17 พ.ย. 2019 เวลา 03:10 • วิทยาศาสตร์ & เทคโนโลยี
ประวัติดาวพลูโต : ดาวเคราะห์แคระที่มีหิมะมีเทนปกคลุม
1. ในปี ค.ศ. 1930 Clyde Tombaugh นักดาราศาสตร์ชาวอเมริกันค้นพบวัตถุที่อยู่ห่างจากดวงอาทิตย์ยิ่งกว่าดาวเนปจูน ในตอนนั้นนักดาราศาสตร์เชื่อว่ามันเป็นดาวเคราะห์
 
2.เวเนเชีย เบอร์นีย์ (Venetia Burney) เด็กหญิงชาวอังกฤษวัย 11 ปี เสนอให้ตั้งชื่อมันว่า ดาวพลูโต ตามชื่อเทพเจ้าแห่งยมโลก
3. ระยะห่างจากดวงอาทิตย์มหาศาลทำให้ตอนนั้นนักดาราศาสตร์รู้อะไรเกี่ยวกับมันน้อยมาก
4. ต่อมาในปี ค.ศ. 1978 James Christy นักดาราศาสตร์ชาวอเมริกันค้นพบดวงจันทร์ที่โคจรรอบดาวพลูโต มันถูกตั้งชื่อว่า แครอน (Charon) ซึ่งเป็นชื่อของผู้พายเรือนำวิญญาณเข้าสู่ยมโลก
5. การค้นพบนี้สำคัญมากเพราะมันช่วยให้นักดาราศาสตร์คำนวณหามวลของดาวพลูโตได้ ผลการคำนวณพบว่ามันมีมวลน้อยมาก
6. ดาวพลูโตมีมวลเพียง 0.04 เท่าของดาวพุธ
ถ้าเทียบกับดวงจันทร์ของโลกเรามันมีมวลเพียง 0. 178 เท่าของมวลดวงจันทร์เท่านั้น
7.แครอนใช้เวลาโคจรรอบดาวพลูโตเพียง 6.4 วันก็ครบรอบ ด้วยระยะห่างจากดาวพลูโตเพียง 19,600 กิโลเมตร ซึ่งระยะห่างนี้เล็กมากๆ
8. ที่น่าแปลกไปกว่านั้นคือ ดวงจันทร์แครอนนั้นใหญ่เกินกว่าครึ่งของดาวพลูโต ซึ่งนับว่าประหลาดมากเพราะดวงจันทร์ของดาวเคราะห์โดยทั่วไปจะเล็กกว่าดาวเคราะห์มาก (ดวงจันทร์ของโลกมีขนาดเป็น 1/3 เท่าของโลก)
 
9. กล่าวได้ว่าดาวพลูโตมีความแปลกกว่าดาวเคราะห์อื่นๆในหลายแง่
10. นอกจากนี้ มันยังมีวงโคจรที่ตัดกับวงโคจรของดาวเนปจูน
11. ดาวพลูโตมีระนาบวงโคจรที่เอียงราว 17 องศา เมื่อเทียบกับระนาบโคจรของดาวเคราะห์อื่นๆ ซึ่งนับว่าเอียงมาก
12. ในเวลาต่อมา นักดาราศาสตร์พบวัตถุกว่าร้อยวัตถุโคจรรอบดวงอาทิตย์ในระยะห่างกว่าดาวเนปจูนออกไป และมีวงโคจรใกล้เคียงกับวงโคจรของดาวพลูโต
13. นักดาราศาสตร์จึงนึกถึงดาวเคราะห์น้อยเซเรสที่โคจรอยู่ระหว่างดาวอังคารกับดาวพฤหัสฯ ซึ่งครั้งหนึ่ง พวกเขาเคยเชื่อว่าเซเรสเป็นดาวเคราะห์
14. ในปี ค.ศ. 2006 International Astronomical Union (IAU) สมาพันธ์ดาราศาสตร์สากลกำหนดนิยามดาวเคราะห์ใหม่ ส่งผลให้ดาวพลูโตถูกนิยามใหม่เป็นดาวเคราะห์แคระ ซึ่งโคจรอยู่ในแถบไคเปอร์
15. แถบไคเปอร์เป็นแถบวัตถุที่กระจายอยู่ห่างจากดาวเนปจูนออกไป ดาวเนปจูนอยู่ห่างจากดาวอาทิตย์ราว 30 AU - 55 AU ดาวหางคาบสั้นกว่า 200 ปีมีต้นกำเนิดมาจากที่นี่
16. เดิมทีนักดาราศาสตร์เชื่อกันว่าพลูโตอาจเป็นดาวจันทร์ของดาวเนปจูนที่ กระเด็น ออกไป แต่เนื่องจากคาบการโคจรของมันมีความสัมพันธ์กับดาวเนปจูน ทำให้นักดาราศาสตร์เชื่อว่ามันน่าจะถูกแรงโน้มถ่วงของดาวเนปจูน จับ ให้โคจรไว้อย่างทุกวันนี้มากกว่า
17. คาบการโคจรที่สัมพันธ์กันเรียกว่า Orbital resonance
ทุกๆครั้งที่ดาวพลูโตโคจรไปได้ 2 รอบ ดาวเนปจูนจะโคจรได้ 3 รอบ วัตถุในแถบไคเปอร์ที่มีการโคจรสอดคล้องกับดาวเนปจูนในลักษณะนี้เรียกว่า Plutino
1
18. ยานอวกาศ นิวฮอไรซัน เดินทางจากโลกไปสำรวจดาวพลูโต เก็บข้อมูลและภาพถ่ายได้มากมาย และค้นพบว่าหิมะที่ปกคลุมดาวพลูโตอยู่ มีองค์ประกอบเป็นมีเทน
โฆษณา