20 พ.ย. 2019 เวลา 17:01 • วิทยาศาสตร์ & เทคโนโลยี
1 ปีทางช้างเผือก นั้นจะพาเราย้อนกลับไปถึงยุคไหนกัน? 😊
ปีทางช้างเผือกหรือปีดาราจักร (Galactic year) คืออะไรยาวนานแค่ไหน เรามาทำความรู้จักกัน
เครดิตภาพ: alex-mit/iStock
วันนี้ขอพาท่องออกไปนอกโลกกันอีกครั้ง โดยคราวนี้ไปทัวร์กันทั้งระบบสุริยะเลย 😉
ในระบบสุริยะจักรวาลของเราทุกสิ่งโคจรรอบดวงอาทิตย์ แต่ดวงอาทิตย์นั้นก็ไม่ได้หยุดอยู่นิ่ง ดวงอาทิตย์เองก็โคจรรอบหลุมดำมวลมหึมาใจกลางๆเผือกที่เรียกว่า Galactic Center
เครดิตภาพ: Wikipedia
ดวงอาทิตย์ของเรานั้นก็เหมือนกับดาวหางที่โคจรรอบจุดศูนย์กลางกาแล็กซี่ ซึ่งลากเอาดาวเคราะห์บริวารของแก๊งสุริยะไปกับมันด้วย
วงโคจรของระบบสุริยะรอบศูนย์กลางกาแลคซี่ทางช้างเผือก มีระยะห่างจากศูนย์กลางกาแลคซี่ประมาณ 20,000 ปีแสง (1 ปีแสงมีระยะทางประมาณ 9.4607 ล้านล้านกิโลเมตร), เครดิตภาพ: Wikipedia, NASA
1 ปีบนโลกก็คือระยะเวลาที่โลกโคจรรอบดวงอาทิตย์ แต่ 1 ปีของดาวเคราะห์อื่น ๆ ไม่เท่ากับโลกเช่น
-สั้นที่สุด: 1 ปี ของดาวพุธเท่ากับ 88 วันบนโลก
-นานที่สุด: 1 ปี ของดาวเนปจูนเท่ากับ 164.8 ปีบนโลก
ดังนั้น 1 ปีทางช้างเผือก (Galactic year) ก็คือเวลาที่พระอาทิตย์เราใช้ในการโคจรรอบศูนย์กลางกาแลคซี่ทางช้างเผือกนั่นเอง ซึ่งรอบหนึ่งใช้เวลาประมาณ 225-250 ล้านปี
ระบบสุริยะของเรานั้นเคลื่อนที่เป็นรูปเกลียวแหวกว่ายอยู่ในมหาสมุทรที่เรียกว่า Galactic Plane ซึ่งเป็นแผ่นจานของดวงดาวนับแสนล้านดวงในกาแลคซี่ทางช้างเผือกของเรา
ดวงอาทิตย์ โลก ดวงจันทร์และดาวเคราะห์ในระบบสุริยะ เคลื่อนที่วนรอบกาแลคซี่ด้วยความเร็วเกือบ 800,000 กิโลเมตรต่อชั่วโมง แต่เร็วขนาดนี้ก็ต้องใช้เวลานับโกฎิปีกว่าจะวนครบรอบ 😱😅
ด้วยระนาบการโครจรของดาวเคราะห์ในระบบสุริยะที่ทำมุมเกือบตั้งฉากกับ Galactic Plane จึงทำให้ภาพทางช้างเผือกที่ได้จึงมักจะเกือบตั้งฉากกับพื้นดิน, เครดิตภาพ: National Geographic
และทุก ๆ 26,000 ปี ระบบสุริยะเราก็จะแหวกว่ายผ่านทะลุ Galactic Plane ซึ่งเป็นบริเวณที่มีวัตถุลอยล่องระหว่างดาว (Interstellar object) หนาแน่นที่สุด
ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่โลกเรามีความเสี่ยงในการเจอกับผู้มาเยือนจากนอกโลกลูกใหญ่ ๆ นั่นเอง
ดังนั้นแม้ว่าเรานั่งนิ่งอยู่บนโลก แม้พระอาทิตย์จะอยู่เป็นศูนย์กลางของระบบสุริยะ แต่ทั้งหมดทั้งมวลนี้ไม่มีสิ่งใดหยุดนิ่งเลย 😔
ภาพกราฟฟิคจำลองให้เห็นเส้นทางการเคลื่อนที่ของระบบสุริยะรอบกาแลคซี่เรา
** แล้ว 1 ปีทางช้างเผือก นั้นย้อนกลับไปถึงยุคไหนกัน? **
เครดิตภาพ: Marcia Wendorf
คำตอบคือ ช่วงต้นของยุคจูราสสิคที่ไดโนเสาร์เริ่มครองพื้นพิภพ
เครดิตภาพ: Marcia Wendorf
74 ล้านปีก่อน แรพเตอร์ปรากฎตัวครั้งแรกบนโลก
จริง ๆ อยากใส่รูปประกอบเพิ่มแต่ "ไม่เอานะ เกรงใจ ไม่ดีหรอก เกรงใจ" 😁
เครดิตภาพ: Marcia Wendorf
และเมื่อวนจนเกือบครบรอบเมื่อ 66 ล้านปีก่อนอุกาบาตยักษ์ก็ได้มาชนโลกจนทำให้ไดโนเสาร์สูญพันธุ์
ก่อนจะมาถึงยุคของเราในวันนี้
และนี่ก็คือคร่าว ๆ ของ 1 ปีทางช้างเผือกที่ผ่านมา
ซึ่งนับตั้งแต่ระบบสุริยะถือกำเนิดขึ้นมาดวงอาทิตย์และสมาชิกของระบบสุริยะก็ได้โคจรรอบศูนย์กลางกาแล็กซี่มาแล้วกว่า 18 รอบและก็ยังคงเดินทางต่อไป ตราบจนวาระสุดท้ายของมัน 😉
จักรวาลนั้นช่างกว้างใหญ่เหลือคณา อันมนุษย์ผู้ยิ่งใหญ่คั่งคับฟ้าก็เป็นได้แค่ธุลีอวกาศ . . . . 😔
เครดิตภาพอื่น ๆ : แคปจากวีดีโอในโพสด้านบน

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา