9 พ.ย. 2019 เวลา 13:30 • ธุรกิจ
Etran น้องใหม่ในวงการ 2 ล้อ
http://etrangroup.com/
Etran เปิดตัวครั้งแรกด้วยรถมอเตอร์ไซค์ในรุ่น ETRAN PROM ตั้งเป้าเจาะกลุ่มบริการสาธารณะ และจักรยานยนต์รับจ้าง
ต่อมาทางค่ายมีความตั้งใจบุกตลาดรถมอเตอร์ไซค์ทั่วไป โดยเปิดตัวรถในรุ่น ETRAN KRAF ในงานมอเตอร์เอ็กโปร์ 2018 ซึ่งรถในรุ่นนี้ได้รับความร่วมมือจากทางบริษัท ปตท. อีกด้วย
ETRAN KRAF เป็นมอเตอร์ไซค์ขับเคลื่อนด้วยพลังงานไฟฟ้า 100% มาในสไตล์นีโอคาเฟ่แบบเท่ๆ
รถคันนี้สามารถทำความเร็วสูงสุดได้ถึง 130 กิโลเมตร/ชั่วโมง อัตราเร่งจาก 0-100 กิโลเมตร/ชั่วโมงอยู่ที่ 5.2 วินาที
และทำระยะทางได้ไกลสุด 180 กิโลเมตรต่อการชาร์จ 1 ครั้ง
http://etrangroup.com/
จากรายงานล่าสุด ความเป็นไปได้ที่เราจะเห็น ETRAN KRAF ออกมาวิ่งบนท้องถนน อาจจะเกิดขึ้นเร็วๆ นี้
หลังจากที่พันธมิตรอย่าง ปตท. ออกมาเปิดเผยว่าเตรียมจะส่งรถ 10 คันแรกออกสู่ตลาด และขณะนี้มีผู้สนใจสั่งซื้อล็อตใหญ่ประมาณ 3,000 คันด้วยกัน
แต่ปัญหาในตอนนี้ก็คือ ต้นทุนการผลิตที่สูงกว่า 100,000 บาทต่อคัน ซึ่งมีการเปิดเผยว่าหากลดต้นทุนเหลือประมาณ 70,000 บาทต่อคัน คาดว่าน่าจะสามารถผลิตแบบแมสโปรดักชั่น เพื่อขายให้กับคนทั่วไปได้
ซึ่งเราก็ต้องติดตามกันต่อไปว่าพวกเขาจะสามารถลดต้นทุนลงมาได้มากน้อยเพียงใด และการวางขายในระดับแมส จะเป็นไปได้ด้วยดีหรือไม่
http://etrangroup.com/
ความเคลื่อนไหวของบริษัทในวงการ EV บ้านเราช่วงที่ผ่านมา แสดงให้เห็นถึงความตื่นตัวในวงการยานยนต์ไฟฟ้าในประเทศได้ไม่น้อย
และนอกจากการลงทุนในธุรกิจยานยนต์ไฟฟ้าแล้ว ทั้ง 2 บริษัททางด้านพลังงานอย่าง EA และ ปตท. เองยังมีการลงทุนในธุรกิจอื่นๆ ที่มีความเกี่ยวข้องกับวงการ EV อีกด้วย
ตัวอย่างเช่น การทำธุรกิจสถานีอัดประจุไฟฟ้าของ EA ภายใต้แบรนด์ EA Anywhere ซึ่งล่าสุดมีข่าวประกาศจับมือกับ 4 พันธมิตรรายใหญ่คือ คาลเท็กซ์, ซีพี ออล์, บริดจสโตน และโรบินสัน เพื่อขยายสถานีชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าทั่วประเทศ
http://etrangroup.com/
และสิ่งที่ทำให้ดีลครั้งนี้กลายเป็นที่ฮือฮาก็คือ การตั้งสถานีชาร์จไฟนำร่อง 21 แห่งหน้า 7-Eleven โดยทางบริษัทมั่นใจว่าจะเปิดให้บริการสถานีอัดประจุไฟฟ้าครบ 1,000 สถานีภายในปีนี้
แล้วพอพูดถึงแบรนด์ซีพี ก็ต้องพูดถึงแบรนด์ MG ที่พวกเขาพยายามนำร่องรถยนต์ไฟฟ้าในราคา 1 ล้านบาท ซึ่งแม้จะยังแพงเมื่อเทียบกับต่างประเทศ
แต่ถ้าเทียบกับรถในระดับที่ “ใช้งานได้จริง” ในไทยแล้วล่ะก็ ถือว่าราคาเปิดตัวนั้นค่อนข้างน่าดึงดูดกว่าหลายๆ รุ่น แล้วมีโอกาสประสบความสำเร็จเป็นเจ้าแรกๆ ในด้านยานยนต์ไฟฟ้าก็เป็นได้
ส่วนบริษัทพลังงานยักษ์ใหญ่ของประเทศอย่าง ปตท. เองก็มีนโยบายการลงทุนในกลุ่มธุรกิจ Electricity Value Chain ซึ่งประกอบด้วย
– การผลิตไฟฟ้า
– ระบบกักเก็บพลังงาน
– สถานีอัดประจุไฟฟ้า
– และยานยนต์ไฟฟ้า
ทั้งนี้ก็เป็นแผนการณ์เพื่อรองรับพฤติกรรมของผู้บริโภคที่จะเปลี่ยนไปในอนาคต
ซึ่งหากกระแสยานยนต์ไฟฟ้าได้รับการตอบรับมากขึ้น พวกเขาก็จะพร้อมเริ่มต้นเปลี่ยนสถานีให้บริการน้ำมัน 1,800 แห่งทั่วประเทศ เพื่อให้บริการจุดชาร์จไฟเพิ่มเติมได้
หากพิจารณาจากจากความเคลื่อนไหวทั้งหมดนี้ ภาพของรถไฟฟ้าที่ออกมาวิ่งมากมายบนท้องถนนที่หลายคนอยากจะเห็น อาจจะเกิดขึ้นเร็วกว่าที่เราคิดก็เป็นได้…
เคดิต: http://etrangroup.com/
โฆษณา