Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
Antfield
•
ติดตาม
10 พ.ย. 2019 เวลา 16:47 • วิทยาศาสตร์ & เทคโนโลยี
Gravity assists แรงโน้มถ่วงจากดาวเคราะห์ที่ช่วยเติมพลังให้ยานวอยเอจเจอร์เดินทางออกนอกระบบสุริยะ 😉👍
ด้วยแรงโน้มถ่วงจากดาวพฤหัสทำให้ยานวอยเอจเจอร์เดินทางสู่ดาวเสาร์ได้เร็วขึ้น
กลวิธีที่มนุษย์เราใช้ในการส่งยานสำรวจออกไปยังดาวเคราะห์อันห่างกันหรือแม้แต่อวกาศส่วนลึกได้ เขาทำได้ยังไง เดี๋ยวเรามาดูกัน
ย้อนกลับไปช่วงทศวรรษที่ 60 ยุคแห่งการแข่งขันด้านอวกาศ มนุษยชาติกระหายใคร่รู้ถึงสิ่งต่าง ๆ ที่อยู่ห่างออกไปจากดวงจันทร์ของเรา
จึงเป็นที่มาของ Grand Tour program โครงการส่งยานสำรวจ 2 กลุ่ม 4 ลำออกไปสำรวจดาวเคราะห์ชั้นนอกของระบบสุริยะจักรวาล
เป้าหมายของโครงการคือดาวพฤหัส ดาวเสาร์ ยูเรนัสและเนปจูน
แต่เมื่อคำนวนงบประมาณสำหรับโครงการออกมาที่ 1,000 ล้านดอลล่า ซึ่งเป็นตัวเลขมหาศาลในตอนนั้น (ไหนจะต้องทุ่มเทงบประมาณให้กับโครงการอะพอลโลอีก)
โครงการจึงถูกยกเลิกและแทนที่ด้วย Mariner Jupiter-Saturn ก่อนจะเปลี่ยนชื่อเป็น Voyager program ในปีที่ยานวอยเอจเจอร์ถูกส่งขึ้นสู่อวกาศ
ทีมงานต้องต่อสู้อย่างหนักกว่าจะได้รับการอนุมัติ Voyager program ด้วยงบประมาณ 360 ล้านเหรียญ ปรับลดจำนวนยานสำรวจเหลือ 2 ลำ
Voyager program โครงการสำรวจอวกาศที่ทรงคุณค่ามากที่สุดโครงการหนึ่งในประวัติศาสตร์
ยานวอยเอจเจอร์ทั้งสองลำถูกออกแบบให้ทำภารกิจในการสำรวจดาวเคราะห์ทั้ง 4 ดวงได้ในคราวเดียว แต่ต้องโฆษณาแค่ว่าเป็นการไปสำรวจแค่ดาวพฤหัสกับดาวเสาร์เพื่อการขออนุมัติโครงการ
Gary Flandro แห่ง Jet Propulsion Laboratory (JPL)
โดยหนึ่งในปัจจัยความสำเร็จนี้ต้องยกเครดิตให้นาย Gary Flandro แห่ง Jet Propulsion Laboratory (JPL) ซึ่งนำเสนอข้อมูลในปี 1964 ว่าในปี 1977 ตำแหน่งและการโคจรของดาวเคราะห์ทั้ง 4 นี้จะอยู่ในตำแหน่งที่เหมาะแก่การใช้เทคนิคการบินโดยใช้แรงโน้มถ่วงของดาวเคราะห์ช่วยในการเดินทางแบบม้วนเดียวจบ
แนวการบินของยานวอยเอจเจอร์ทั้งสองลำ
ซึ่งถ้าหากพลาดโอกาสนี้เราจะต้องรอไปอีก 175 ปีถึงจะเจอการเรียงตัวสวยงามแบบนี้อีก
มาถึงวันนี้ Voyager program ได้พิสูจน์ให้เห็นแล้วว่าคุ้มค่าแค่ไหนที่เราไม่ทิ้งโอกาสนี้ไป ข้อมูลที่เรามีเกี่ยวกับดาวยูเรนัสและเนปจูนก็ได้มาจากยานวอยเอจเจอร์ 2 เพียงลำเดียวเท่านั้น
** Gravity assists คืออะไรทำได้อย่างไร? **
มาทำความเข้าใจแรงโน้มถ่วงกันก่อนครับ ถ้าเรายิงปืนออกไปขนานกับผิวโลกซักพักกระสุนก็จะร่วงลงพื้น
ตอนพุ่งออกจากปากกระบอกปืนกระสุนจะวิ่งเป็นเส้นตรงออกไปแต่แรงโน้มถ่วงโลกก็จะดึงมันตกลงพื้นแต่ถ้ากระสุนเร็วมาก ๆ มันจะวิ่งขนานกับผิวโลกจนวกกลับมาหาเราได้
แต่ในความจริงยนโลกจะมีแรงต้านอากาศทำให้กระสุนช้าลงเรื่อย ๆ และตกลงสู่พื้นในที่สุด
กับดาวเทียมที่อยู่สูงมาก ๆ แรงต้านอากาศแทบไม่มีพวกมันจึงยังโคจรอยู่ได้ แต่ซักพักมันก็จะตกสู่โลกและช้าลงเรื่อย ๆ ด้วยแรงต้านอากาศเมื่อเข้าสู่บรรยากาศและลุกไหม้ในที่สุด
ดังนั้นดาวเทียมจึงต้องมีการเร่งความเร็วเพื่อรักษาวงโคจรอยู่เรื่อย ๆ
และถ้ายานสำรวจเร็วมากขึ้นไปอีกก็จะสามารถบินหลุดออกจากแรงโน้มถ่วงโลกได้
รอจังหวะเหมาะแล้วออกไป
หนึ่งในวิธีที่เราจะเดินทางไปยังดาวอังคารแบบประหยัดเชื้อเพลิง ก็คือรอจังหวะที่โลกกับดาวอังคารทำมุมกันพอดีแล้วเราก็เริ่มเดินทางจนไปถึงดาวอังคารได้ในตำแหน่งที่คาดการณ์ไว้ แต่วิธีนี้จะใช้เวลาเดินทางนาน
แล้วเราก็จะมาถึงเป้าหมายแบบประหยัดเชื้อเพลิง
และถ้าหากเราบินเข้าใกล้ดาวเคราะห์ เราจะสามารถใช้แรงโน้มถ่วงของดาวนั้นเพื่อเปลี่ยนเส้นทางการบิน เพิ่มความเร็ว และลดความเร็วของยานได้
ถ้าหากมุมที่ยานวิ่งเข้าหาดาวจากด้านหลังแนวการเคลื่อนที่ของดาวนั้นก็จะถูกแรงโน้มถ่วงดึงให้ตัวยานวิ่งเข้าหาดาว ทำให้มีความเร็วเพิ่มขึ้นและแนวการบินก็จะเลี้ยวตามแรงดึงดูดของดาว
ดูตัวอย่างเส้นทางการบินของยานวอยเอจเจอร์ทั้ง 2 ลำได้จากวีดีโอด้านล่าง
youtube.com
Voyager 2 Trajectory through the Solar System
This visualization tracks the trajectory of the Voyager 2 spacecraft through the solar system. Launched on August 20, 1977, it was one of two spacecraft sent...
ซึ่งถ้าหากแนวการเคลื่อนที่ของยานเข้าด้านหน้าของแนวการเคลื่อนที่ของดาวเคราะห์ก็จะทำให้ถูกดึงกลับและยานก็จะบินช้าลง
การเคลื่อนที่ของยานเข้าใกล้ดาวส่งผลต่อแนวการเคลื่อนที่และความเร็วของยาน
และดาวยิ่งมีมวลมากแรงโน้มถ่วงเยอะก็จะยิ่งเร่งหรือชะลอความเร็วยานได้มาก
แต่ทั้งนี้การได้ความเร็วเพิ่มมานี้ไม่ได้มาฟรี ๆ นะครับ ตามกฎการอนุรักษ์พลังงานยานวอยเอจเจอร์ได้ความเร็วเพิ่ม แต่ดาวพฤหัสจะโคจรรอบดวงอาทิตย์ช้าลง!!
ยานวอยเอจเจอร์ทำให้ดาวพฤหัสโคจรช้าลง
ช้าลงขนาดไหน?
ก็โคจรช้าลง 1 ฟุตในระยะเวลา 1 ล้านล้านปีครับ
คงไม่ต้องเป็นห่วงพี่เบิ้มของเราละนะ 😁
** แล้วถ้าไม่ใช้วิธีนี้ยานวอยเอจเจอร์จะออกไปพ้นเขตอิทธิพลของดวงอาทิตย์ได้ไหม? **
คำตอบคือไม่ได้ครับ ยกเว้นว่าจะลงทุนติดจรวดพร้อมเชื้อเพลิงให้กับยานวอยเอจเจอร์เพียงพอที่จะทำความเร็วมากกว่าความเร็วหลุดพ้นออกจากระบบสุริยะ แต่นั่นก็คืนต้นทุนมหาศาลในการทำแบบนั้น เรียกว่าทำไม่ได้เลยดีกว่า
เส้นสีส้มคือความเร็วหลุดพ้นจากระบบสุริยะ หรือความเร็วที่จะหนีออกจากสนามแรงโน้มถ่วงของดวงอาทิตย์ได้ ยิ่งอยู่ใกล้ต้องวิ่งออกด้วยความเร็วต้นสูงมาก ๆ
จากแผนภาพความเร็วของยานวอยเอจเจอร์ 2 แม้ตอนออกจากโลกจะมีความเร็วสูงแต่ก็ลดลงอย่างรวดเร็วเนื่องจากอยู่ใกล้ดวงอาทิตย์ ยานโดนแรงโน้มถ่วงของดวงอาทิตย์ดูดกลับทำให้ช้าลง
แต่พอมาถึงดาวพฤหัสก็ได้แรงเหวี่ยงจากพี่ใหญ่ช่วยให้ไปต่อถึงดาวเสาร์และก็ถูกเหวี่ยงต่อไปยูเรนัสและเนปจูนก่อนออกไปสุดขอบของระบบสุริยะ
ยานวอยเอจเจอร์ 1 เร็วกว่าเนื่องจากเข้าใกล้ดาวพฤหัสขณะทำ Gravity assists มากกว่าทำให้ได้ความเร็วเพิ่มเยอะกว่า
ซึ่งปัจจุบันยานวอยเอจเจอร์ทั้งสองเราจะมีความเร็วลดลงเรื่อย ๆ แต่ก็ยังมากกว่าความเร็วหลุดพ้นอยู่ดี
ทั้งนี้เนื่องจากอิทธิพลแรงโน้มถ่วงของดวงอาทิตย์นั้นกว้างไกลถึง 2.5 ปีแสง!!!
** เทคนิคนี้มีใช้กับยานสำรวจอื่น ๆ บ้างไหม? **
ตัวอย่างยานสำรวจที่ใช้ Gravity assists ช่วยในการเดินทาง
มีเยอะครับ ไม่งั้นไม่ไหวกับการเดินทางระหว่างดาว ตัวอย่างหนึ่งที่ใช้ Gravity assists จากโลกเราเองก็คือยาน Juno ที่ถูกส่งไปสำรวจดาวพฤหัส เมื่อปี 2011 แต่กว่าจะเดินทางถึงก็ปี 2016
ยาน Juno
เนื่องจากต้องไปเจอกับสภาพรังสีรุนแรงในบริเวณสนามแม่เหล็กของดาวพฤหัสยาน Juno จึงต้องติดตั้งเกราะไทเทเนียมเพื่อป้องกันอุปกรณ์ที่อยู่ด้านในยาน ทำให้ตัวยานนั้นหนักมาก
เกราะกันรังสีทำจากไทเทเนียม เพราะแม้จะเลือกเส้นทางเลี่ยงพื้นที่เสี่ยงแต่ก็ยังต้องเผชิญกับสภาพที่เป็นภัยต่ออุปกรณ์อิเล็คโทรนิค
ซึ่งทำให้ต่อให้ใช้จรวดยักษ์ก็ไม่สามารถทำความเร็วให้ยาน Juno เดินทางไปถึงดาวพฤหัสได้ในคราวเดียว
เส้นทางโคจรของ Juno ต้องวนมาเติมพลังจากโลกก่อนจึงจะไปถึงดาวพฤหัสได้
ดังนั้นหลังจากปล่อยขึ้นสู่อวกาศบินวนไปยังแถบดาวเคราะห์น้อยแล้วก็วกกลับมาโลกด้วยแรงโน้มถ่วงของดวงอาทิตย์ผ่านโลกและก็ถูกเหวี่ยงกลับออกไปด้วยความเร็วที่มากขึ้นจากแรงโน้มถ่วงโลก ในที่สุดก็ไปถึงดาวพฤหัสได้ในปี 2016
youtube.com
What has NASA’s Juno discovered around Jupiter so far?
It’s been one year since NASA’s Juno spacecraft arrived at Jupiter. What has it seen? What has it discovered? Actually, quite a lot! I showcase some of the m...
ทำให้เราได้เห็นภาพที่งดงามของดาวพฤหัสอย่างที่เราไม่เคยเห็นมาก่อน
งดงามจนน่าตะลึง
รวมถึงความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับพี่ใหญ่ของระบบสุริยะดวงนี้
Juno ทำให้เรารู้จักดาวพฤหัสเยอะขึ้นมาก
ทิ้งท้าย เทคนิค Gravity assists นี้มีพื้นฐานมาจากความรู้เรื่องวิถีโคจรของดวงดาวตั้งแต่ยุคบรรพกาล ใช้ฐานข้อมูลการโคจรของดวงดาวตั้งแต่ยุคบาบิโลเนียก่อนคริสตกาลเสียอีก
โยฮันเนส เคปเลอร์ (Johannes Kepler) นักดาราศาสตร์ และนักคณิตศาสตร์ชาวเยอรมัน
ตามมาด้วยกฎการเคลื่อนที่ของดาวเคราะห์โดย โยฮันเนส เคปเลอร์ รวมถึงกฎการเคลื่อนที่ของเซอร์ไอแซคนิวตัน จนมาเป็น Gravity assists
นี่แหละครับผลของการส่งต่อองค์ความรู้จากรุ่นสู่รุ่น ความรู้ใหม่ ๆ ที่ประกอบและได้มากจากฐานความรู้ของบรรพชน 😉
Source:
https://medium.com/the-space-perspective/gravity-assists-explained-simply-how-the-voyager-spacecrafts-escaped-the-solar-system-d8aaa4a9273c
https://www.scienceabc.com/innovation/gravitational-slingshot-how-did-gravity-assist-voyager-1-2-in-escaping-the-solar-system.html
https://en.wikipedia.org/wiki/Juno_(spacecraft)
https://en.wikipedia.org/wiki/Grand_Tour_program
https://en.wikipedia.org/wiki/File:Voyager_speed_and_distance_from_Sun.svg
youtube.com
What’s a gravity assist? | Mashable
http://www.mashable.com LIKE us on FACEBOOK: http://facebook.com/mashable.video FOLLOW us on TWITTER: http://twitter.com/mashablevideo FOLLOW us on TUMBLR: h...
youtube.com
How do spacecraft navigate in space ?
https://brilliant.org/curiousdroid/ How do spacecraft navigate in space over billions of kilometers and with split second timing during missions that last fo...
เครดิตภาพ: NASA. Wikipedia และ Cap จากวีดีโอในยูทูป Link ในโพส
24 บันทึก
85
31
6
ดูเพิ่มเติมในซีรีส์
Beyond Earth & Space Technology
24
85
31
6
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย