Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
ThaiFranchiseCenter
•
ติดตาม
8 พ.ย. 2019 เวลา 01:57 • ธุรกิจ
10 เรื่องจริงที่คุณไม่รู้! ผ่อนสินค้า 0%
2
หลายคนบอกว่าเงินสดไม่มีไม่เป็นไรขอให้มี “เครดิต” แค่นี้ก็พอ สะท้อนค่านิยมของคนยุคปัจจุบันที่หลายคนกลายเป็น “ราชาเงินผ่อน” สอดคล้องกับภาพรวมของธุรกิจบัตรเครดิตในประเทศที่เติบโตขึ้นทุกปี จากปี 2559 มีบัญชีบัตรเครดิต 20.1 ล้านบัญชี ยอดการใช้จ่ายรวม 1.76 ล้านล้านบาท ในปีที่ผ่านมา 2561 บัญชีบัตรเครดิตจำนวน 22.4 ล้านบัญชี ปริมาณการใช้จ่าย 2.01 ล้านล้านบาท
หนึ่งในกลยุทธ์จูงใจชัดเจนที่
www.ThaiFranchiseCenter.com
เห็นว่าแทบทุกคนต้องตาลุกวาวคือ “การผ่อนสินค้า 0%” ที่หลายคนบอกว่าคุ้มค่า แต่ก็มีเรื่องจริงเกี่ยวกับกลยุทธ์เรื่องนี้ที่หลายคนอาจจะยังไม่ทราบ
1. ตำนานของบัตรเครดิต
ภาพจาก bit.ly/2NPpZJk
บัตรเครดิตถือกำเนิดขึ้นในประเทศสหรัฐอเมริกาปี ค.ศ. 1914 โดยบริษัทเยอเนอรัลปิโตรเลียม คอร์ปอเรชั่น ออฟแคลิฟอร์เนีย ซึ่งปัจจุบันคือบริษัท โมบิลออยส์ จำกัด โดยทำบัตรดังกล่าวให้กับลูกค้า และพนักงานของตน ที่ได้รับเลือกสรรแล้ว และนำไปชำระค่าน้ำมัน ตอนนั้นบัตรเครดิตนี้จะมีลักษณะเหมือนกับเหรียญโลหะ ภายหลังได้มีบริษัท อเมริกันเอกซ์เพรส ได้ออกบัตรเครดิต โดยมีวัตถุประสงค์เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับนักท่องเที่ยวที่จะต้องเดินทางไปต่างประเทศ ไม่ต้องพกเงินสดเป็นจำนวนมาก โดยได้นำเสนอบัตรที่สามารถนำไปขึ้นเงินได้ที่ธนาคารต่าง ๆ
2
2. บัตรเครดิตในประเทศไทย
ภาพจาก bit.ly/2WOd0Mn
ประเทศไทยเริ่มมีการใช้บัตรเครดิตครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2512 ผู้ออกบัตร คือ บริษัท บัตรไดเนอร์ส คลับ (ประเทศไทย) จำกัด แต่ไม่ได้รับความสนใจเท่าที่ควร หลังจากนั้นก็มีธนาคารหลายแห่งที่เริ่มออกบัตรเครดิต เช่น พ.ศ.2515 ธนาคารกสิกรไทย จำกัด ได้ร่วมกับธนาคารศรีนคร จำกัด ออกบัตรชื่อ “บัตรเครดิตเอนกประสงค์” ซึ่งถือว่าเป็นบัตรเครดิตบัตรแรกที่เป็นของตน โดยธนาคารไทยเป็นผู้ออก หรือใน พ.ศ. 2522 ธนาคารกสิกรไทย จำกัด ได้เข้าเป็นสมาชิกของ วีซ่าอินเตอร์ เนชั่นแนลและเป็นผู้ได้รับสิทธิในการเป็นผู้แทนออกบัตรเครดิตวีซ่า ในประเทศไทย
3. ใครได้ใครเสีย! ผ่อนสินค้า 0%
1
ภาพจาก bit.ly/2NIiOmp
โดยส่วนใหญ่จะเป็นธุรกิจห้างสรรพสินค้าและร้านค้าจับมือกับสถาบันทางการเงิน โดยส่วนใหญ่หากเป็นสินค้าที่มีการผ่อนแบบเสียดอกเบี้ย สถาบันทางการเงินจะเป็นคนออกสินเชื่อสินค้านั้นก่อน และนำดอกเบี้ยที่ได้รับมาไปแบ่งสันปันส่วนกับห้างสรรพสินค้าที่ร่วมรายการ
แต่ในกรณีผ่อนสินค้าที่ไม่มีดอกเบี้ย หรือผ่อน 0% จะเป็นแรงจูงใจให้เกิดการซื้อได้ง่ายขึ้น การผ่อนสินค้า 0% จึงช่วยเพิ่มยอดขายได้ทางหนึ่ง ซึ่งในขณะเดียวกันการผ่อน 0% สำหรับสินค้าที่มีระยะเวลาการผ่อนอยู่ที่ 6-12 เดือน ย่อมเป็นการการันตีไปแล้วว่าเราจะได้ใช้บัตรเครดิต
1
4. ผู้ออกบัตรเครดิตคือคนที่มีกำไรในระยะยาว
ภาพจาก pixabay.com
การใช้งานบัตรเครดิตมีด้วยกัน 3 ฝ่ายคือลูกค้าที่จะได้สินค้าไปทันที ร้านค้าที่จะได้ค่าสินค้าจากบัตรเครดิตทันทีเช่นกัน แต่สำหรับสถาบันการเงินผู้ออกบัตรดูเผินเหมือนจะต้องแบกภาระคนเดียวในการติดตามยอดชำระตามระยะเวลาที่กำหนด อีกทั้งยังเสี่ยงต่อการเป็นหนี้ศูนย์
แต่จุดสำคัญของเรื่องคือถ้าลูกค้าจ่ายเงินช้ากว่าที่กำหนดหรือค้างชำระ สถาบันการเงินจะเริ่มคิดดอกเบี้ย โดยอัตราดอกเบี้ยนั้นอยู่ที่ 18% ต่อปี คิดแบบง่ายๆ ถ้าเราค้างชำระ 1 ปี จากราคาสินค้า 10,000 บาท รวมกับดอกเบี้ย 18% ต่อปีค่าสินค้ารวมจะเป็น 11,800 บาทในทันที กลายเป็นว่าเราต้องจ่ายค่าสินค้าแพงขึ้นกว่าเดิมด้วย
3
5. กว่า 46% จ่ายล่าช้าหรือจ่ายไม่เต็มจำนวน
1
ภาพจาก pixabay.com
ถามว่าสถาบันการเงินหรือผู้ออกบัตรเครดิตจะได้อะไรจากเรื่องนี้ที่ชัดเจนที่สุดต้องดูผลสำรวจนี้จากพฤติกรรมผู้ใช้บัตรเครดิต พบว่า มีเพียง 54% ที่ชำระหนี้บัตรเครดิตตามกำหนดและเต็มจำนวน นั่นหมายความว่า อีก 46% ที่เหลือชำระไม่ครบจำนวนหรือชำระไม่ตรงตามกำหนด และนี่คือเหตุผลที่สถาบันการเงินพยายามทำโปรโมชั่นให้คนสนใจทำบัตรเครดิต เพราะมีลูกค้าจำนวนมากที่เลือกชำระหนี้ขั้นต่ำหรือชำระช้า ทำให้สถาบันการเงินมีรายได้จากดอกเบี้ยมากขึ้น
1
6. การใช้บัตรเครดิตยังทำให้สถาบันการเงินมีฐานข้อมูลมากขึ้นด้วย
1
ภาพจาก bit.ly/32myi4P
สิ่งที่เป็นผลพวงจากการใช้บัตรเครดิตก็คือการทำให้สถาบันการเงินมีประวัติการใช้บัตรเครดิตของลูกค้าสามารถที่จะนำข้อมูลเหล่านี้ไปวิเคราะห์เพื่อพิจารณาสินเชื่อหรือผลิตภัณฑ์การเงินอื่นๆ ได้ เพื่อขายแก่ลูกค้าในอนาคต กลยุทธ์บัตรเครดิตจึงเป็นเหมือนอุปกรณ์ในการสร้างรายได้ที่นอกจากเป็นตัวเงินในทันทียังพ่วงต่อไปสู่รายได้อื่นๆ ในอนาคตที่ดีด้วย
1
7. สินค้า 0% เพิ่มโอกาสในการใช้จ่ายมากขึ้น
ภาพจาก bit.ly/2NjYtVw
คนที่มีบัตรเครดิตและกลยุทธ์ 0% ที่เป็นแคมเปญการตลาดไม่ต่างอะไรจากคำว่ากับดักที่ดึงดูดให้คนอยากใช้จ่ายเพิ่มมากขึ้น ผลการสำรวจระบุว่าคนที่ผ่อนจ่าย 0% มักจะไม่หยุดแค่สินค้าที่ซื้อเพียงอย่างเดียว มีโอกาสสูงมากที่จะใช้บัตรเครดิตเดียวกันนี้กับการใช้จ่ายซื้อสินค้า 0% ชนิดอื่นๆร่วมด้วย ประโยชน์ที่เห็นชัดๆ คือร้านค้ามีรายได้มากขึ้น สถาบันการเงินมีโอกาสเก็บดอกเบี้ยจากลูกค้าที่ผิดนัดชำระมากขึ้นเช่นกัน
3
8. แบงค์ชาติพยายามออกกฏเกณฑ์ห้ามทำโปรโมชั่น 0%
ภาพจาก bit.ly/2JU33HE
เคยมีความพยายามของแบงค์ชาติที่ออกหลักเกณฑ์ในลักษณะขอความร่วมมือบรรดาห้างสรรพสินค้า ร้านค้าต่างๆ งดการทำกลยุทธ์สินค้า 0% เพราะมองว่าเป็นการสร้างหนี้ให้ประชากรเพิ่มมากขึ้น อย่างไรก็ดีเรื่องนี้รู้สึกจะเป็นการ “ตบมือข้างเดียว” ที่ประชาชนเองก็มองว่าได้ประโยชน์เช่นกัน เหตุผลที่การผ่อนสินค้า 0% ยังมีต่อเพราะกลยุทธ์นี้เพราะการตลาดแบบนี้สามารถใช้กับคนทุกระดับไม่เฉพาะกลุ่มคนรายได้น้อย ปัจจุบันธุรกิจขายสินค้ามีโปรแกรมผ่อนเป็นตัวช่วยสร้างยอดขาย 40–50% หากให้หยุดผ่อน 0% ก็จะกระทบธุรกิจและเศรษฐกิจในภาพรวม
9. กับดักของคำว่า 0%
ภาพจาก bit.ly/2NoPF0F
นอกจากการผ่อนสินค้า 0% แล้ว ยังมีข้อเสนอ 0% อีกมากมายสำหรับบัตรเครดิตของสถาบันทางการเงินต่าง ๆ เช่นดอกเบี้ย 0% แบบมีเงื่อนไข เช่น ดอกเบี้ย 0% เฉพาะ 3 เดือนแรก ซึ่งถ้าเราซื้อสินค้าเงินผ่อน หรือกู้เงินซื้อบ้านที่มีโปรโมชั่นแบบนี้ จะทำให้ผ่อนด้วยจำนวนเงินที่จ่ายเท่ากันต่อเดือนในช่วงแรกและไม่เสียดอกเบี้ย ฉะนั้นกับดักของดอกเบี้ย 0% แบบมีเงื่อนไขนี้ ก็คือ โปรโมชั่นไม่เสียดอกเบี้ยถึง 3 เดือน 6 เดือน ซึ่งส่วนใหญ่จะร่วมรายการกับสินค้าที่มีมูลค่ามาก เพราะมีดอกเบี้ยเยอะ
การล่อซื้อด้วยโปรโมชั่นสุดพิเศษนี้ จึงทำมาสำหรับคนที่ต้องการลดหย่อนดอกเบี้ยจริง ๆ เพียงเพราะไม่ต้องการจ่ายดอกในระยะสั้น และทำให้เราตัดสินใจซื้อสินค้าชิ้นนั้นได้ง่ายขึ้น เพราะเรายอมที่จะไม่เสียดอกเบี้ยช่วงแรก แต่สุดท้ายเมื่อเราเลือกเงื่อนไขนี้ ก็เท่ากับว่าเราจะต้องเสียดอกเบี้ยช่วงหลังไปตลอด จนกว่าจะผ่อนสินค้าหมดนั้นเอง
1
10. กลยุทธ์เงินดาวน์ 0% ในวงการรถยนต์
ภาพจาก bit.ly/2pzxKv7
วงการรถยนต์ก็มีการดาวน์ 0% เช่นกัน โดยปกติเราต้องจ่ายเงินดาวน์จำนวนหนึ่ง จากนั้นจึงผ่อนชำระในส่วนที่เหลือ แต่ถ้ามีโปรโมชันดาวน์ 0% ขึ้นมาเมื่อไร แปลว่าไม่ต้องมีเงินมาดาวน์ก็สามารถซื้อรถได้ ดังนั้นสิ่งที่จะมีปัญหาตามมาสำหรับ ดาวน์ 0% ก็คือ ยอดเงินผ่อนที่สูงขึ้นหรือระยะเวลาการผ่อนที่นานขึ้น จากการซื้อสินค้าที่ไม่มีเงินดาวน์เลยสักบาท ซึ่งนั่นหมายความว่า เราจะมีระยะเวลาในการผ่อนที่นานขึ้น เราจะต้องเสียดอกเบี้ยมากขึ้น โดยยิ่งนานเท่าไหร่ดอกเบี้ยก็ยิ่งมากขึ้นเท่านั้น วิธีนี้ถือเป็นกับดักทางการตลาดชั้นยอดของสถาบันทางการเงินแต่ก็ดูเหมือนว่าคนซื้อหรือลูกค้าก็ยินยอมและพร้อมจะใช้กลยุทธ์นี้
สิ่งที่แบงค์ชาติเป็นห่วงคือหนี้สินต่อครัวเรือนที่สูงขึ้น ซึ่งคำว่า 0% ก็ถือว่าเป็นกับดักทางการตลาดที่เจ้าของห้างสรรพสินค้า ร้านค้ายึดมาเอาเป็นจุดขาย ถามว่าเรื่องนี้มีดีหรือมีเสียมากกว่ากัน ก็ขึ้นอยู่กับการใช้งานและวินัยทางการเงินของผู้บริโภคเป็นสำคัญ การใช้จ่ายใดๆก็ตามควรให้อยู่ในขอบเขตที่ตัวเองสามารถชำระได้ เพื่อจะได้ไม่กลายเป็นหนี้พอกพูนที่จะนำไปสู่การฟ้องร้องทางกฏหมายและกลายเป็นคนที่ต้องมีคดีติดตัวในเรื่องบัตรเครดิต
3
ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจแฟรนไชส์และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise
47 บันทึก
66
4
41
47
66
4
41
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย