Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
แม่เฒ่ากิมฮวย
•
ติดตาม
15 พ.ย. 2019 เวลา 01:44 • วิทยาศาสตร์ & เทคโนโลยี
🍂 ฤาจะเป็นเพียงเรื่องเล่าขาน : นิทานหิ่งห้อย
มนุษย์รู้จักหิ่งห้อยมากว่า 2,000 ปี แล้ว ในอดีตชาวทั้งชาวจีนโบราณ และชาวบราซิลจะการจับหิ่งห้อยมาใส่ในขวดแก้ว เพื่อใช้แทนตะเกียงส่องสว่าง...
รู้หรือไม่...
🔸️หิ่งห้อยตัวผู้บินได้ /ตัวเมียไม่มีปีก&บินไม่ได้?!
🔹️หิ่งห้อยตัวเต็มวัยจะไม่กินอะไรเลยนอกจากน้ำค้าง
picture from ubonac.com
เมื่อคิดถึงวัยเด็ก... เราๆท่านๆคงยังจำแสงไฟ
กระพริบปริศนาดวงน้อยในยามค่ำคืนได้ มันช่างงดงามและอัศจรรย์ยิ่งนัก...ในแสงวาบสุขสว่างนั้นคือสัญญาณบอกรักจับคู่กัน ที่หิ่งห้อยตัวผู้ ที่มีปีกบินได้ส่งสัญญาณจีบตัวเมียที่ไม่สามารถบินได้ นางนั้นได้แต่เกาะอยู่บนต้นไม้ ใบไม้ ถ้านางพออกพอใจหรือ
โอเคร นางก็จะส่งแสงเรืองรองตอบรับรักกลับเพื่อให้ตัวผู้บินพุ่งเป้าไปหานางได้ในความมืด...แล้ว
ทั้งสองก็ครองคู่กัน... 😍♥️😂
แต่เหล่าสหายข้า ท่านทราบและสังเกตมั้ยว่า:
หิ่งห้อย แมลงตัวเล็กที่สามารถเปล่งแสงสีเหลืองวับวาวตอนกลางคืนกำลังลดจำนวนน้อยลงในธรรมชาติอย่างน่าตกใจ?!
หากยังพอจะจำกันได้ ในบ้านเราสมัยก่อนเมื่อประมาณ 20-30 ปีก่อน เราสามารถพบหิ่งห้อยที่ริมน้ำ ชายทุ่ง ป่าละเมาะได้ไม่ยาก แม้ในเขตเมืองก็ตาม
.
แต่ในตอนนี้การพบหิ่งห้อยในเขตเมืองใหญ่หรือแม้กระทั่งตามต่างอำเภอหรือต่างจังหวัด ก็เป็นเรื่องที่พบได้ยากมากขึ้น หรือบางทีแทบจะไม่เคยพบเลยในช่วงหลายปีที่ผ่านมา และมันไม่ได้เกิดขึ้นแค่ในประเทศไทยอย่างเดียว หากแต่เหตุการณ์นี้กำลังเกิดขึ้นทั่วโลก
1
ข้าเอง เมื่อยี่สิบปีก่อนช่วงปลายฝนต้นหนาว ก็เคยนั่งเรือแจวท่ามกลางความมืดออกไปชม หิ่งห้อย ที่คลองพร้าว เกาะช้าง จังหวัดตราด ซึ่งมีมากมาย ปานประหนึ่ง สายไฟกระพริบที่ติดล้อมประดับต้นคริสมาสต์ ดูไปบางทีก็คล้ายกับไฟดวงน้อยนิดเป็นพันเป็นหมื่นดวงที่ห้อยกระพริบระย้าเต็ม ต้นลำพู ช่างเป็นภาพแห่งความประทับใจไม่รู้ลืม...
picture from mthai
แม้กระทั่งแหล่งท่องเที่ยวชื่อดังของไทยอย่างตลาดน้ำอัมพวา จ.สมุทรสงคราม ก็มีทริปนั่งเรือชมหิ่งห้อยที่ต้นลำพูในยามพลบค่ำตามริมแม่น้ำ ซึ่งต่างก็บอกต่อๆ กันมาว่าเป็นทริปที่น่าประทับใจมากๆ ห้ามพลาดถ้ามาเที่ยวอัมพวา
.
เมื่อการท่องเที่ยวที่เรียกตัวเองว่า เชิงอนุรักษ์ หรือท่องเที่ยวเชิงนิเวศ แล้วแต่จะสรรหาชื่อเรียกให้ดูเข้ากับกระแสนิยม ได้ไหลหลั่งเข้ามายังตลาดน้ำอัมพวาอันแสนเงียบสงบเมื่อหลายสิบปีก่อน
.
วันนี้สถานที่เดิมแห่งนี้กลับเต็มไปด้วยกองทัพนักท่องเที่ยวมากมาย และจากความนิยมทริปนั่งเรือดูหิ่งห้อยจึงเกิดเรือหางยาวเพิ่มขึ้นจำนวนมาก เท่าที่เคยสืบถามคนในพื้นที่คาดว่าน่าจะมีมากกว่า 150 ลำ
.
ทำให้เกิดผลกระทบติดตามมามากมาย เช่น:
🔸️เกิดแรงคลื่นจากเรือยนต์กัดเซาะตลิ่งจนต้นลำพูตาย
🔸️ทั้งจากจำนวนนักท่องเที่ยวที่เพิ่มขึ้นมาก มลภาวะ
🔸️ควันพิษและเสียงเครื่องยนต์จากเรือ ก็ทำให้สิ่งแวดล้อมเริ่มเสื่อมโทรมลง
🔸️การขยายตัวของเมือง ที่ดินริมฝั่งน้ำ การตัดทำลายต้นลำพู เพื่อการก่อสร้างอาคารบ้านเรือน โรงแรม
🔸️การใช้สารเคมีกำจัดวัชพืช หรือยาฆ่าแมลง
ทั้งหมดทั้งปวงล้วนส่งผลกระทบต่อจำนวนปริมาณหิ่งห้อยด้วยกันทั้งสิ้น
📌 ที่น่าสนใจมากๆ คือ การวิจัยจากอาจารย์อัญชนา ท่านเจริญ อาจารย์ภาควิชากีฏวิทยา คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
.
ที่ได้นำหิ่งห้อยที่เพาะพันธุ์ขึ้นในห้องทดลองมาให้จับคู่ผสมพันธุ์กันในความสว่างระดับต่างๆ
📌พบว่ายิ่งมีแสงสว่างเพิ่มขึ้นตอนกลางคืนจะทำให้หิ่งห้อยจับคู่กันน้อยลงและใช้เวลาจับคู่นานมากขึ้น จากปกติ 30 นาที เป็น 5-7 ชั่วโมง!!!
นั่นคงพอคลายสงสัยได้ว่า แสงไฟในยามค่ำคืนที่ส่องสว่างในเขตเมืองยิ่งมีมากเท่าไหร่ จำนวนหิ่งห้อยยิ่งลดจำนวนลงเรื่อยๆ รวมไปถึงสถานที่ท่องเที่ยวอย่างอัมพวาเป็นต้น
.
หากไม่มีการดูแลจัดการให้ดี นักวิชาการหลายคนเชื่อว่าตำนานหิ่งห้อยตลาดน้ำแห่งนี้อาจจะหายไปในระยะเวลา 5-10 ปีต่อจากนี้
ปัญหาหิ่งห้อยไม่ได้มีแค่ในประเทศไทย เพราะที่ประเทศจีนเองก็มีการจับหิ่งห้อยเพื่อนำมาขายอีกด้วย...อะไรที่แปลกพิศดารพี่จีนเขาชอบ😑😂
📌 ที่จีนมีการซื้อขายหิ่งห้อยเพื่อใช้ไปประดับในงานรื่นเริงและงานเทศกาลต่างๆ เพื่อแสดงถึงความสุขและความฝัน ( ย้ำความสุขและความฝันเฉพาะกับมนุษย์ แต่น่าจะเป็นฝันร้ายสำหรับเจ้าหิ่งห้อย😭)
.
ซึ่งส่งผลทำให้ชาวบ้านตระเวนไปไล่จับหิ่งห้อยมาขาย จนเป็นเรื่องที่น่ากังวลว่า ถ้าเป็นแบบนี้ไปเรื่อยๆ หิ่งห้อยจะสูญพันธุ์ในอีกไม่ช้า😱😭
ดังนั้น เว็บไซต์
Taobao.com
เว็บไซต์ขายของออนไลน์ชื่อดังของจีนได้ออกมาประกาศแบน🚫การซื้อขายหิ่งห้อยในเว็บทั้งหมด
.
โดยที่ไม่สนใจที่มาของหิ่งห้อยว่าจับมาหรือเพาะพันธุ์ขึ้นเองเพื่อเป็นการปกป้องแมลงหายากชนิดนี้
📌 การที่หิ่งห้อยลดจำนวนลงกำลังเป็นสิ่งที่พบได้ทั่วโลก
.
นักวิทยาศาสตร์ประเมินว่าหิ่งห้อยกว่า 2000 ชนิดทั่วโลก(ในประเทศไทยเราคาดว่ามีหิ่งห้อยประมาณ 100 ชนิด) กำลังเสี่ยงต่อการสูญพันธุ์ ซึ่งปัญหาหลักมาจากสภาพแวดล้อมที่เสื่อมโทรมลงและการใช้ยาฆ่าแมลง (ทั้งหมดทั้งปวง...ก็มนุษย์เราอีกนั่นแหละ)
เกร็ดเล็กเกร็ดน้อยเกี่ยวกับหิ่งห้อย
youtube.com
Motion วงจรชีวิตหิ่งห้อย
แมลงตัวน้อยที่เคยเปล่งแสงสีเหลืองแวววับ
แต่วันนี้อาจจะกลายเป็นตำนานเรื่องเล่าขานให้ลูกหลานฟังในวันข้างหน้า...😑😑
ที่มา :
https://mgronline.com/live/detail/9510000098917
.
https://www.ryt9.com/s/prg/975531
.
https://th.m.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%AB%E0%B8%B4%E0%B9%88%E0%B8%87%E0%B8%AB%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%A2
.
https://www.firefly.org/why-are-fireflies-disappearing.html
ฝากบทเพลงที่เกี่ยวกับหิ่งห้อยให้ระลึกถึง ♥️
youtube.com
นิทานหิ่งห้อย - เฉลียง [Audio]
เพลงหิ่งห้อยในฝั่งจีน...
Cr. จากผู้อ่าน
youtube.com
Chong er fei - fireflies (with translation)
Hope u all gonna like this Chinese song ^^
📌 ฝาก แชร์ ให้เด็กๆสหายรุ่นเยาว์ได้อ่านกัน...
ได้ช่วยกันเป็นแสงแห่งความหวังให้กับหิ่งห้อย♥️😊
#แม่เฒ่ากิมฮวย🌼🌼🌼
2 บันทึก
120
129
8
2
120
129
8
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย