Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
Healthstory - เรื่องสุขภาพ ง่ายนิดเดียว
•
ติดตาม
18 พ.ย. 2019 เวลา 09:30 • สุขภาพ
จะเกิดอะไรขึ้น?...ถ้ามีแผลสกปรกแล้วไม่ได้ฉีดวัคซีน”บาดทะยัก”
คำตอบก็คือ อาจจะไม่มีอะไรเกิดขึ้นก็ได้...
เพียงแต่ว่า... ถ้าหากบาดแผลนั้นมีเชื้อบาดทะยัก เมื่อคุณติดเชื้อบาดทะยักแล้ว ต่อให้หมอสามารถช่วยชีวิตคุณได้ คุณก็ยังอาจต้องการที่จะตาย เพราะการติดเชื้อและเสียชีวิตด้วยโรคบาดทะยักนั้น... บางทีอาจเป็นวิธีการเสียชีวิตที่ทรมานที่สุดในโลกเลยก็เป็นได้!
1
ภาพที่คุณเห็นในรูปปกบทความนี้ เป็นภาพของผู้ป่วยที่กำลังเสียชีวิตด้วยโรคบาดทะยัก โดยรูปนี้ถูกวาดขึ้นในปี 1809 โดยแพทย์ประจำตัวของผู้ป่วยเอง และนี่ก็คือท่าที่เรียกว่า”ออพิสโตโธนัส” หรือ ”Opistothonos” ซึ่งเป็นภาษาแพทย์ที่แปลว่า”หลังแอ่น”
2
แต่คำถามก็คือ... ”ทำไมผู้ป่วยถึงมีท่าทางเช่นนี้?”
2
โดยธรรมชาติแล้ว เวลาที่คุณเคลื่อนไหว ไม่ว่าจะเป็นตอนเดิน วิ่ง หรือทำงาน กล้ามเนื้อของคุณจะต้องทำหน้าที่”หดตัว” ซึ่งภายหลังจากนั้นต้องมีการปล่อยสารสื่อประสาทเพื่อทำให้กล้ามเนื้อมัดนั้น”คลายตัว”กลับสู่สภาพเดิม
2
โดยสิ่งที่”พิษบาดทะยัก”เข้าไปทำในร่างกายของผู้ป่วยก็คือ มันจะเข้าไป”ยับยั้ง”การปลดปล่อยสารสื่อประสาทเหล่านั้น...
ดังนั้น กล้ามเนื้อของผู้ป่วยก็จะหดตัวอย่างรุนแรง และไม่มีวันปล่อยตัว
เมื่อเกิดการหดตัวของกล้ามเนื้อทั่วร่างกาย...
กล้ามเนื้อหลังที่มีความเเข็งแรงกว่ากล้ามเนื้อหน้าท้อง ก็จะฉุดดึงให้หลังของผู้ป่วยบิดงออย่างทรมาน...
กล้ามเนื้อต้นขาก็จะหดรัดตัวจนแทบจะหักกระดูกต้นขาซึ่งเป็นกระดูกที่แข็งแรงที่สุดในร่างกาย...
3
แต่อย่างไรก็ตาม พิษบาดทะยักไม่ได้ส่งผลอะไรต่อสมองของผู้ป่วยเลย ดังนั้นผู้ป่วยจะตื่นและมีความรู้สึกตัวอย่างเต็มที่ และพร้อมที่จะได้รับรู้ถึงความรู้สึกปวดทรมานนั้นไปแบบเต็มๆ
2
ถ้าคุณนึกภาพไม่ออก คุณลองจินตนาการว่าเกิดเหน็บตะคริวที่กล้ามเนื้อทุกมัดของคุณดูนะครับ และมันหดตัวอยู่อย่างนั้น 24 ชั่วโมง และคูณความเจ็บปวดนั้นด้วย 10 นั่นแหละครับ คือสิ่งที่ผู้ป่วยจะต้องพบเจอ...
11
สุดท้าย ถ้าผู้ป่วยมีอาการรุนแรง กล้ามเนื้อกระบังลมของผู้ป่วยก็จะหดตัวค้าง แล้วทำให้ผู้ป่วยไม่สามารถหายใจได้อีกต่อไป นี่ก็จะเป็นวันสุดท้าย...ที่ปลดปล่อยผู้ป่วยจากความทรมาน
2
ปัจจุบันโรคบาดทะยักสามารถรักษาได้ แต่ก็ยังมีผู้เสียชีวิต 10-90% ขึ้นอยู่กับความรุนแรงของโรคและความพร้อมของโรงพยาบาล และแม้สามารถรอดชีวิตได้ ผู้ป่วยส่วนใหญ่ก็มักใช้เวลา 1-2 เดือนหรือมากกว่านั้นไปกับการนอนในโรงพยาบาล ในสภาพที่ถูกใส่ท่อช่วยหายใจ และให้ยากล่อมประสาทอัดเข้าไปจนแทบจะอยู่ในสภาพไม่รู้สึกตัวหรือโคม่า เพื่อให้ไม่ต้องรู้สึกถึงความเจ็บป่วย แล้วหลังจากนั้นก็อาจต้องใช้เวลาอีกหลายเดือนในการทำกายภาพบำบัดให้กับกล้ามเนื้อที่ถูกพิษบาดทะยักเล่นงานจนปั่นป่วน
3
ดังนั้น ต้องบอกว่าไม่เป็นเสียตั้งแต่แรก ก็ย่อมดีกว่าอย่างแน่นอน!
เชื้อบาดทะยักนั้นชอบอยู่ตามดินและมูลสัตว์ต่างๆ บาดแผลสกปรกที่เปื้อนดินจึงถือว่าเสี่ยง โดยแผลยิ่งลึกมากเท่าไหร่ ก็ยิ่งเสี่ยงมากขึ้นเท่านั้น เพราะเชื้อบาดทะยักจะชอบเติบโตในภาวะที่ไม่มีออกซิเจน แผลตื้นๆที่มีออกซิเจนอยู่ตลอดเวลาจึงมีความเสี่ยงน้อยกว่า ในขณะที่แผลลึกๆโดยเฉพาะโดนทิ่มแทง เช่น ของมีคมหรือโดนสัตว์กัด มักเกิดพื้นที่ปิดภายในทำให้เหมาะแก่การเจริญเติบโตของเชื้อได้
1
ดังนั้นเมื่อมีบาดแผลใดๆก็ตาม เบื้องต้นควรล้างแผลให้สะอาดทันที โดยการฟอกสบู่หรือน้ำยาฆ่าเชื้อนานๆหลายนาที(10-15นาที) และถ้าแผลมีขนาดใหญ่ ลึก หรือสกปรก ก็ควรมาโรงพยาบาล เพื่อให้หมอพิจารณาว่าควรฉีด”วัคซีนบาดทะยัก”หรือไม่
1
โดยปกติแล้ววัคซีน 1 ชุดจะมี 3 เข็มซึ่งหมอจะแบ่งฉีดภายใน 6 เดือน เมื่อฉีดครบแล้วสามารถอยู่ได้นานถึง 10 ปี โดยไม่ต้องกลับมาฉีดใหม่ ยกเว้นถ้าได้รับบาดแผลรอบใหม่ที่มีขนาดใหญ่หรือสกปรกมากๆ ก็ควรฉีดกระตุ้นอีก 1 เข็มถ้าฉีดครั้งล่าสุดมาเกิน 5 ปีแล้ว
2
ดังนั้นมาฉีดวัคซีนบาดทะยักกันเถอะครับ วัคซีนนี้แนะนำให้ฉีดกระตุ้น 1 เข็มทุกๆ 10 ปี แม้ไม่เคยมีบาดแผลเลยก็ตาม การฉีดวัคซีนง่ายกว่ากการรักษาโรคบาดทะยักหลายเท่า และที่สำคัญ เจ็บตัวจากการโดนฉีดยาไม่กี่เข็ม ย่อมดีกว่าการไปทรมานนานนับเดือนในโรงพยาบาลแน่นอน!
📥Healthstory - เรื่องสุขภาพ ง่ายนิดเดียว
อย่าลืมกดLike&Shareด้วยนะครับ^^
📥ติดตามเรื่องราวสุขภาพดีๆจากปากหมออีกได้ที่
Blockdit :
www.blockdit.com/healthstory
Facebook :
www.facebook.com/HealthstoryThailand
[R]
UpToDate(แหล่งรวมข้อมูลทางการแพทย์โดยเน้นหลักฐานที่ทันสมัย)
- Tetanus
https://www.saovabha.com/download/saovabha_y5_v1_1.pdf
49 บันทึก
160
26
154
49
160
26
154
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย