17 พ.ย. 2019 เวลา 10:30 • ประวัติศาสตร์
- WWI watches - Trench Watches ตอน #2
ในสงครามโลกครั้งที่ 1 นั้นการต่อสู้ในสนามเพาะ (trench) เป็นสิ่งที่สำคัญมากของกองทัพหน้า ทหารจะต้องอาศัยอยู่ในหลุมสนามเพาะเป็นเดือนๆภายใต้ความหนาวเย็น ความชื้น ความเฉอะแฉะของดินโคลน จึงเป็นที่มาของสเป็คนาฬิกาที่จะต้องกันน้ำและความเปียกชื้นใด้
กันกระแทกกับสภาพสนามเมื่อตอนที่ขึ้นลงหลุมเพื่อไม่ให้กระจกแตกง่าย
และสามารถมองเห็นเวลาใด้ในเวลากลางคืนที่มืดมิดโดยไม่ต้องใช้ตะเกียงไฟส่อง
สนามเพาะ
- เคสกันน้ำ -
เคสนาฬิกากันน้ำในสมัยนั้นยังไม่เป็นที่นิยม เพราะราคาที่สูงเกือบเท่าตัวนาฬิกาเลยทีเดียว ซึ่งในสมัยนั้นก็ไม่มีให้เลือกหลายแบบนัก เคสที่เห็นบ่อยคือแบบ Borgel ที่มีผาหน้ากับฝาหลังขันสกรูลงบนเคสตัวเครื่องนาฬิกาแทนที่จะเป็นฝาเปิดปิดแบบธรรมดา ทำให้ช่วยเรื่องกันน้ำใด้เป็นอย่างดี (ในสมัยนั้น)
François Borgel ผู้ผลิตและออกแบบเรือนนาฬิกาชาวเจนีวา (สวิสเซอร์แลนด์) ได้ยื่นจดสิทธิบัตรสองใบในปี 1891 - 1903 ตามลำดับ ที่แตกต่างกันเล็กน้อยที่ชิ้นส่วนเกลียว มันประกอบด้วยวงแหวนเกลียวที่จะหมุนไปรอบ ๆเรือนจักร (movement) มีกรอบเกลียวประกบเคสด้านหน้าและหลัง ทำให้เกิดการปิดผนึกที่ยอดเยี่ยมโดยไม่ต้องใช้ฝาครอบเปิดปิดภายนอกแบบเก่า เคส Borgel เลยกลายเป็นมาตรฐานของนาฬิกาทหารในยุคนั้น
เคสนาฬิกากันน้ำ
- Unbreakable glass -
กระจกนาฬิกาที่ทำจากแก้วเป็นสิ่งที่เปราะบางมากโดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าใช้ในเวลาสงคราม ตั้งแต่ก่อนจะเริ่มสงครามโลกครั้งที่ 1 เริ่มมีการใช้เกราะเพื่อป้องกันนาฬิกากระแทกแบบเป็นหนัง สวมครอบไป ในเวลานี้มีการออกแบบครอบโลหะปั้มขึ้นรูป ใส่ครอบทับนาฬิกาอีกชั้นนึง โดยใช้สายนาฬิกาหนังช่วยยึด มีการจดสิทธิบัตรด้วย แต่ด้วยวัสดุกระจกใหม่ที่เริ่มออกมาสู่ตลาดในปีใกล้ๆกันนั้น ทำให้ครอบโลหะนี้ไม่เป็นที่นิยม
ครอบโลหะ
วิวัฒนาการหนึ่งที่เปลี่ยนแปลงสิ่งนี้ไปคือการคิดค้นกระจกนาฬิกาแบบใหม่ที่ไม่แตก ทำจากเซลลูลอยด์ ในปี 1915 และใช้กันอย่างแพร่หลายในปี 1916 วัสดุเซลลูลอยด์ใช้ทำแผ่นฟิล์มในสมัยศตวรรษที่ 19 และถูกพัฒนามาจนเป็นเซลลูลอยด์ อะซิเตท (cellulose acetate) ที่ปลอดภัยกว่ามีคุณสมบัติไม่ติดไฟง่าย กระจกส่องชนิดนี้ตอบโจทย์ในการกระแทกของนาฬิกาทหารยุคนี้ได้มากที่สุด ในสมัยนั้นบริษัทนาฬิกาโฆษณาว่าเป็นกระจกแบบไม่มีวันแตกหรือ unbreakable glass นาฬิกายุคนั้นที่หลงเหลือในปัจจุบันจะเห็นได้จากคุณสมบัติของกระจกที่เปลี่ยนสีเป็นสีเหลือง ฉะนั้นโอกาสที่เป็นได้มากว่ากระจกรุ่นๆนี้จะถูกทดแทนด้วยกระจก"อะคริลิค"รุ่นใหม่กว่าหลังปี 1933 อีกชื่อหนึ่งว่า Plexiglas ที่เป็นชื่อบริษัทผู้ผลิตรายแรก
กระจกแตกไม่ใด้
- หน้าปัดเรืองแสง -
สเป็คอีกอย่างหนึ่งที่สำคัญของนาฬิกาทหารอังกฤษก็คือหน้าปัดที่สะท้อนแสงได้ วัสดูเรืองแสงที่ใช้เป็นสารเรเดี่ยม ซึ่งเป็นกำมันตภาพรังสีที่อันตราย (แต่สมัยนั้นยังไม่รู้) สารนี้จะถูกระบายลงบนหน้าปัดนาฬิกาตามเลข 1-12 และเข็มนาฬิกา มันสามารถเรืองแสงใด้นานหลายปี ก่อนที่จะเฟดลง (ซึ่งส่วนมากที่พบเห็นจะแตกออกเป็นชิ้นส่วนเล็กๆเพราะสารยึดเกาะที่เป็นส่วนผสมหมดสภาพ) แต่กระนั้นความเป็นกัมมันตภาพรังสีก็คงยังอยู่ สารที่ใช้ในยุคแรกๆมีความแรงเป็นอย่างมาก มี half-life ถึง 1,600 ปี
แต่มีนาฬิกาส่วนน้อยที่ถูกผลิตตามสเป็คนี้ อย่างที่กล่าวมาแล้วว่านายทหารส่วนมากต้องหาซื้อนาฬิกามาใช้งานเอง จึงมีนาฬิกาจำนวนมากที่ซื้อมาจากท้องตลาดแล้วมาใช้บริการแต้มสีภายหลังจากร้านจิวเวลรี่ ความแตกต่างที่เห็นได้ชัดก็คือการแต้มจุดวงกลมตามหมุดชั่วโมง แต่บางทีก็มีแต้ม 2 จุดที่ 12น.เพื่อแยกความแตกต่าง
เพราะฉะนั้นใครก็ตามที่สะสมนาฬิกาในยุคนี้จำเป็นจะต้องมีความระมัดระวังสูงเพื่อจะไม่ให้สัมผัสโดยตรงกับวัตถุกัมมันตภาพ
ทาสารเรเดี่ยมใช้เพื่อสะท้อนแสง
ก่อนสงครามนาฬิกาข้อมือเป็นเครื่องประดับของสุภาพสตรี หลังสิ้นสุดสงครามเหล่าทหารที่กลับมาบ้านต่างก็นำความประทับใจของการสวมใส่นาฬิกาบนข้อกลับมาบ้าน ยุคของนาฬิกาพกกระเป๋าใด้จบลงอย่างสิ้นเชิง อนาคตวันนี้เป็นของนาฬิกาข้อมือเท่านั้น
ขอบคุณข้อมูลจาก:
ภาพจาก Google.com
และ Hoodikee.com
#เรื่องเล่านาฬิกา
โฆษณา