Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
Kate MewMew
•
ติดตาม
11 พ.ย. 2019 เวลา 00:56 • ความคิดเห็น
เล่าเรื่องตอนสมัยไปดูงานที่ Cpall ให้ฟังค่ะ (ep2)
ก่อนอื่นต้องขอโทษเพื่อนๆที่ติดตามด้วยนะคะที่หายไปนาน 😅😅 ช่วงนี้งานยุ่งมากๆเลยค่ะ
อ่ะ เข้าเรื่องกันต่อเลย 🤗
ตอนที่แล้วเคทได้พูดถึง การสั่งสินค้าและการจัดส่งไปคร่าวๆแล้วโน๊ะ วันนี้ก็จะมาพูดถึงขั้นตอนการทำงานกันต่อเลย
1
ว่าด้วยการจัดการสินค้าและจัดการคลัง
หลังจากที่คุณสั่งสินค้าไปแล้วใช่ไหมคะ ก็จะมีสินค้ามาส่ง สมัยก่อนการสั่งสินค้าเป็นอะไรที่ยากมาก เพราะ รถส่งสินค้าจะส่งสัปดาห์ละแค่ 3 วัน แต่ปัจจุบันนี้การส่งสินค้าเป็นแบบจัดส่งทุกวัน จึงง่ายขึ้น
(การสั่งสินค้าวันต่อวันจะคำนวณง่ายกว่าคำนวณ3วัน)
รถส่งสินค้าจะมีด้วยกันวันละ 3 คัน จะแบ่งเป็น
(1)สินค้า dc (สินค้าที่ไม่ใช่อาหาร)
( 2)สินค้าฟู๊ด ไส้กรอก อาหารกล่อง นมสด ฯลฯ
(3) สินค้าแคตตาล็อค พวกครีม อาหารเสริม
ของเล่น ฯลฯ *สินค้ากลุ่มนี้จะไม่ได้ส่งทุกวันนะคะ*
หลังจากความยากในการสั่งออเดอร์แล้ว ความยากต่อมาคือ การจัดเก็บสินค้าเข้าสต๊อกและจัดเรียงขึ้นเชลฟ์(shelf)นี่แหละค่ะ 😅 ตอนสั่งก็อาจจะเพลินๆแต่ตอนจัดเก็บนี่สิ ไม่ง่ายเลยค่ะ !!
คุณอาจจะยังจินตนาการไม่ออก ว่ามันยากตรงไหนแค่กะอีแค่การจัดเรียงการจัดเก็บ
เคทจะอธิบายให้เห็นภาพง่ายๆนะคะ
สมมุติร้านคุณ ยอดขายสินค้า
ต่อวัน = 100,000 บาท(ค่าเฉลี่ยของร้านขนาดใหญ่)
นั่นหมายความว่าคุณต้องสั่งสินค้าไม่ต่ำกว่ารอบละ 8หมื่น-แสน แล้วปริมาณสินค้า 8หมื่น-แสนบาท จะมีปริมาณขนาดไหนหรอ ?
คุณอาจยังนึกภาพไม่ออก
เพื่อให้เห็นปริมาตรและรูปทรงที่ชัดเจนขึ้น คุณลองนึกภาพรถบรรทุก 6ล้อดูค่ะ นั่นแหละค่ะ! พื้นที่เต็มความจุหลังรถเลยแหละ แต่...คุณก็อาจจะยังนึกภาพความยุ่งยากไม่ออก ทีนี้คุณลองจินตนาการเวลาย้ายคอนโดย้ายบ้านดูค่ะ ที่เราเห็นดูเหมือนไม่ค่อยมีอะไรมาก ของไม่น่าเยอะ แต่ขนไปขนมาเต็มหลังรถ 6 ล้อเลยค่ะ 😅 ทีนี้คุณคิดว่าของเยอะไหมคะ และเหนื่อยไหมเวลาจัดเก็บจัดเรียงของ ใช่ค่ะ เหนื่อยมากกกกก
1
นั่นแหละค่ะคือปริมาณจำนวนสินค้ามูลค่า 8หมื่น-แสนบาท ที่คุณต้องเจอแทบทุกวัน 😂
เมื่อสินค้ามาส่งหลายร้อยรายการ การตรวจเช็คของก็ต้องละเอียดมากๆเช่นกัน
งานตรงนี้จะอยู่ในความรับผิดชอบของกะเช้ากับกะบ่าย
ดังนั้นตรงจุดนี้จะต้องมีการสแตนบายอย่างน้อย 10 คน
(แบ่งเป็น 2 คนตรวจเช็คสินค้า 4-5 คนจัดเรียงสินค้าขึ้นเชลฟ์ และ 3 คนก็ ทำหน้าที่ยืนแคชเชียร์ ) ลองนึกสภาพถ้าใครขาดงานไป จะเป็นอะไรที่โหลดหนักมากก😅😅😅
2
การบริหารคลังสินค้าในร้านจะต้องสอดคล้องกับการสั่งสินค้าเสมอ ด้วยเพราะพื้นที่มีจำกัด การจัดการคลังต้องทำให้ได้ประสิทธิภาพสูงสุด
ดังนั้นการจัดการคลัง จึงถูกกำหนดโดยหลักการ Pareto (พาเรโต้) ตั้งแต่การสั่งสินค้าและการจัดเรียงจัดเก็บ
ถึงตรงนี้อยากให้จดเก็บไว้เลยนะคะ !!
หลักการ หรือ หลักทฤษฎี Pareto นั้นมีความสำคัญอย่างมากในการขาย
หลัก Pareto คืออะไร ?
Pareto คือ กฏเศรษฐศาสตร์มวลรวม
ที่คิดค้นโดย วิลเฟรโด้ พาเลโต้
อธิบายง่ายๆคือ เป็นหลักการที่แสดงถึงความสำคัญของสิ่งของจำนวนน้อย ที่มีค่า หรือ ศักยภาพเท่ากับของจำนวนมาก โดยแบ่งได้เป็น เกณฑ์ = 20:80
(แอพพลายเป็น 15:85 หรือ 10:90 ก็ได้)
1
เช่น ยอดขายของสินค้าขายดีจำนวน 20%
มีค่าเท่ากับ ยอดขายของสินค้าทั่วไป 80%
ดังนั้น ในหลักการนี้ เราจึงต้องเน้นโฟกัสไปที่สินค้า 20% นั้น
ตัวอย่าง.....
สมมุติร้านเราขาย ไก่ทอด มี สะโพกไก่ อกไก่ น่องไก่ ปีกไก่ ตับไก่
สินค้าขายดีที่สุดของเราคือ สะโพกไก่
หลักการ Pareto จะบอกเราว่า
ยอดขายของ สะโพกไก่ จะเท่ากับ ยอดขาย ของ อกไก่ น่องไก่ ปีกไก่ และ ตับไก่ รวมกัน
ทีนี้หลายๆคนที่เคยขายของอาจจะ ไม่เชื่อ และมองว่า หลักการนี้ไม่จริง และไม่ถูกต้องนัก เพราะ ของที่ร้านก็ขายหมดทุกอย่างในปริมาณที่พอๆกันด้วย
อืมมม...ถ้าคุณขายสินค้าในปริมาณที่ไม่มากนัก หลักการ Pareto นี้ อาจจะไม่จำเป็น เพราะคุณสามารถ forecast สินค้าได้ตรงกับความต้องการของตลาด(ลูกค้า) แต่ ถ้าคุณขายในปริมาณเดียวกับ KFC หลักการนี้สำคญมากค่ะ ถ้าคุณสังเกตุดีๆ KFC สินค้าอย่างไก่สไปซี่ คือสินค้าที่ขายดีที่สุดในบรรดาสินค้าที่มีมากกว่า 10 ชนิดในร้าน !!
มันคงเป็นเรื่องเสียเวลา และเสียโอกาส หากคุณไปให้ความสำคัญ กับ นักเกต เบอร์เกอร์ไก่ หรือข้าวไก่กรอบ
ซึ่งเป็นสินค้าที่คนไม่นิยมเท่าไก่สไปซี่
และเมื่อคุณโฟกัสสินค้าผิดตัว สิ่งที่ตามมาคือ ยอดขายคุณจะไม่โตค่ะ !!
ดังนั้นหลักการ Pareto คือหลักการที่ว่าด้วย การโฟกัสสิ่งที่สำคัญที่สุด เพื่อ ผลลัพธ์ที่ดีที่สุด
.
ทีนี้เมื่อการสั่งสินค้าถูกควบคุมด้วยหลัก Pareto แล้วในการจัดเรียงสินค้า การจัดวาง รวมถึงการจัดเก็บ ก็จะถูกกำหนดด้วยหลักการนี้เช่นกัน
ดังนั้นสินค้าอันดับ 1 หรือ สินค้า Rank A ย่อมได้พื้นที่มากกว่า และตำแหน่งที่ดีกว่า สินค้า Rank B และ C
(เรื่องตำแหน่งวางสินค้า เป็นอะไรที่สำคัญมาก ในจุดนี้ทางการตลาดก็มีการแข่งขันกันโดยการยื่นประมูลด้วยนะคะ เพราะตำแหน่งเชลฟ์มันมีมูลค่าค่ะ )
.
สรุปขั้นตอนทั้งหมดที่ว่ามานี้ ตั่งแต่รับสินค้า จนถึงการจัดเรียงและจัดเก็บ จะใช้เวลาไม่น้อยกว่า 4-5 ชั่วโมงค่ะ และถ้าของเข้าเยอะมากๆในช่วงที่ลูกค้าก็เยอะด้วย ก็อาจจะต้องใช้เวลาลามไปถึงกะดึกเลย พูดง่ายๆว่าขั้นตอนนี้เป็นช่วงสำคัญที่สุดอีกช่วงเลยค่ะ เพราะมีผลต่อยอดขายโดยตรง เนื่องจาก หากเราเติมของช้า สินค้าที่เชลฟ์ขาด ก็จะทำให้ยอดหายไปด้วยเช่นกัน และอาจจะส่งผลให้เสียลูกค้าตามมาด้วย
ในสมัยก่อน 7-11 ระบบการทำงานยังไม่พัฒนาเหมือนปัจจุบัน การโหลดงานจึงหนักมาก เลยตามมาด้วยการเทรินโอเวอร์ของพนักงานในดัชนีที่สูงมาก
อย่างแต่ก่อน คุณจะเห็นว่า 7-11 มีการทำแซนวิสแบบสด ที่คุณสามารถสั่งทำได้ ว่าจะเอาหน้าไหน รสไหน ใส่ไข่ ไม่ใส่ไข่ ใส่ชีสไม่ใส่ชีส หรือ เบอร์เกอร์
ฮอทด็อก ที่มีหลุมผักให้เติม และมีซอสให้บีบไม่อั้น สิ่งเหล่านี้แหละ คือ การฉุดให้ 7-11 เติบโตช้า เพราะกำลังพลส่วนหนึ่งต้องมานั่งทำเรื่องพวกนี้ หั่นผัก ทำแซนวิส เติมซอส บลาๆๆๆ ฯลฯ ซึ่งมันใช้เวลาและพลังงานมาก ที่สำคัญคือ การทำสินค้าฟู๊ด ต้องคุมคุณภาพให้ได้มาตรฐาน ต้องคุมเชลฟ์ไลฟ์ตลอดเวลาซึ่งเป็นเรื่องไม่ง่ายเลยค่ะ และเมื่อคุณหลุด QC เมื่อไหร่ บทลงโทษที่ตามมาเป็นราคาจ่ายที่สูงกว่ากำไรที่คุณได้หลายเท่านัก
การปรับเปลี่ยน และกล้าตัดองค์ประกอบเหล่านี้ทิ้งไป จึงทำให้ประสิทธิภาพของการทำงานโดยรวมดีขึ้น
พอกล้าเปลี่ยนแปลง ปัญหาตัดจ่ายของเสีย สินค้าหมดอายุ จำพวกฟู๊ดก็ลดลง ยอดขายก็โตขึ้น
ทั้งหมดนี้เกิดจากการที่เราต้องรู้หลักการจัดการความสำคัญค่ะ
วันนี้พอแค่นี้ก่อนเนอะ ไว้พรุ่งนี้มาต่อกันค่ะ ขอเคลียร์งานก่อน 😅😅😅 หากมีอะไรสงสัยหรืออยากสอบถามเพิ่มเติมเม้นไว้ได้เลยนะคะ
ป.ล. Ep หน้าจะมาเล่าถึง การทำงาน กะดึก และระบบเช็คลิสต์ กุญแจสำคัญของการรักษาความเป็นเลิศของระบบการจัดการร้าน
1
สนใจอ่าน ลิ้งค์ตอนที่ 1 👇👇👇
https://m.facebook.com/story.php?story_fbid=968172500206181&id=100010403208238
31 บันทึก
64
21
23
31
64
21
23
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย