10 พ.ย. 2019 เวลา 02:29
จุดประทีป ลอยกระทง และ ยี่เป็ง
Cr.Arayadusit เทศกาลโคมแขวน วัดพระธาตุหริภุณชัย จังหวัดลำพูน
จากการจุดประทีปในวันพระมาจนถึงเดือนยี่ของชาวล้านนาหรือที่เรียกกันว่ายี่เป็งเป็นคืนพระจันทร์เต็มดวงขึ้น 15ค่ำเดือน 12
เป็นช่วงที่อากาศค่อนข้างดี ฝนขาดช่วงไปแล้ว และมีการเก็บเกี่ยวพืชผล เป็นช่วงออกพรรษาและการทอดกฐิน เข้าสู่ประเพณียี่เป็งซึ่งมีกิจกรรมที่กระทำร่วมกันหลายวัน
กิจกรรมต่าง ๆ มีพอสังเขปดังนี้
ตอนที่ 1
การจุดผางประทีปในประเพณียี่เป็ง วันลอยกระทง
ผางประทีป ประทีปตีนกา ประทีปแห่งความเคารพศรัทธาและความกตัญญู
จากตำนานแม่กาเผือก ที่สั่งเสียให้พระฤาษีทั้ง 5 ฟั่นด้ายเป็นรูปตีนกา หล่อน้ำมันในกระถางดินเผาที่เรียกกันว่าผาง ชาวล้านนาเรียกกันว่าผางประที้ด กลายมาเป็นประเพณีที่นอกเหนือจากการจุดประทีปบูชาพระรัตนตรัยในวันพระ ในวันเพ็ญขึ้น เดือนยี่เหนือหรือเดือน 12 ในภาคกลาง
ชาวพุทธล้านนาจุดประทีปในผางประทีปบูชาพระรัตนตรัยที่หิ้งพระเป็นลำดับแรก ก่อนที่จะจุดประทีปเท่ากับอายุของสมาชิกในบ้าน
ผู้เขียนจำได้ถึงตอนสมัยเด็ก ๆ ยายของผู้เขียนเดินมาดูพระจันทร์เต็มดวง พูดว่ายี่เป็งแล้ว แล้วเดินไปจุดประทีปในผางประทีปสว่างสดใสไปทั้งบ้านพร้อมกับมีเสียงกำชับว่าวันนี้ให้พูดแต่สิ่งที่ดี ๆ
Cr.Arayadusit ผางประทีป และประทีปตีนกา
เช่น ขอให้บุญที่จุดประทีปนี้ถวายแด่พระพุทธเจ้า จงบังเกิด แก่หมู่ญาติที่ล่วงลับไปทุกคน เทวดาทั้งหลายในชั้นฟ้า สมาชิกในทิศหกและคู่เวรคู่กรรม ให้ได้บุญด้วยกันและขอขมา ขออโหสิกรรมซึ่งกันและกัน
เนื่องจากเป็นวันเพ็ญที่พระจันทร์เต็มดวง ส่วนใหญ่จึงอธิษฐานให้มีสุขภาพที่แข็งแรง ร่ำรวย เจริญก้าวหน้าในหน้าที่การงาน เกิดในร่มเงาของพระพุทธศาสนาและครอบครัวที่อบอุ่น
ตอนที่ 2 โคมประทีป
โคมประทีปที่จุดในประเพณียี่เป็ง ผู้เขียนจำได้ว่าประดิษฐ์จากกระดาษสาแผ่นบาง ๆ ยายของผู้เขียนซื้อกระดาษสาเป็นจำนวนมาก เพราะราคาถูกกว่ากระดาษหนังสือพิมพ์ โครงของโคมประทีปทำจากไม้ไผ่ที่เป็นวัสดุที่หาได้ง่าย
Cr.Arayadusit โคมดอกบัว
ลวดลายของโคมประทีปจะเกี่ยวข้องกับพระพุทธศาสนา ลายสิบสองราศี มีความหมายถึงสมาชิกที่อาศัยในครอบครัวและเมวดาที่รักษาสมาชิกท่านนั้น ลายใบโพธิ์ หมายถึงต้นไม้แห่งการตรัสรู้ธรรม โคมผัดหรือโคมหมุนได้มักจะทำเป็นเรื่องราวพุทธประวัติ หรือ สัตว์ 12ราศี โคมผัด เป็นโคมที่หมุนได้จากภูมิปัญญาชาวพุทธล้านนา
Cr.Arayadusit วัดพระธาตุหริภุณชัย
ตอนที่ 3 โคมลอย ว่าวลม ว่าวไฟโคมบูชาพระเกศแก้วจุฬามณี
"โคม" ชาวพุทธล้านนาออกเสียงว่า "โกม" เป็นวัสดุที่ประดิษฐ์จากกระดาษสาบาง ๆ มีโครงเป็นไม้ไผ่
ตอนกลางวันมีการลอยโคมที่ข้างในโคมบรรจุเครื่องไทยธรรม เมื่อสมัยผู้เขียนยังเด็ก ๆ โคมลอย ลอยผ่านหลังบ้านเพื่อนผู้ชายที่แสนซนพากันวิ่งตามเพื่อที่จะไปดึงหางโคมให้ร่วงหล่นลงมา เพราะในโคมบรรจุขนม อาหารแห้งและมีสตางค์บรรจุไว้ด้วย
Cr.pantip.com โคมควันหรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า ว่าวฮม
โคมลอยกลางคืน มักจุดในตอนกลางคืนเพื่อบูชาพระเกศแก้วจุฬามณีในสวรรค์ชั้นดาวดึงส์เพื่อรำลึกถึงพระรัตนตรัย
Cr.http://region3.prd.go.th โคมลอยกลางคืน หรือ เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า ว่าวไฟ
โคมทั้งสองประเภท ผู้ใหญ่สมัยก่อนท่านเล่าให้ฟังว่า ปรกติจะลอยเฉพาะเทศกาลเท่านั้นเช่นช่วงประเพณีออกพรรษา ประเพณียี่เป็ง ประเพณีสงกรานต์ เป็นการลอยเพื่อบูชาพระรัตนตรัย และอุทิศให้กับผู้ที่ล่วงลับไป หากมิใช่ลอยตามประเพณีมักจะทำอะไรไม่เจริญก้าวหน้า
ตอนที่ 4
การจุดบอกไฟ ไฟแห่งความเจริญรุ่งเรืองและซุ้มประตูป่า
ประเพณีจุดบ้องไฟ (จิบอกไฟ) นี้ นิยมเล่นกันทั่วภาคเหนือในเทศกาลต่างๆ เช่น งานประเพณีสรงน้ำพระ งานประเพณีลอยกระทง ประชาชนนิยมทำบอกไฟมาจุดเพื่อเป็นพุทธบูชา เพื่อความสนุกสนาน และเพื่อได้บุญกุศลและมีตั้งใจจะสักการะกราบไหว้พระเกศแก้วจุฬามณี บนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์
อีกประการหนึ่งประกายไฟเปรียบเสมือนฝนรัตนชาติ เมื่อครั้งที่พระเวสสันดรเสด็จกลับสู่นครสีพี ฝนรัตนชาติได้โปรยลงมา
https://www.pastacafechiangmai.wordpress.
การทำซุ้มประตูป่า
ก่อนจะถึงวันยี่เป็ง ประมาณ 1-2 วัน ชาวล้านนาจะเตรียมจัดตกแต่งประตูบ้านและประตูวัด ด้วยซุ้มประตูป่า โดยนำต้นกล้วย ใบมะพร้าว ต้นอ้อย ต้นข่า โคมหูกระต่าย โคมเงี้ยวหรือโคมชนิดอื่นๆ ดอกตะล่อม(บานไม่รู้โรย) ดอกคำปู้จู้ (ดาวเรือง) ฯลฯ ตกแต่งเป็นซุ้มประตูป่าอย่างงดงาม มีจุดมุ่งหมาย เพื่อเป็นเครื่องสักการะถวายการต้อนรับพระเวสสันดรในวันยี่เป็ง ครั้งเสด็จออกจากป่าเข้าสู่เมือง ซึ่งปรากฏในเวสสันดรชาดก อันเป็นชาติสุดท้ายของพระโพธิสัตว์ก่อนจะประสูติเป็นพระพุทธเจ้า
Cr.http://library.cmu.ac.th/ntic/lannatradition/yeepeng-chumpratupa.php
ตอนที่ 5
ล่องสะเปาหรือการลอยเรือสำเภา กระทงสายลอยละล่องกลางแม่น้ำเพื่อ ความกตัญญูบูชาธรรม พระพุทธเจ้า บูชารอยพระบาทของพระพุทธเจ้า เพื่ออุทิศส่วนกุศลให้กับบรรพบุรุษและผู้ที่ล่วงลับไป
Cr.https://board.postjung.com
ประเพณีล่องสะเปา หรือลอยกระทง มีมาแต่โบราณกาลแล้ว เมื่อวันเดือนยี่เป็ง ก็จะทำพิธีล่องสะเปา เป็นการลอยโดยความหมาย
เป็นการลอยเคราะห์ลอยบาป
เป็นการลอยเพื่อส่งของแก่บรรพบุรุษ
เป็นการบูชาพระพุทธบาทในหาดทรายแม่น้ำนัมนที
เป็นการลอยเพื่ออธิษฐาน
1.เป็นการลอยเคราะห์ลอยบาปต้องการลดเคราะห์และให้สิ่งที่ไม่ดีงามที่เกิดกับชีวิตของตนให้ไหลล่องไปตามแม่น้ำในเทศกาลเดือนยี่
2.การลอยกระทงเพื่อส่งของแก่บรรพบุรุษ ตามคติความเชื่อของคนโบราณในนครหริภุญไชย ตามคติความเชื่อของคนโบราณในนครหริภุญไชย ที่ส่งให้แก่ญาติพี่น้องในนครหงสาวดี ในสมัยต่อมาประชาชนยึดถือเป็นประเพณีปฏิบัติกันจนถึงทุกวันนี้
3.การบูชาพระพุทธบาทที่ประทับไว้เหนือหาดทรายแม่น้ำนัมนที เป็นความเชื่อของประชาชนผู้นับถือพุทธศาสนาว่าการล่องสะเปานั้น คือ การบูชาพระพุทธบาทที่พระพุทธองค์ประดิษฐานไว้ ปรากฏในตำนานลอยกระทง
Cr. www.dmc.com
ตอนที่ 6
เทศน์มหาชาติ หรือตั้งธรรมหลวง ในวันที่พระจันทร์เต็มดวงเป็นวันพระขึ้น 15 ค่ำ พระจันทร์เต็มดวง อากาศในเดือนยี่เป็งหรือเดือนสิบสอง เป็นอากาศที่พอเหมาะ การเก็บเกี่ยวพืชผลได้สำเร็จลง
สมาชิกชุมชนได้มีโอกาสมาพบปะ พูดคุย มีกิจกรรมที่ได้กระทำร่วมกันโดยมีวัดเป็นศูนย์กลาง มีพระภิกษุสงฆ์เป็นองค์ประธาน
http://dharmaviriyo.blogspot.com
ตอนที่ 7
ลอยกระทง .... ยี่เป็ง....ประเพณีเลอค่าบรรพบุรุษชาวพุทธได้สอดแทรกธรรมะของพระพุทธศาสนา ดังเช่นอนุปุพิกถา 5 คุณค่าเบื้องต้นของชาวพุทธ ความสามัคคีธรรมที่ทำให้ สังคมมีความสงบสุขและร่มเย็นเป็นสุข
อนุปุพพิกถา 5
เป็นเรื่องที่กล่าวถึงตามลำดับ,
ธรรมเทศนาที่แสดงเนื้อความลุ่มลึกลงไปโดยลำดับ เพื่อขัดเกลาอัธยาศัยของผู้ฟังให้ประณีตขึ้นไปเป็นชั้นๆ จนพร้อมที่จะทำความเข้าใจในธรรมส่วนที่เป็นธรรมะชั้นสูง
1. ทานกถา เรื่องทาน, กล่าวถึงการให้ การเสียสละเผื่อแผ่แบ่งปัน ช่วยเหลือกัน
       2. สีลกถา ความประพฤติที่ถูกต้อง
       3. สัคคกถา เรื่องสวรรค์, กล่าวถึงความสุขความเจริญ และผลที่น่าปรารถนาอันเป็นส่วนดีของการให้ทาน รักษาศีล
       4. กามาทีนวกถา เรื่องโทษแห่งกาม, กล่าวถึงส่วนเสีย ข้อบกพร่องของกาม พร้อมทั้งผลร้ายที่สืบเนื่องมาแต่กาม อันไม่ควรหลงใหลหมกมุ่นมัวเมา จนถึงรู้จักที่จะหน่ายถอนตนออกได้
       5. เนกขัมมานิสังสกถา เรื่องอานิสงส์แห่งความออกจากกาม, กล่าวถึงผลดีของการไม่หมกมุ่นเพลิดเพลินติดอยู่ในกาม และให้มีฉันทะที่จะแสวงความดีงามและความสุขอันสงบที่ประณีตยิ่งขึ้นไปกว่านั้น
ตามปกติ พระพุทธเจ้าเมื่อจะทรงแสดงพระธรรมเทศนาแก่คฤหัสถ์ ผู้มีอุปนิสัยสามารถที่จะบรรลุธรรมพิเศษ ทรงแสดงอนุปุพพิกถานี้ก่อน แล้วจึงตรัสแสดงอริยสัจจ์ 4 เป็นการทำจิตให้พร้อมที่จะรับธรรมะในระดับสูงได้
สรุป
พระพุทธศาสนาทำให้เกิดประเพณี วัฒนธรรมที่ดีงาม หลักธรรมะทำให้สังคมเป็นสุข สงบร่มเย็น และมีความสามัคคีต่อกัน
Cr.Arayadusit
References:
ศูนย์สนเทศภาคเหนือ สำนักหอสมุด มหาวิทยาเชียงใหม่:
ประเพณีล้านนา
พจนานุกรมพุทธศาสตร์ฉบับประมวลธรรม พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตโต)
http://www.wisdom.lpru.ac.th/amp05/culture/all18.htm ประเพณีการล่องสะเปา
โฆษณา