี เพราะยังไม่มีข้อมูลที่บ่งบอกถึงประสิทธิภาพเพียงพอ ในข้อบ่งใช้การรักษาท้องผูกแบบเรื้อรัง (Habitual Constipation)
📣ไม่แนะนำให้ใช้ในเด็กอายุต่ำกว่า 12 ปี เพราะยังไม่มีข้อมูลที่บ่งบอกถึงประสิทธิภาพเพียงพอ ในข้อบ่งใช้รักษาผู้ป่วยที่สมควรได้รับอาหารที่มีไฟเบอร์ต่อวันเพิ่มขึ้น
📣ไม่แนะนำให้ใช้ยานี้ในผู้ที่มีก้อนอุจจาระอัดแน่นในลำไส้ใหญ่ และมีอาการต่อไปนี้ เช่น ปวดท้อง คลื่นไส้ อาเจียน ยกเว้นแนะนำโดยแพทย์ เนื่องจากอาการเหล่านี้อาจเป็นอาการแสดงของลำไส้อุดตัน (Ileus) อยู่ก่อนหน้านี้หรือมีโอกาสจะเกิดขึ้นได้
คนที่กำลังท้อง หรือคนที่ให้นมบุตรอยู่ สามารถรับประทานได้ไหม❓
https://bit.ly/2NLi2F8
เนื่องจากตัวยา Ispaghula Husk ไม่ถูกดูดซึมจากทางเดินอาหารเข้าสู่กระแสเลือด ดังนั้นจึงสามารถใช้ได้อย่างปลอดภัยในหญิงตั้งครรภ์และหญิงให้นมบุตร👩👧
อาการไม่พึงประสงค์ของยา อาจทำให้เกิดอาการท้องอืดได้ หากดื่มของเหลวในปริมาณที่ไม่เพียงพอ และอาจทำให้เกิดอาการแพ้ทางผิวหนัง เช่น ผื่นแดง อาการคัน รวมทั้งอาจเกิดอาการจมูกอักเสบ หรือเยื่อบุตาขาวอักเสบได้😢
สุดท้ายนี้หวังว่าบทความนี้จะเป็นประโยชน์ต่อผู้อ่าน และสามารถนำไปใช้ประโยชน์ หรือค้นหาข้อมูลเพิ่มเติมได้ หากมีข้อสงสัยสามารถสอบถามคอมเมนท์มาได้เลยครับ
1
เภสัชกรป้อนข่าว-Pharm.news
11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2562
22.22 น.
เยี่ยมชมเพจ ดูบทความอื่นๆ.. ที่นี่👇
เยี่ยมชม
blockdit.com
เภสัชกรป้อนข่าว Pharm.NEWS
83 ผู้ติดตาม 🔊 เภสัชกรป้อนข่าว-Pharm.news ☑️ข่าวสารด้านยา (Drug News) ☑️สุขภาพ (Health) ☑️ความปลอดภัยเรื่องยา (Medication Safety) ☑️และอื่นๆ (Others)
ขอบคุณแหล่งข้อมูลอ้างอิงจาก
1.มิวซิลิน(ผงยาอิสพากูห์ล่า).เอกสารกำกับยา: Berlin pharmaceutical. BKK 10520.
2. Fybogel (ispaghula husk).NHS. updated
2019 Jan 24; cited 2019 Nov 11]. Available from:
https://bit.ly/2PUZ3dW
3. เทียนเกล็ดหอย. ฐานข้อมูลเครื่องยาสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี. Copyright © 2010; cited 2019 Nov 11]. Available from:
https://bit.ly/36F0ray
8 บันทึก
9
30
8
9
30
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย