12 พ.ย. 2019 เวลา 04:11 • ปรัชญา
โหราศาสตร์อุปกรณ์ (3)
ปฏิทินโหราศาสตร์-ดาราศาสตร์
1.ปฏิทินดาราศาสตร์ของทองเจือ อ่างแก้ว คำนวณจากคัมภีร์สุริยยาตร์ที่พระยาโหราธิบดี (ชุ่ม โชติวิท) เป็นเจ้าของ ซึ่งคัมภีร์นี้สืบทอดมาตั้งแต่ครั้งอยุธยา ส่วนการคำนวณเวลาจันทร์เพ็ญ-จันทร์ดับ ใช้สูตรของดร. Chrump ชาวเยอรมัน มีการระบุถึงการคำนวณดาวย้ายราศีจากตารางที่สร้างขึ้นเองของท่านทองเจือที่เรียกว่าวิธี 0 ฟิลิปดา ปฏิทินนี้ตั้งจุดคำนวณที่เวลา 24.00 น.นักษัตร์ ตำรานี้นักโหราศาสตร์หัวก้าวหน้าที่เข้าใจดาราศาสตร์แผนใหม่ก็ติงว่าตำแหน่งดาวคลาดเคลื่อนไปจากที่เป็นจริงตามท้องฟ้า ส่วนท่านที่เป็นนักโหราศาสตร์หัวอนุรักษ์ที่ศรัทธาในครูหรือความขลังความโบราณก็ยังคงนิยมใช้กันอยู่
2.ปฏิทินโหราศาสตร์ไทยของเทพย์ สาริกบุตร คำนวณจากระบบดาราศาสตร์และตัดอายนราศแบบปฏิทินโหรลาหิรีแห่งอินเดีย โดยอิงจากตำแหน่งดาวจริงบนท้องฟ้าแล้วมาปรับให้เป็นราศีจักรแบบนิรายานะ ในคำนำมีการอธิบายเหตุผลที่มาที่ไปที่ต้องมีปฏิทินแบบนี้ขึ้นมา ทั้งที่เรามีการใช้ตำแหน่งดาวที่คำนวณจากคัมภีร์สุริยยาตร์กันมาตั้งเนิ่นนานแล้ว สรุปก็เป็นความพยายามที่จะทำให้ตำแหน่งดาวที่ใช้สอดคล้องกับท้องฟ้าจริงนั่นแหละ
ที่จริงปฏิทินเป็นเพียงเครื่องมือวัดชนิดหนึ่ง ความถูกผิดมีได้ขึ้นกับผลที่วัดได้เพียงอย่างเดียว ยังขึ้นกับความสามารถในการตีความค่าที่วัดได้ของคนใช้งาน ซึ่งอย่างหลังอาจมีโอกาสผิดพลาดที่ไม่น้อยไปกว่าความคลาดเคลื่อนของเครื่องมือวัดก็ได้
หากท่านใดเคยลองใช้ทั้งสองระบบเปรียบเทียบกับแล้ว จะมาเล่าความแตกต่างให้ฟังได้ก็จะเป็นประโยชน์ต่อคนที่มาทีหลังหนา
โหราทาส 26 เมษายน 2561
โฆษณา