22 พ.ย. 2019 เวลา 12:52 • การศึกษา
“อยากขายที่ดินกรรมสิทธิ์รวมแต่เจ้าของรวมคนอื่น ๆ ไม่เห็นด้วยจะต้องทำยังไง?”
โดยปกติแล้ว ทรัพย์สินที่มีบุคคลหลายคนเป็นเจ้าของร่วมกัน หรือที่เรียกกันว่ากรรมสิทธิ์รวมนั้น การที่เจ้าของรวมคนหนึ่งจะนำทรัพย์สินออกให้เช่า ขาย หรือนำไปจำนอง ใช่ว่าอยู่ดี ๆ จะทำได้ทันที
เพราะก่อนจะทำเช่นนั้นได้จะต้องตรวจสอบก่อนว่าทรัพย์สินนั้นได้มีการแบ่งแยกกันเป็นสัดส่วนแล้วหรือไม่
pixabay
ยกตัวอย่างทรัพย์สินที่มีกรรมสิทธิ์รวม เช่น ที่ดิน
หากที่ดินแปลงดังกล่าวได้มีการแบ่งเป็นสัดส่วนชัดเจนโดยระบุไว้ในโฉนดที่ดินว่าเจ้าของรวมแต่ละคนนั้น ใครเป็นเจ้าของในส่วนไหน เนื้อที่เท่าใด อยู่ทางทิศใด
อย่างนี้ ถ้าเจ้าของรวมจะจำหน่ายที่ดินส่วนของตน หรือจะนำออกให้เช่า หรือนำไปจำนอง ก็สามารถทำได้หากไม่กระทบส่วนของเจ้าของรวมคนอื่น ๆ
แต่ถ้าที่ดินแปลงนั้นไม่ได้แบ่งออกเป็นสัดส่วนว่าเจ้าของรวมคนไหนเป็นเจ้าของในที่ดินส่วนใด ก็ต้องถือว่าเจ้าของรวมทุกคนเป็นเจ้าของร่วมกันในที่ดินทั้งแปลง
ปัญหาที่มักจะเกิดขึ้นเมื่อเจ้าของรวมทุกคนต่างก็มีสิทธิในที่ดินแปลงเดียวกันทั้งแปลงก็คือ เวลาที่เจ้าของรวมคนหนึ่งเกิดต้องการอยากขายหรืออยากนำที่ดินไปจำนอง ก็จะต้องได้รับความยินยอมจากเจ้าของรวมคนอื่น ๆ ด้วยกันหมดทุกคน (ย้ำว่าทุกคน)
ซึ่งหากเจ้าของรวมคนอื่น ๆ เห็นชอบด้วยก็คงไม่มีปัญหาอะไร
แต่ถ้าหากเจ้าของรวมแม้แต่คนเดียวเกิดไม่เห็นด้วยขึ้นมาล่ะ เจ้าของรวมคนที่อยากขายที่ดิน หรือนำที่ดินไปทำนิติกรรมอย่างอื่นจะต้องทำยังไง?
pixabay
เรื่องนี้กฎหมายได้มีทางออกโดยกำหนดขั้นตอนให้เจ้าของรวมต้องปฏิบัติดังนี้ครับ
1) ให้แบ่งกันเองระหว่างเจ้าของรวม หรือให้ขายทรัพย์สินแล้วเอาเงินที่ขายได้มาแบ่งกัน
1
2) ถ้าเจ้าของรวมไม่ตกลงว่าจะแบ่งกันยังไง เจ้าของรวมคนหนึ่งอาจร้องขอต่อศาล โดยให้ศาลสั่งให้แบ่งทรัพย์สินดังกล่าว
หากแบ่งแล้วแต่ละคนได้สัดส่วนไม่เท่ากัน ศาลอาจสั่งให้ฝ่ายที่ได้มากกว่าชดเชยเป็นเงินให้ฝ่ายที่ได้น้อยกว่าก็ได้
3) แต่ถ้าการแบ่งตามข้อ 2 ไม่สามารถทำได้ หรือจะเกิดความเสียหาย ศาลจะสั่งให้ขายโดยการประมูลกันเองระหว่างเจ้าของรวมหรือขายทอดตลาดก็ได้
สิทธิเรียกให้แบ่งทรัพย์สินที่เป็นกรรมสิทธิ์รวมนั้นเป็นสิทธิของเจ้าของรวมทุกคน แต่ใช่ว่าอยู่ดี ๆ เจ้าของรวมคนใดคนหนึ่งจะเรียกร้องขอแบ่งทรัพย์สินได้ทันทีนะครับ
เพราะกฎหมายได้กำหนดเงื่อนไข หรือระยะเวลาการใช้สิทธิขอแบ่งไว้ด้วย เช่น
- จะเรียกให้แบ่งในเวลาที่ไม่สมควรไม่ได้
pixabay
เช่น รวมเงินกันซื้อที่ดินเพื่อทำไร่ แต่พอลงมือปลูกไปพอสมควร รอเก็บเกี่ยวผลผลิต เจ้าของรวมคนหนึ่งเกิดอยากขายที่ดิน อย่างนี้ถือว่าเป็นการขอแบ่งในเวลาไม่สมควร
- มีนิติกรรมขัดอยู่ หรือห้ามไม่ให้แบ่ง
เช่น พ่อแม่ให้คนอื่นเช่าที่ดินทั้งแปลงเพื่อปลูกบ้าน เมื่อพ่อแม่เสียชีวิต ลูก ๆ ซึ่งเป็นทายาทได้มรดกในที่ดินแปลงดังกล่าวจะขอแบ่งแยกที่ดินในขณะที่สัญญาเช่ายังไม่ครบกำหนดไม่ได้ครับ
ถ้าได้ประโยชน์จากบทความนี้ ช่วยกด Like, Share ด้วยนะครับ 😻

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา