20 พ.ย. 2019 เวลา 12:17 • สุขภาพ
ทำอย่างไรเมื่อปวดศีรษะไมเกรน
1.การหลีกเลี่ยงเหตุกระตุ้น
- หลีกเลี่ยงด้านอารมณ์ความเครียด พักการทำงานหรือกิจกรรมที่ก่อให้เกิดความเครียด
- หลีกเลี่ยงอยู่ในที่ร้อนหรือ เย็นจนเกินไป
- หลีกเลี่ยงเสียงที่ดัง หรือบริเวณที่มีแสงจ้า
2.แบ่งระดับความรุนแรง เพื่อเลือกวิธีการรักษา
2.1) ปวดศีรษะไมเกรนไม่รุนแรง
มีตำหรับยาให้เลือกใช้ดังนี้
• Paracetamol 1,000 mg (500mg 2 เม็ด แบบกิน)
• ยาแก้ปวดแบบ NSAID เช่น Ibuprofen (400 mg) 1-3 เม็ด, Naproxen (250 mg) 3-5 เม็ด, Diclofenac (25 mg) 2-4 เม็ด
• Paracetamol 1,000 mg รับประทานร่วมกับ NSAID ตัวใดตัวหนึ่งในข้อด้านบน
** ใช้ยาเบื้องต้นแล้วยังไม่หายปวด ให้ใช้ยาแบบผู้ปวดปวดศีรษะไมเกรนรุนแรง
2.2) ปวดศีรษะไมเกรนรุนแรง หรือต้องนอนพักเมื่อมีอาการปวด
มีตำหรับยาให้เลือกใช้ดังนี้
• Sumatriptan (50 mg) 2 เม็ด
• Ergotamine (1 mg) 2 เม็ด
• Sumatriptan (50 mg) 1 เม็ด รับประทานร่วมกับ Naproxen (250 mg) 2 เม็ด
** หากอาการปวดศีรษะไม่ดีขึ้น ให้ปรึกษาแพทย์เพื่อรับคำแนะนำ
3.หากมีอาการคลื่นไส้อาเจียนมาก
• Metoclopramide (10 mg) 1 เม็ด
4.กินยาป้องกันเมื่อมีข้อบ่งชี้ดังนี้
4.1) เป็นบ่อยกว่า 1 ครั้งต่อสัปดาห์ หรือมากกว่า 2-3 ครั้งต่อเดือน
มีตำหรับยาให้เลือกใช้ดังนี้
• Amitriptyline (25 mg) 1 เม็ดก่อนนอน ทุกวัน
• Flunarizine (5 mg) 1 เม็ดก่อนนอน ทุกวัน
ข้อควรระวังการใช้ยา
NSAID ห้ามใช้ในผู้ป่วยโรคกระเพาะ และโรคไต
Paracetamol ห้ามใช้ในผู้ป่วยโรคตับ
Sumatriptan ห้ามใช้ในผู้ป่วยโรคหัวใจ หลอดเลือดในสมองตีบ ความดันสูง และห้ามใช้พร้อมกับ Ergotamine ภายใน 24 ชม.
Ergotamine ห้ามใช้ในผู้ป่วยโรคไต ตับ หัวใจ ความดันสูง โรคเส้นเลือดส่วนปลายผิดปกติ และคนท้อง
อ้างอิง นพ. ปราการ จันทรมณี
โฆษณา