11 พ.ย. 2019 เวลา 13:26 • การศึกษา
การเลี้ยงกุ้งและการใช้โปรไบโอติก
Probiotic and Shrimp Farming
ด้วยแนวความคิดที่จะใช้โปรไบโอติกในการควบคุมปริมาณสารอินทรีย์ในบ่อกุ้ง เพื่อรักษาคุณภาพน้ำรวมทั้งสร้างความแข็งแรงให้กับกุ้งในบ่อและช่วยควบคุมการเกิดโรคต่างๆ เพื่อลดการใช้ยาปฏิชีวนะและให้เกษตรกรจับกุ้งที่มีคุณภาพที่ดีเป็นที่ต้องการของลูกค้า
1
โปรไบโอติกที่เราใช้กันอยู่นั้นเป็น Heterotropic bacteria (คือสิ่งมีชีวิตที่ต้องการอินทรียสารจากสิ่งมีชีวิตอื่นๆ เป็นแหล่งคาร์บอนเพื่อใช้ในการเจริญเติบโตและการซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอ หรือไม่สามารถสร้างอาหารได้เอง) และเป็น Autotrophic nitrifiers (เป็นผู้ใช้สารในกลุ่มไนโตรเจนคือแอมโมเนีย, ไนไตรท์, ไนเตรท)
โดยใช้อาหารมาจากสารอินทรีย์ซึ่งเป็นสารประกอบคาร์บอนในน้ำนั่นคือคาร์โบไฮเดรท(Carbohydrate)นั่นเอง ส่วนไนโตรเจนที่เกิดขึ้นนั้นก็มาจากแหล่งโปรตีนในน้ำคือจากอาหารกุ้งหรือปลาแล้วจุลินทรีย์ก็ย่อยสลายให้เกิดเป็นแอมโมเนีย และกุ้งก็ขับแอมโมเนียออกมาจากระบบเผาผลาญอาหารซึ่งจุลินทรีย์กลุ่มโปรไบโอติกบางชนิดก็สามารถใช้แอมโมเนียได้โดยตรงเลย
สัดส่วนของ C:N เกี่ยวข้องกับเรื่องนี้อย่างไร ในการเลี้ยงกุ้งแบบหนาแน่นนั้นเรามักจะใช้อาหารกุ้งที่มีโปรตีนขั้นต่ำ 35% ซึ่งด้วยโปรตีนขนาดนี้ทำให้มีปริมาณคาร์โบไฮเดรทต่ำ สัดส่วน C:N ไม่เกิน 9:1 แต่จุลินทรีย์พวกที่เป็นโปรไบโอติกนั้น ต้องการคาร์บอนอยู่ที่ระดับ 20:1 ด้วยอัตราส่วนที่ต่ำแบบนี้จึงทำให้จุลินทรีย์กลุ่มโปรไบโอติกเติบโตได้อย่างจำกัด นั่นคือไนโตรเจนส่วนใหญ่ในระบบจึงค้างอยู่(เกิดแอมโมเนียสูง, ไนไตรท์สูง)
แล้วเราจะทำอย่างไรล่ะที่จะแก้ปัญหานี้ล่ะ
นั่นคือใช้อาหารที่มีโปรตีนต่ำหรืออีกทางคือใส่กากน้ำตาลเพิ่มเข้าไปเพื่อให้จุลินทรีย์ที่เป็นโปรไบโอติกสามารถทำงานได้ดี ซึ่งจะเป็นการลดปริมาณแอมโมเนียในบ่อให้ลดลง
จุดหนึ่งที่ต้องระมัดระวังคือการเพิ่มคาร์โบไฮเดรทหรือคาร์บอนเข้าไปในระบบ แน่นอนว่าปริมาณจุลินทรีย์ที่เป็น heterotroph นั้นเพิ่มปริมาณขึ้นอย่างแน่นอน แต่สิ่งที่คุณจะทำนั้นต้องมั่นใจว่าในบ่อของคุณนั้นมีปริมาณออกซิเจนที่เพียงพอและมีการเคลื่อนตัวของน้ำที่เหมาะสม
อีกประการหนึ่งก็คือผลที่เกิดขึ้นจากที่จุลินทรีย์เพิ่มจำนวนมากขึ้นคือจะมีคาร์บอนไดออกไซด์(CO2)มากขึ้นด้วย นั่นจะทำให้ pH ลดลง⬇️ด้วยเช่นกัน เมื่อเกิดกรณี pHในบ่อตกลงมา อย่าเพิ่งหยุดการเติมคาร์บอนในทันทีทันใดเพราะจะทำให้แอมโมเนียในบ่อพุ่งสูงขึ้นเนื่องมาจากการย่อยสลายสารอินทรีย์ของจุลินทรีย์ไม่สมบูรณ์
สิ่งที่ควรต้องระมัดระวังคือว่าการลดโปรตีนในอาหารลงนั้นไม่ควรจะไปใช้กับกุ้งกุลาดำเพราะเป็นกุ้งที่มีความต้องการปริมาณโปรตีนในอาหารสูงมันแตกต่างกันอย่างสิ้นเชิงกับกุ้งขาว สำหรับกุ้งขาวแวนนาไมแล้วไม่ได้ต้องการปริมาณโปรตีนที่สูงมาก แต่ต้องการปริมาณคาร์โบไฮเดรทที่สูงมากกว่าเพื่อสร้างสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมในบ่อ
1
จุลินทรีย์ที่เป็นกลุ่มโปรไบโอติกนั้นเป็นพวกแกรมบวกได้แก่ บาซิลลัสและแลคโตบาซิลลัส ซึ่งมีอยู่แล้วในธรรมชาติและไม่จำเป็นต้องใส่เพิ่มเข้าไปเลยหากสามารถสร้างสัดส่วนของ C:N=12:1ขึ้นไป และมีการให้อากศที่มีออกซิเจนอย่างเพียงพอ
5
ด้วยบทความมีความยาวค่อนข้างมาก ขอแบ่งเป็น 2 ตอนนะครับ และขอจบบทความในตอนที่ 1 ไว้แค่นี้ก่อนนะครับ
โปรดติดตามตอนที่2 เร็วๆนี้นะครับ
ชอบ ช่วยกดไลค์
ถูกใจช่วยกดแชร์
และกดติดตามเพจ เพื่อไม่ให้พลาดข่าวสารที่น่าสนใจ
ขอบคุณทุกท่านที่ติดตามเพจ mr.shrimp ครับ
โฆษณา