Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
คลังความรู้
•
ติดตาม
14 พ.ย. 2019 เวลา 11:11 • ท่องเที่ยว
เที่ยวคนเดียว ที่"เชียงคาน" ตอนที่ 1
เที่ยวคนเดียว ท่องไปในสถานที่ที่ไม่เคยไป จะเป็นอย่างไร
ท่องเที่ยวเเบบเรียนรู้ เรียนรู้เเบบท่องเที่ยว
ขอขอบคุณโครงการดีๆ อย่าง Feeltrip 3 ที่ให้โอกาสผมได้เรียนรูโลกใบนี้อย่างที่ผมต้องการ
บทความนี้เป็นบทความบันทึกความทรงจำย้อนหลัง เหตุการณ์เกิดขึ้นเมื่อ 17-20/10/2562
เรื่องราวทุกอย่างเริ่มต้นในวันที่ 17 ตุลาคม 2562 ก่อนหน้านั้นหลายวันผมได้ไตร่ตรองเเละวางเเผนว่าจะไปท่องเที่ยวเเบบเรียนรู้ที่ไหนดี ผมคิดถึงสิ่งที่จะเกิดขึ้น ทั้งสิ่งที่ต้องสูญเสียเเละสิ่งที่ได้รับ เป็นการวางเเผนที่หนักหนาพอสมควร เพราะการไปที่ที่ไม่เคยไปคนเดียวค่อนข้างมีสิ่งที่ท้าทายมากมายพอสมควร ถึงเเม้ว่าผมจะเคยไปไหนมาไหนคนเดียวบ่อย ทว่าก็เป็นพื้นที่ที่คุ้นฉินเเล้วทั้งนั้น
หน้าตลาดทรัพย์ไพรวัลย์
6.30 น. ผมเดินทางออกจากบ้านที่บ้านเนินสว่าง เพื่อมาขึ้นรถบัสสายนครไทย ที่หน้าตลาดสดทรัพย์ไพรวัลย์ ในใจผมคิดว่ารถต้องมาสายตามปกติเเน่ๆ เเต่ก็ผิดคาดรถมาเร็วมาก ประมาณ 7.20 น. เเต่น่าเสียดายที่ไม่มีที่นั่งพอสำหรับผม ผมเลยต้องยืนตลอดเส้นทางการเดินทางไป บขส.ใหม่ ในเมืองพิษณุโลก
ตอนมาถึง บขส.ใหม่ ใช้เวลาประมาณ 30 นาที หลังจากลงรถผมก็ตรงไปซื้อตั๋วไปเลย ซึ่งมี 2 รอบคือ 12.30 น. เเละ 23.00 น. เเละช่างเป็นโชคร้ายที่ รอบเเรกมีคนจองหมดไปเเล้ว เเต่ก็ไม่ได้เป็นปัญหาสำหรับผมเท่าใดนั้น เพราะพกหนังสือนิยายมาด้วย 555 (ของฮิงาชิโนะ เคโงะ)
เหลือเวลาอีกกว่า 15 ชั่วโมงกว่าจะถึง ก็คงเฉาตาย ท่ามกลางอากาศที่อบอ้าวของเเดดประเทศไทยในตอนกลางวัน เลยมีความคิดเเวบเข้ามาในหัว ไปอยู่โลตัสดีกว่า หลังจากนั้นก็นั่งชิวๆอ่านหนังสืออยู่ที่ศูนย์อาหาร เเต่ความจริงก็เกรงใจสถานที่นะ มาตั้งเเต่ เก้าโมงกว่าๆจนถึง 21.30 น. จากนั้นก็กลับมาที่ บขส.ใหม่อีกครั้ง เเล้วก็ รอรอรอรอรอรอ ต่อไป
ภาพบรรยากาศยามค่ำคืนอันน่าหดหู่
รถมาก่อนเวลาประมาณ 10 นาที หลังจากขึ้นรถ เป็นเวลานานทีเดียวกว่าจะถึงจุดหมาย หากมองดูเผินๆ อาจคิดว่าพิษณุโลกกับเลยไม่ห่างกันมาก ไม่นานก็ถึง เเต่ความจริงคือเมื่อมองนาฬิกาอีกครั้งตอนถึงจุดหมาย พบว่าผ่านไป 4.30 ชั่วโมงเลยทีเดียว
เมื่อมาถึงที่เลย สิ่งเเรกที่ต้องทำคือหารถต่อไปยังอำเภอเชียงคาน ซึ่งจากข้อมูลทราบเเต่เพียงว่า เชียงคานห่างจากเลยเป็นระยะทาง 48 กิโลเมตร หากเดินทางด้วยรถความเร็วปกติก็น่าจะราว 45 นาทีก็น่าจะถึง (เป็นเเค่ความคิดในใจเท่านั้นนะ) เเต่สิ่งที่ไม่รู้ก็คือ รถตู้ต่อไปยังเมืองเชียงคานเท่านั้นเเหละ จู่ๆก็มีลุงคนหนึ่งเดินมาถามว่าผมจะไปไหน
ผมบอกว่าจะไปเชียงคาน
ลุงถามอีกว่า จะไปรถลุงไหม ลุงก็ผ่านที่นั้น ค่ารถ 600 เอง
บอกได้เลยว่า นั่งรถเล่นจากพิษณุโลกไปเลยได้สามรอบได้มั่ง ผมเลยปฏิเสธลุงเเกด้วยความเกรงใจอย่างมาก ในความหวังดีของเเก
จากนั้นผมเดินไปถามเจ้าหน้าที่ประชาสัมพันธ์ เจ้าหน้าที่บอกว่าเวลาประมาณ 5.30 น.จะมีรถไปเชียงคาน เเน่นอนผมต้องรอยู่ที่สถานีรถกว่า 2 ชั่วโมง
รถสายนี้
จากนั้นเวลาประมาณ 5.15 น. รถโดยสารสายเลย-เชียงคานก็เทียบท่า รอบเเรกมีคนขึ้นเพียง 3คน ผมก็คิดว่า ทำไมคนน้อยจัง (เป็นความคิดที่ผิดอย่างเเรง) จะบอกว่ารถออกตรงเวลามากๆๆๆๆๆๆ คนขับเมื่อถึงเวลปุ๊บ ออกรถปั๊บเลย ถือว่าดีทีเดียว
ที่บอกว่าคิดผิดอย่างเเรงก็เพราะว่า รถโดยสารเขาจะเเวะรับคนตามทางตลอด เเค่โบกนิดสะบัดหน่อย วิงการ์เดียม เลวิโอซ่า (อินหนักมาก) รถก็จอดเเล้ว เวลาผ่านไปไม่นานคนก็เต็มรถเเล้ว คนส่วนใหญ่เป็นป้าๆ ที่จะไปลงที่โรงพยาบาลเชียงคาน
ภาพภายในรถกับเเสงอันอบอุ่นในตอนเช้า
เช้านี้เป็นเช้าของวันที่ 18/10/62 เมื่อคืนผมโทรเช็คห้องที่จองไว้เเล้วกับพนักงาน เเละขอเข้าเช็คอินก่อนเวลาเเต่เช้า ซึ่งผมสามารถเข้าที่พักได้ตอนเวลา 8 โมง เเต่ก่อนหน้านั้นก็ได้มีโอกาสสัมผัสกับริมน้ำโขงครั้งเเรก รู้สึกได้เลยว่า มันช่างสวยงาม ทั้งสภาพเเวดล้อมที่รายรอบ มองไปยังอีกฝั่งผมได้พบกับอีกประเทศหนึ่ง ซึ่งได้ชื่อว่าเป็นบ้านพี่เมืองน้องกับไทย นั่นคือลาว จะว่าไปเเล้วในสมัยก่อนเมื่อยังไม่มีการเเบ่งประเทศกัน ผู้คนทั้งสองฟากฝั่งต่างก็เป็นพ่อเเม่พี่น้องกันทั้งสิ้น เเต่ในปัจจุบันสิ่งเหล่านี้ก็ยังคงอยู่ ถึงเเม้จะถูกเเยกออกเป็นสองประเทศเเล้ว เเละถูกกันด้วยเส้นเลือดสายใหญ่ ก็ไม่ได้ทำให้วิถีชีวิตของผู้ต้องขาดออกจากกัน หนำซ้ำยังกลมกลืนผสมผสานกันจนเเทบจะเเยกกันไม่ออก
สิ่งที่สำคัญของการมาเชียงคานในครั้งนี้ก็คือคำถามของผม มันเป็นคำถามที่ผมสงสัย เเละอยากจะรู้มากที่สุด ไม่ใช่เพราะต้องเอาไปสอบ เเต่เพื่อการเรียนรู้เเละความเข้าใจอย่างเเท้จริง
โดยตัวเมืองเชียงคานผมมีโจทย์หรือคำถามสำคัญดังนี้....
1. ศึกษารูปแบบบ้านเรือน อาหาร และขนบธรรมเนียม โดยศึกษาตามทฤษฎีภูมิศาสตร์ที่ว่า วิถีชีวิตมนุษย์เกิดจากสภาพแวดล้อมรอบตัว
2. ความสัมพันธ์ระหว่างคนในท้องที่เดียวกันเป็นอย่างไร ตามทฤษฎีเมืองและชนบทในทางภูมิศาสตร์
3. ศึกษารูปแบบการวางตัวของบ้านเรือน หรือศึกษาผังเมืองของเชียงคาน พัฒนาการของเมือง และการกระจายตัวของรูปแบบการใช้ประโยชน์ที่ดินตามทฤษฎีเมืองของภูมิศาสตร์
4. รูปเบบเศรษฐกิจของผู้คนมีอะไรบ้าง
5. ศึกษาตามทฤษฎีวิวัฒนาการของแหล่งท่องเที่ยว โดยใช้เมืองเชียงคาน
6. ศึกษาผลกระทบของการท่องเที่ยวต่อรูปแบบการดำเนินชีวิตของชาวบ้าน
7. ความหลากหลายทางเชื้อชาติเป็นอย่างไร
กล่าวคือคำถามเหล่านี้เป็นคำถามเชิงภูมิศาสตร์ทั้งนั้น ยังไม่เหมดยังมีต่อ คราวนี้เป็นเกี่ยวกับเเม่น้ำ
1.ศึกษารูปแบบของแม่น้ำหรือศึกษาพื้นที่ทางกายภาพ
2. ศึกษาบริเวณที่ตั้งของเมืองกับความสัมพันธ์ระหว่างเมืองกับแม่น้ำในรูปแบบที่สามารถสังเกตเห็นได้
ซึ่งคำถามโจทย์ที่ผมกำหนดมาเหล่านี้เป็นสิ่งที่ผมจะต้องไปศึกษา เเละเรียนรู้ให้มากที่สุดในระยะเวลา 2 วัน 2 คืน ที่อยู่ที่นี่
กลับมาที่เรื่องของการเดินทางต่อ เมื่อถึงเวลาที่กำหนดไว้ ผมก็มาเข้าที่พักในซอย 20 หน้าที่พักมี 7-11 พอดี จะเป็นโชคดีหรือโชคร้ายดีเนี่ย หากดูจากเเผนที่จะอยู่ตรงนี้ครับ
ภาพอาจจะดูไม่ชัดเท่าไร
ลืมบอกไปครับ ชื่อที่พักคือเเคปซูล โฮสเทล ราคาที่พักสำหรับ 1 คนคือ 490 บาท (บอกเลยถูกสุดละ เท่าที่หาเจอ) เเละเเน่นอนว่าที่เลือกที่นี่ก็เพราะเหตุผลนี้ละ 555หากให้เล่าทั้งวันคงพิมพ์จนมือหงิกเเน่นอน งั้นผมจะเล่าในส่วนที่ผมไปสรุปมาไว้เเล้วกับคำถามที่สนใจ
1. ศึกษารูปแบบบ้านเรือน อาหาร และขนบธรรมเนียม โดยศึกษาตามทฤษฎีภูมิศาสตร์ที่ว่า วิถีชีวิตมนุษย์เกิดจากสภาพแวดล้อมรอบตัว
สิ่งที่ได้....สิ่งที่จะตอบคำถามนี้ได้ดีที่สุดคงจะต้องเป็นสถานที่เก่าแก่สักนิด เพราะอันที่เกิดใหม่มีแนวโน้มได้รับอิทธิพลจากโลกาภิวัฒน์มากขึ้นเรื่อยๆ ความจำเป็นที่ต้องคล้อยตามธรรมชาติก็ลดลง และรูปแบบดั่งเดิมเริ่มเลือนหายไป ถึงแม้จะยังคงมีการอนุรักษ์ไว้ ซึ่งผมคิดว่าส่วนนี้เป็นเพียงแค่เปลือกนอกเท่านั้น รูปแบบและจิตวิญญาณภายในได้เปลี่ยนแปลงไปแล้ว ซึ่งเป็นเรื่องปกติที่เกิดขึ้นอยู่แล้ว ซึ่งส่วนนี้ผมจะสรุปส่วนที่เห็นเด่นชัดเจนที่สุดคือ
1. ตัวเรือนดั่งเดิมมีการใช้ไม้โคกคือไม้ที่หาได้ในท้องถิ่นมาใช้ในการสร้างบ้านเรือน เเละตัวหลังคาทำจากกระเบื้องดินขอ ซึ่งหาได้จากพื้นที่
2. อาชีพที่พบเห็นเป็นอาชีพตามสภาพแวดล้อมเช่น การเกษตรและประมงน้ำจืด
3. ประเพณีบางส่วนเชื่อมประสานกับน้ำ เช่นการลอยเคราะห์ลอยโศกโดยใช้ผาสาด (คล้ายกระทง)
4. อาหารที่พบมาก เช่น สัตว์น้ำจำพวกปลา กุ้ง ปู เป็นต้น ซึ่งสามารถหาได้ง่ายในพื้นที่
2. ความสัมพันธ์ระหว่างคนในท้องที่เดียวกันเป็นอย่างไร ตามทฤษฎีเมืองและชนบทในทางภูมิศาสตร์
3
สิ่งที่ได้...จากการสำรวจและสังเกตพฤติกรรมการใช้ชีวิตของผู้คน บริเวณตัวเมืองเชียงคานและถนนคนเดินเชียงคานพบว่า การมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างคนต่างครอบครัวหรือเพื่อนบ้านมีน้อยลง การรวมกลุ่มพูดคุยหรือเสวนาร่วมกันมีน้อยลง โดยส่วนมากจะอยู่กับครอบครัวหรือคนในบ้าน และบทสนทนาส่วนใหญ่(ที่ได้ฟังมา) จะเกี่ยวกับธุรกิจและเรื่องทั่วไปเช่น ข่าวสาร การเมือง และเศษฐกิจที่ตกต่ำ ซึ่งเป็นไปผลตามทฤษฎีความเป็นเมืองของภูมิศาสตร์ ที่ว่าความสัมพันธ์ของผู้คนจะน้อยลงเมื่อมีความเป็นเมืองมากขึ้น หรือกล่าวคือ เชียงคานเริ่มหรือได้กลายเป็นเมืองๆหนึ่งแล้ว แต่ถึงอย่างไรการเป็นเมืองนั้นต้องอาศัยปัจจัยหลายๆอย่างเช่น รูปแบบกิจกรรมทางเศรษฐกิจของคนในพื้นที่ จำนวนประชากร เป็นต้น
1
อีกอย่างคือการสำรวจนี้ ใช้เวลาในการสำรวจค่อนข้างน้อย จึงสรุปได้เฉาะในขอบเขตที่ผมสามารถเห็นได้เท่านั้น รายละเอียดอื่นๆอาจตกไป
3. ศึกษารูปแบบการวางตัวของบ้านเรือน หรือศึกษาผังเมืองของเชียงคาน พัฒนาการของเมือง และการกระจายตัวของรูปแบบการใช้ประโยชน์ที่ดินตามทฤษฎีเมืองของภูมิศาสตร์
สิ่งที่ได้...ในส่วนนี้ผมนิยามให้บริเวณถนนคนเดินเชียงคาน เป็นตัวเมือง เนื่องจากเป็นย่านเศรษฐกิจที่สำคัญ และบริเวณรอบนอกถัดออกไป ความเป็นเมืองจะลดน้อยลง เพราะหากใช้นิยามนี้จะให้เหตุผลของความเป็นเมืองได้ดีที่สุด บริเวณถนนคนเดินผู้คนที่เป็นเจ้าของบ้านเรือนประกอบกิจกรรมเศรษฐกิจขั้น ตติยภูมิ คือการขายสินค้าและบริการ ซึ่งเราเรียกส่วนนี้ว่า CBD หรือ (Central business district ) คือย่านเศรษฐกิจนั่นเอง ถัดออกมาอีกนิดจะเป็นพื้นที่ที่ใช้อยู่อาศัย เป็นจำพวกโรงแรม บ้านพักซึ่งเป็นบ้านของคนในพื้นที่เองที่เปิดให้นักทิองเที่ยวพัก กับอีกส่วนหนึ่งที่เปิดเป็นบ้านพักโดยเฉพาะ
นอกจากนั้นยังพบรูปแบบการใช้ที่ดินมากมาย ทั้งสำนักงาน คือโรงเรียน วัด โรงพยาบาล ที่ว่าการอำเภอ สถานีตำรวจ บ่งชี้ว่าตัวเมืองเชียงคานเป็นเมืองที่มีระบบต่างๆ อย่างครบถ้วนและสะดวกสบาย
นอกจากนี้จากการได้สอบถามผู้รู้ในพื้นที่ ทำให้ทราบว่า อาชีพดั่งเดิมของคนเชียงคานคือ กิจกรรมเศรษฐกิจขั้นปฐมภูมิ คือการทำการเกษตรเป็นส่วนใหญ่ และยังคงทำอยู่ นั่นหมายความว่าชาวเมืองไม่ได้ละทิ้งอาชีพดั่งเดิมไปตามกระแส แต่ปรับเปลี่ยนจากการทำการเกษตรอย่างเดียวมาทำอาชีพค้าขายและบริการอีกด้วย
บริเวณพื้นที่สีเเดง เป็นถนนคนเดินจะเป็นกิจกรรมทางเศรษฐกิจเเบบตติยภูมิ คือค้าขายเเละบริการมา ถัดมาจากนั้นในเเต่ละซอยจะเป็นที่พักอาศัย ทั้งที่พักของคนในพื้นที่เเละบ้านพักสำหรับนักท่องเที่ยว เเละถัดออกมาอีกจะเป็นการใช้ที่ดินจำพวก สำนักงานค่อนข้างมาก
4. รูปเบบเศรษฐกิจของผู้คนมีอะไรบ้าง
สิ่งที่ได้...มี 3 แบบคือ กิจกรรมเศรษฐกิจขั้นปฐมภูมิ(เกษตร,ประมง) ,ทุติยภูมิ(การแปรรูปสินค้า), ตติยภูมิ (ค้าขายและการบริการ)
5. ศึกษาตามทฤษฎีวิวัฒนาการของแหล่งท่องเที่ยว โดยใช้เมืองเชียงคาน
สิ่งที่ได้...ตามทฤษฎีการพัฒนาการเเหล่งท่องเที่ยวของ Butler กล่าวถึงการเปลี่ยนแปลงของสถานที่จากขั้นเริ่มแรกหรือสำรวจหรือบุกเบิก ไปจนถึงขั้นที่เสื่อมโทรมหรือจะฟื้นฟูบูรณะใหม่ จากการพิจารณาโดยตัวผมเองจะจัดให้เมืองเชียงคานอยู่ในขั้นอิ่มตัว เพราะมีการบริการและการอำนวยความสะดวกให้กับนักท่องเที่ยวอย่างเต็มที่ และปัจจัยอีกอย่างคือพื้นที่ค่อนข้างจะมีชื่อเสียง เมื่อผมบอกคนใกล้ตัว หรือเพื่อๆว่าจะไปเชียงคาน ทุกคนต่างบอกเป็นเสียงเดียวกันว่าอยากไป ซึ่งหมายความว่าทุกคนรู้จักชื่อเสียงของที่นี่ หรืออีกอย่างคือเชียงคานเป็นสถานที่ที่เป็นที่รู้จักของคนทั่วไป
ภาพจาก https://www.researchgate.net/figure/The-Tourism-Area-Life-Cycle-The-succeeding-development-stage-is-characterized-by-clearly_fig1_226859932 เเสดงถึงการเป็นเเหล่งท่องเที่ยว ซึ่งเชียงคานน่าจะอยู่ขั้น Stagnation หรือขั้นที่มีความอิ่มตัว
6. ศึกษาผลกระทบของการท่องเที่ยวต่อรูปแบบการดำเนินชีวิตของชาวบ้าน
สิ่งที่ได้...ผลกระทบของการท่องเที่ยวมีต่อผู้คนในพื้นที่แน่นอน ตัวอย่างเช่น ผมเดินเข้าไปในซอย19 มีคุณยายท่านหนึ่งถามผมว่า ต้องการที่พักหรือเปล่า บ้านยายเหลือห้องให้พักอีกหนึ่งห้อง และจากการสำรวจทุกซอยบริเวณถนนคนเดิน พบว่า ผู้คนที่มีที่อยู่อาศัยที่ถัดไปจากตัวถนน ที่เป็นย่านเศรษฐกิจ ก็เปิดบ้านของตนเองให้เป็นที่พักอาศัย ตอบโจทย์ให้กับนักท่องเที่ยว ในขณะนี้สรุปประเด็นการเปลี่ยนแปลงได้ดังนี้
1. การเปลี่ยนแปลงอาชีพดั่งเดิม
2. การเปลี่ยนวัตถุประสงค์ของที่พักอาศัย
3. ความสัมพันธ์ระหว่างคนในพื้นที่เปลี่ยนแปลง
7. ความหลากหลายทางเชื้อชาติเป็นอย่างไร
สิ่งที่ได้...ในเรื่องของความหลากหลายทางเชื้อชาติที่พบเห็นและสังเกตบวกกับสอบถามผู้รู้ทำให้ทราบว่า มีความหลากหลายทางเชื้อชาติน้อย คือเป็นกลุ่มมองโกลอยด์กับคอเคซอยด์เท่านั้น แต่มีความหลากหลายทางชาติพันธ์มากกว่า คือ เป็นชาวพื้นเมือง และผู้ที่อพยพเข้ามาเนื่องจากมีปัจจัยดึงดูด เช่น ชาวจีน ชาวลาว และไทยในภาคกลาง
ในส่วนต่อมาเป็นคำถามเกี่ยวกำเเม่น้ำโขง
1.ศึกษารูปแบบของแม่น้ำหรือศึกษาพื้นที่ทางกายภาพ
สิ่งที่ได้...จากการสังเกตพบว่า บริเวณฝั่งแม่น้ำโขงของฝั่งไทย กับฝั่งลาวจะไม่เหมือนกัน แน่นอนหากมองตามแผนที่จะพบทั่งฝั่งที่ถูกกัดเซาะกับฝั่งที่ถูกทับถม บริเวณฝั่งลาวเป็นบริเวณที่ถูกทับถมเพราะมีหาดทรายเกิดขึ้น ฝั่งไทยเป็นฝั่งที่ถูกกัดเซาะ ด้วยเหตุนี้ที่ไทยจึงมีมาตรการป้องกันการกัดเซาะให้เห็น ทั้งการนำหินขนาดใหญ่มาขวางกั้นกระแสน้ำ ทำให้การกัดเซาะทำได้ช้าลง นอกจากนี้หากอ้างตามทิศเหนือแม่เหล็กพบว่า แม่น้ำไหลขึ้นไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ซึ่งหลายๆคนอาจเข้าใจว่าน้ำในแม่น้ำต้องไหลไปทางทิศใต้อย่างเดียว ซึ่งความจริงไม่ใช่ เพราะน้ำจะไหลไปทางที่ต่ำกว่า หรือไม่มีอุปสรรคขวางกั้นอย่าง ภูเขาสูงเป็นต้น
บริเวณสีเเดง(ฝั่งไทย) เป็นพื้นที่ถูกกำัดเซาะ บริเวณสีน้ำเงิน(ฝั่งลาว) เป็นพื้นที่ถูกกัดเซาะ
เเต่ถึงอย่างไร ผมไม่ได้กล่างถึงว่าบิเวณฝั่งใดฝั่งหนึ่งจะเป็นเเบบนั้นตลอด การทับถมเเละกัดเซาะเกิดสลับกันไปตามลักษณะภูมิประเทศ เพียงเเต่ผมนำเสนอเฉพาะส่วนที่ได้ไปเก็บข้อมูลมาเท่านั้น
บริเวณตลิ่งฝั่งไทยมีการถมก้อนหินขนาดใหญ่
ฝั่งลาวพบหาดทรายปรากฏขึ้นเล็กน้อย
ถึงอย่างไรบริเวณที่เก็บข้อมูลมายังไม่เห็นรายละเอียดที่เเตกต่างกันมากนัก เพราะจากเเผนที่เเล้ว เเม่น้ำค่อนข้างตรงในช่วงนี้ ทำให้รูปเเบบการกัดเซาะเเละทับถมยังไม่ชัดเจน
บริเวณลูกศรสีเเดงเเสดงถึงน้ำที่ไหลไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ
2. ศึกษาบริเวณที่ตั้งของเมืองกับความสัมพันธ์ระหว่างเมืองกับแม่น้ำในรูปแบบที่สามารถสังเกตเห็นได้
สิ่งที่ได้...หากดูในแผนที่จะทราบว่า การวางตัวของเมืองนั้นมีความสัมพันธ์กับแม่น้ำ แต่จะไม่เหมือนกับในพื้นที่ลุ่มน้ำภาคกลาง ตรงที่ไม่พบเรือนแพหรือ บ้านที่อยู่ชิดติดแม่น้ำจนเกินไป อาจด้วยเหตุที่สามารถสังเกตได้คือ อย่างแรก บริเวณริมตลิ่งมีความชันค่อนข้างมาก ประกอบกับเวลาน้ำขึ้นและลดลงระดับน้ำจะต่างกันมาก ซึ่งอาจเป็นปัจจัยที่ทำให้หมู่บ้านของชาวเชียงคาน อยู่ถัดจากริมตลิ่งมากกว่าในภาคกลาง
ในยามเช้าถึงสายบริเวณถนนคนเดินเชียงคานก็เหมือนหมูบ้านอันเเสน
อบอุ่นเเบบปกติทั่วไป เเต่เมื่อถึงยามค่ำที่นี่ก็จะเปลี่ยนไปคึกคัก คราคร่ำไปด้วยผู้คน ที่ส่วนใหญ่เป็นนักท่องเที่ยว
เชียงคานในยามเช้า
วัดศรีคุนเมือง
เชียงคานในยามค่ำคืน
ข้อเเนะนำนะครับ ก่อนจะวื้ออะไรต้องถามราคาก่อนเสมอ ไม่เช่นนั้นราคาอาจไม่เป็นที่พึงพอใจนัก ราคาเจ็บปวดมาก(สำหรับนักเดินทาง งบจำกัด)
ที่เเคปซูล โฮสเทล
หลังจากเดินสำรวจถนนคนเดินตอนกลางคืนเเล้วก็เข้าที่พัก สรุปค่าเสียหายทั้งหมด เเละวางเเผนวันพรุ่งนี้ต่อ รับรองสนุกมาก
#สาธารณศึกษา #FeelTrip
#เรียนรู้อะไรก็ได้ #เรียนรู้ที่ไหนก็ได้
1 บันทึก
20
6
4
1
20
6
4
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย