19 พ.ย. 2019 เวลา 13:20 • วิทยาศาสตร์ & เทคโนโลยี
การเลี้ยงกุ้งและการใช้โปรไบโอติก ตอนที่2
Probiotic and Shrimp Farming
มาต่อกันในตอนที่ 2 เกี่ยวกับโปรไบโอติกกับการเลี้ยงกุ้งนะครับ
ดังที่กล่าวไว้ตอนที่แล้วที่ว่า จุลินทรีย์กลุ่มโปรไบโอติกนั้นมีอยู่แล้วในธรรมชาติและไม่จำเป็นต้องใส่เพิ่มเข้าไปเลยหากสามารถสร้างสัดส่วนของ C:N=12:1 และมีการให้อากาศที่มีออกซิเจนอย่างเพียงพอ อาจจะมีหลายพันตัวต่อซีซีหรือมหาศาลเกินกว่าจะนับได้ในพื้นที่บ่อ ดังนั้นจึงเป็นการยากที่จะเติมจุลินทรีย์ลงไปในบ่อเพื่อเปลี่ยนแปลงโครงสร้างประชากรจุลินทรีย์เดิมในบ่อ
นอกจากนี้นั้นเรายังคาดหวังว่าจุลินทรีย์ที่อยู่ในบ่อนั้นสามารถปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อมของบ่อได้ดีกว่า ไม่มีอะไรที่จะการันตีว่าจุลินทรีย์กลุ่มโปรไบโอติกที่เราเพาะใส่ลงไปนั้นจะปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อมของบ่อได้ดี ดังนั้นหากเราต้องการที่จะเปลี่ยนแปลงโครงสร้างจำนวนของจุลินทรีย์คือต้องใส่ให้มีปริมาณมากพอและต้องบ่อยพอที่คงปริมาณหรือจำนวนอยู่ได้เพื่อรักษาความเด่น (dominance)ของสายพันธุ์โปรไบโอติก ซึ่งยอมรับว่ามีการศึกษาวิจัยว่าโปรไบโอติกสามารถคงอยู่รอดได้และมีประโยชน์ต่อบ่อแต่ก็มีหลายๆการศึกษาที่ล้มเหลว
บาซิลลัสและแลคโตบาซิลลัสนั้นเป็นจุลินทรีย์ที่มีอยู่แล้ว เป็นพวก heterotrop ที่มีอยู่ในบ่อเลี้ยงสัตว์น้ำต่างๆ ตะกอนดินในน้ำทะเลนั้นก็มีจุลินทรีย์ทั้ง Bacillus subtilis, B. circculans, B. megaterium, B. polymyxaและB. licheniformis แล้วก็นำไปทำให้บริสุทธิ์และเพิ่มจำนวนในถังหมักจากนั้นก็ทำให้อยู่ในรูปของเหลวหรือสเปรย์ให้แห้งเป็นผงเพื่อขายทางการค้า
แล้วเราจะวัดค่า C:N ได้อย่างไร
ในการวัดค่า C:N นั้นเป็นเพียงส่วนหนึ่งของเรื่องที่คุยกัน เราสามารถวัดค่า TOC (Total Organic Carbon) แต่คาร์บอนบางตัวนั้นจุลินทรีย์ไม่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้และดูดซับแอมโมเนียเอาไว้ การวัดค่า TOCและBOD(ค่าความต้องการออกซิเจนของจุลินทรีย์ในน้ำ)รวมทั้ง TKN(Total Kjeldah Nitrogen) จึงจะได้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์ในการจัดการ ในการจะทำให้ระบบนี้สามารถดำเนินไปได้นั้นเราต้องคัดเลือกสายพันธุ์โปรไบโอติกที่สามารถย่อยโปรตีนเซลล์เดี่ยวได้เลย หากไม่เช่นนั้นแล้วระบบก็จะค้างอยู่ที่แอมโมเนียแม้จะมีคาร์โบไฮเดรทและออกซิเจนปริมาณมากก็ตาม
ความแตกต่างของระบบการสังเคราะห์แสงของสาหร่ายหรือแพลงค์ตอนพืชกับระบบการย่อยของเสียของจุลินทรีย์(ที่ใช้ออกซิเจนกับคาร์โบไฮเดรท)คือพลังงานที่ใช้สำหรับการกำจัดของเสีย นั่นคือปริมาณแสงแดดคือพลังงานที่ใช้ในการสังเคราะห์แสงนั้นมีข้อจำกัดต่อพื้นที่ ในขณะที่พลังงานของการย่อยสลายคือปริมาณอาหารต่อพื้นที่ นั้นไม่มีขีดจำกัด เพราะคิดเป็นปริมาตร
สิ่งที่สำคัญคือการมีปริมาณจุลินทรีย์จำนวนมากเพื่อกำจัดของเสียนั้น มันต้องเร็วและมีประสิทธิภาพ ไม่เช่นนั้นกระบวนการทั้งหมดมันจะไปได้แค่แอมโมเนียแล้วก็วนซ้ำๆอยู่แค่นี้
ขอจบเรื่องแอมโมเนียไว้แค่นี้นะครับ ใครมีอะไรสงสัยหรืออยากให้อธิบายเพิ่มก็เมนต์ถามไว้นะครับ แล้วจะตามมาตอบครับ
ชอบ ช่วยกดไลค์
ถูกใจ ช่วยกดแชร์
และกดติดตามเพจ เพื่อไม่ให้พลาดข่าวสารที่น่าสนใจ
ขอบคุณทุกท่านที่ติดตามเพจ mr.shrimp ครับ
โฆษณา