Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
Mr. Shrimp
•
ติดตาม
17 พ.ย. 2019 เวลา 05:11 • การศึกษา
แอมโมเนีย(NH3)และแอมโมเนียม(NH4+)
What's different between NH3 and NH4+
แอมโมเนียคืออะไร วัดยังไง ได้ผลมาแล้วใช้งานได้เลย หรือยังต้องวัดค่าน้ำอื่นๆอีก🤔🤔🤔🦐🦐🦐🦐
ในบ่อเลี้ยงกุ้งนั้นมีหลายสิ่งหลายอย่างที่สามารถเป็นสาเหตุที่ทำให้กุ้งเสียหายได้และแอมโมเนียก็เป็นหนึ่งในนั้น
แอมโมเนียเป็นสารทีแขวนลอยอยู่ในน้ำทีมีไนโตรเจนเป็นองค์ประกอบ
แอมโมเนียมาจากไหน
แอมโมเนียมาจากของเสียในตัวกุ้งที่ขับออกมาในกระบวนสุดท้ายของการเผาผลาญอาหาร(metabolism) และยังมาจากกระบวนการที่ย่อยเศษซากของเสียต่างๆรวมทั้งเศษอาหารที่เราให้แล้วเหลือจากกุ้งกิน
ในกระบวนการย่อยนั้นถ้าเรามีสภาพในบ่อที่เหมาะสมทั้งออกซิเจน คาร์บอนที่มาจากคาร์โบไฮเดรทและจุลินทรีย์
แอมโมเนียที่เกิดขึ้นก็จะถูกเปลี่ยนต่อโดยจุลินทรีย์กลุ่มไนโตรแบคเตอร์ ในขบวนการไนตริฟิเคชั่นซึ่งจะได้เป็นไนเตรท(NO3=)
ไนเตรทก็จะเป็นอาหารของสาหร่ายและแพลงค์ตอนพืชใช้เป็นอาหารในการสังเคราะห์แสง ตามวัฏจักรวนไปเรื่อยๆ
แต่เมื่อกระบวนการไม่สมบูรณ์ทำให้การย่อยสลายไม่ครบกระบวนการจึงทำให้แอมโมเนียค้างอยู่ในระบบ ยิ่งpH สูง อุณหภูมิสูง ความเป็นพิษของแอมโมเนียก็ยิ่งสูงตามไปด้วย ดูได้จากตารางด้านล่าง
2
ตารางอ่านค่าแอมโมเนียที่เป็นพิษในช่วงของpH และอุณหภูมิที่แตกต่างกันตากค่าที่วัดได้
เมื่อค่าแอมโมเนียสูง มันจะไปสร้างความเครียดให้กับกุ้งหรือสัตว์น้ำต่างๆ ทำให้มันอ่อนแอลงจนติดเชื้อเป็นโรคและตาย
ดังนั้นเราจึงจำเป็นที่จำต้องวัดค่าแอมโมเนียในน้ำเพื่อจะได้ทราบว่ามันอยู่ในจุดที่เป็นอันตรายต่อสัตว์น้ำของเราหรือไม่ แต่ในการวัดนั้นเราไม่ได้วัดตัวของแอมโมเนียโดยตรง ที่เราวัดได้นั้นจะวัดได้ค่าแอมโมเนียมอิออน pHและอุณหภูมิแล้วเอามาเทียบค่าจากตารางว่ามีแอมโมเนียอยู่ที่ระดับเท่าไร
แอมโมเนียมคือค่ารวมของแอมโมเนียหรือ Total Ammonia หรือ Ammonium Ion ตัวของมันเองไม่ได้มีพิษต่อสัตว์น้ำ แต่ถ้าในน้ำมีแอมโมเนียมสูง นั่นก็หมายถึงมีแอมโมเนียสูงด้วยเช่นกัน เมื่อแอมโมเนียสูงก็ย่อมเป็นอันตรายต่อกุ้ง
ปริมาณแอมโมเนียที่ 0.05 มล/ลิตร ก็จะมีผลต่อการเจริญเติบโตของกุ้ง ต่ออัตราการแลกเนื้อ FCR และสร้างความเครียดที่อาจจะนำไปสู่การเกิดโรคได้
ในปัจจุบันการวัดปริมาณแอมโมเนียในน้ำนั้นเราใช้วิธีการหยดทดสอบแล้วอ่านค่าสี ซึ่งด้วยวิธีการนี้อาจจะสร้างความผิดพลาดในการอ่านค่าได้ง่าย แต่เป็นวิธีการที่สะดวกที่สุด เพราะการอ่านค่าสีที่เกิดขึ้นนั้นค่าจากสายตาแต่ละคนที่อ่านเปรียบเทียบนั้น แม้จะจากคนเดียวกันก็ยังผิดพลาดได้ ยิ่งการวัดค่า pH เเบบหยดทดสอบด้วย ก็ยิ่งเพิ่มค่าความผิดพลาดมากยิ่งขึ้น
ที่น่าตลก🤣🤣🤣 คือเคยเอาpH pen ไปวัดให้ผู้เลี้ยงกุ้งดู เพื่อเปรียบเทียบ ปรากฏว่าคนเลี้ยงบอกใช้ไม่ได้ ค่าเพี้ยน เพราะออกมาไม่ตรงกับtest kit แบบหยดที่ใช้อยู่😀😀
ดังนั้นเกษตรกรควรที่จะระมัดระวังในการอ่านค่าและผลที่ได้เพื่อความถูกต้องของข้อมูลในการแก้ปัญหาแอมโมเนียในบ่อเลี้ยงสัตว์น้ำต่อไป
หรือในอนาคตอาจจะมี start up ที่ใช้ application บนมือถือหรือสมาร์ทโฟนอ่านค่าสีที่ได้เปรียบเทียบกับค่ามาตรฐานในโปรแกรมเพื่อความถูกต้องแม่นยำก็เป็นได้
ชอบ ช่วยกดไลค์👍👍
ถูกใจ ช่วยกดแชร์
และอย่าลืมกด "ติดตาม" เพจเพื่อจะได้ไม่พลาดข่าวสารที่น่าสนใจ
🦐🦐🦐🐚🐚🐚🦀🦀🦀🐟🐟🐟🐟🦑🦑🦑🐙🐙🐙
ขอบคุณทุกไลค์ ทุกแชร์ และทุกติดตามเพจ ที่เข้ามาให้กำลังใจครับ🙏🙏🙏
12 บันทึก
21
5
15
12
21
5
15
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย