Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
Absinthe
•
ติดตาม
20 พ.ย. 2019 เวลา 19:01 • ปรัชญา
"วอลแตร์”
ท่ามกลางสถานการณ์ทางการเมืองที่ร้อนแรงทั้งในประเทศเราและต่างประเทศ เหตุการณ์ทางการเมืองไม่ว่าจะเป็นการชุมนุมในฮ่องกง หรือการตัดสินคดีถือหุ้นสื่อของคุณธนาธรก็ตาม ทำให้เกิดการวิพากษ์วิจารณ์มากมายในโลกอินเตอร์เน็ต
เราก็เป็นคนหนึ่งที่รู้สึกเดือดร้อนกับสถานการณ์ทางการเมือง แต่ก็ไม่สามารถทำอะไรได้มากไปกว่าติดตามสถานการณ์ใน #ธนาธร หรือ #ripthailand การอ่านทวิตเตอร์ทำให้เราได้เห็นข้อความจากแอคเคาท์หนึ่ง กล่าวว่า
“หากต้องการรู้ว่าใครปกครองคุณ ให้ดูว่าใครที่ไม่อนุญาตให้คุณวิพากษ์วิจารณ์”
1
ซึ่งข้อความนี้เป็นคำกล่าวของ”วอลแตร์” นักปรัชญาชาวฝรั่งเศสผู้มีบทบาทสำคัญต่อการเคลื่อนไหวทางการเมืองในคริสต์ศตวรรษที่ 18 ร่วมกับนักปรัชญาชื่อดังอีกหลายท่าน สามารถกล่าวได้ว่าวอลแตร์นั้นเป็นบุคคลสำคัญที่นำฝรั่งเศสไปสู่การปฏิวัติ
วอลแตร์นำเสนอความคิดของเขาด้วยการเขียนวรรณกรรมที่แทรกไปด้วยความรู้ทางปรัชญาและการเสียดสีสังคมฝรั่งเศสในสมัยก่อนการปฏิวัติ
“สามัญชนอันเป็นคนจำนวนมากที่สุด มีคุณธรรมที่สุด และควรแก่การเคารพยกย่องที่สุด อันประกอบไปด้วยผู้ศึกษากฎหมาย และวิทยาศาสตร์ พ่อค้า ช่างฝีมือ และชาวนา ผู้ประกอบอาชีพอันสูงส่งแต่ไร้เกียรติ สามัญชนเหล่านี้ เคยได้รับการเหยียดหยามจากเจ้า และพระราวกับว่าเป็นสัตว์ (…)
ต้องใช้เวลานับเป็นศตวรรษทีเดียว ที่จะสร้างความยุติธรรมให้แก่มนุษยชาติ ในอันที่จะทำให้ประจักษ์ว่า เป็นความสยดสยองยิ่ง ที่คนส่วนใหญ่เป็นผู้หว่านไถ แต่คนส่วนน้อย เป็นผู้ชุบมือเปิบเอาพืชผลนั้นไป”
ข้อความข้างต้นคือตัวอย่างงานเสียดสีสังคม จากจดหมายจากอังกฤษของวอลแตร์ ซึ่งแน่นอนว่าหลังจากงานชิ้นนี้ได้เผยแพร่ไป เขาได้รับหมายจับจากทางการในข้อหาปลุกปั่นและยุยงทันที แต่เขาไหวตัวทันและสามารถหนีการจับกุมมาได้
จดหมายจากอังกฤษเป็นเพียงจุดเริ่มต้นงานเขียนเชิงวิพากษ์วิจารณ์และเสียดสีสังคมของวอลแตร์ หลังจากนั้นเขาได้เริ่มเขียนงานเชิงวรรณกรรม ที่รู้จักกันในชื่อว่าก็องดิด และ ซาดิก ซึ่งจุดประสงค์หลักคือการเผยแพร่แนวคิดทางปรัชญาสู่สาธารณชน เพื่อต่อต้านความคิดแบบอนุรักษนิยมในฝรั่งเศส
แนวคิดของวอลแตร์ส่งผลให้สังคมฝรั่งเศสเกิดแนวคิดเชิงวิพากษ์วิจารณ์ และเกิดการตั้งคำถามของชาวฝรั่งเศสต่อเหตุการณ์และระบอบการปกครองในขณะนั้น
เนื่องจากวอลแตร์ชื่นชอบการมีเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นแบบคนอังกฤษ(ในสมัยนั้น) เขาจึงเผยแพร่แนวคิดต่างๆที่เกี่ยวกับสิทธิและเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น เช่น
“ฉันอาจจะไม่เห็นด้วยกับคุณ แต่ฉันขอปกป้องสิทธิในการแสดงความคิดเห็นของคุณด้วยชีวิต”
จะเห็นได้ว่า แนวคิดของวอลแตร์คือการสนับสนุนเสรีภาพ ซึ่งไม่ใช่เรื่องแปลกที่จะส่งผลให้เกิดการวิพากษ์วิจารณ์สถาบันการปกครอง ระบอบอำนาจ จนทำให้เกิดการชุมนุมและการปฏิวัติในเวลาต่อมา
ซึ่งเมื่อย้อนกลับไปอ่านข้อความด้านบนที่เราเจอมาจากในทวิตเตอร์แล้ว การเมืองไทยในปัจจุบันอาจจะไม่ตรงกับแนวทางของวอลแตร์นัก เนื่องจากเรายังถูกจำกัดเสรีภาพในการวิพากษ์วิจารณ์อยู่หลายเรื่อง ซึ่งก็เป็นไปตามบริบทของสังคมไทยที่อาจจะแตกต่างออกไป
แต่สุดท้ายแล้ว เราเชื่อว่าสิทธิในการแสดงความคิดเห็นยังคงเป็นของทุกคน
1
Love
Reference:
https://www.sarakadee.com/2000/11/12/voltaire/
https://50quotesof.com/50-wise-quotes-of-voltaire/
https://www.biography.com/scholar/voltaire
3 บันทึก
12
6
19
3
12
6
19
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย