Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
Mr. Shrimp
•
ติดตาม
14 พ.ย. 2019 เวลา 09:58 • ข่าว
การคัดเลือกสายพันธุ์กุ้งขาวแวนนาไม: สิ่งที่เกิดขึ้นกับอุตสาหกรรมเพาเลี้ยงสัตว์น้ำและบทเรียนในอนาคต
Selective Breeding of Penaeus vannamei: Impact on World Aquaculture and Lessons for Future
เหล่าเกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้งทั้งหลายมีความต้องการที่จะให้กุ้งที่เลี้ยงนั้นโตเร็ว ทนต่อโรคและมีอัตราการรอดที่ดีเมื่อถึงเวลาจับขาย
กุ้งปลอดโรค SPF(Specific Pathogen Free)จึงได้ถือกำเนิดขึ้นเพื่อตอบสนองต่อแนวคิดนี้และเกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้งแถบเอเชียเป็นส่วนใหญ่ที่ใช้กุ้งปลอดเชื้อเหล่านี้
ด้วยสถานการณ์ด้านราคาที่ลดต่ำลงทำให้เกษตรกรยิ่งเผชิญแรงกดดันให้ต้องทำการเลี้ยงอย่างมีประสิทธิภาพเพื่อให้ยังมีกำไรอยู่
มันจึงเป็นโอกาสที่ดีที่จะปรับปรุงประสิทธภาพด้านเศรษฐกิจในการเลี้ยงกุ้งจึงได้มีการเลี้ยงพ่อแม่พันธุ์กุ้งโดยการคัดเลือกสายพันธุ์ขึ้น โดยมี 3 ลักษณะการ
1.SPF model แนวทางพ่อ-แม่พันธุ์กุ้งขาวปลอดเชื้อ ซึ่งตลาดส่วนใหญ่อยู่ในเอเชีย เป็นการคัดสายพันธุ์ที่โตเร็ว มีการพัฒนาการโตเพิ่มขึ้น 10% ในแต่ละรุ่น ADG 0.3 กรัมต่อวัน ที่ปริมาณความหนาแน่นมากกว่า 100 ตัวต่อตารางเมตร และจับได้ขนาด 20 กรัม (50 ตัว/กกใ) ในเวลาไม่เกิน 100 วัน และอินเดียเป็นหนึ่งในประเทศที่ได้ประโยชน์จากโปรแกรมนี้ (คาดการณ์ว่าจะผลิตได้ 600,000 ตันในปี 2018******ความเห็นผู้แปล)
2.Ecuador model แนวทางพ่อ-แม่พันธุ์ที่ทนต่อโรค หลังจากที่ในปี 1999 เอกวาดอร์ประสบปัญหากับโรคตัวแดงดวงขาว WSSV อย่างหนัก ทางผู้ปรับปรุงสายพันธุ์ก็เริ่มเก็บรวบรวมกุ้งที่เหลือรอดจากการเป็นโรคตัวแดงจากบ่อที่เป็นโรคมาทำพ่อ-แม่พันธุ์ และพัฒนามาเรื่อยๆโดยเน้นเรื่องการทนทานต่อโรค ไม่ได้สนใจเรื่องการโต และกุ้งในบ่อเลี้ยงก็มีอัตราการรอดสูงขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งไม่เพียงแก้ปัญหาเรื่องโรคตัวแดงดวงขาวเท่านั้นยังทำให้อุตสาหกรรมการเลี้ยงกุ้งของเอกวาดอร์สามารถผลิตกุ้งได้ 500,000 ตันในปร 2018 (และคาดการณ์ว่าจะผลิตได้ 680,000 ตันในปี 2019******ความเห็นผู้แปล)
3.SPF/SPT model เป็นแนวทางที่เอาโมเดลแรกผสมกับโมเดลที่สอง เพื่อเอาข้อดีทั้งสองแบบมารวมกัน ซึ่งน่าจะเป็นแนวทางในการพฒนาพ่อ-แม่พันธุ์กุ้งขาวในอนาคต
สำหรับในแบบที่สามนั้น ดูได้จากกราฟ รูปด้านล่างที่ซาอุฯ หลังจากเจอWSSV มาแล้วใช้พ่อแม่พันธุ์ SPF/SPT จะเห็นได้ว่าผลผลิตต่อปีนั้นเพิ่มขึ้นมาตลอด
Cr:
https://www.linkedin.com/posts/jwyban_selective-breeding-shrimp-activity-6599781186887913472-558J
3 บันทึก
5
10
1
3
5
10
1
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย