22 พ.ย. 2019 เวลา 11:58 • ธุรกิจ
ร้านอาหารเครือ เซ็นทรัล กำลังปรับตัว ในยุค App Food Delivery ครองเมือง
App Food Delivery สำหรับสั่งอาหารอาทิเช่น Grab และ Get
ที่กำลังได้รับความนิยมต่อเนื่อง ได้ทำให้เราทานเมนูอร่อยจากร้าน Street Food โดยไม่ต้องเดินทางไปเอง
จนทำให้ร้านอาหารริมถนนมียอดขายเพิ่มขึ้นมากมายหากเทียบกับในอดีต...
1
ปรากฏการณ์นี้กำลังสร้างความกังวลใจให้แก่ใครบ้าง ?
เริ่มด้วย 7-Eleven อาจต้องจับตาดูยอดขายเมนูอาหารของตัวเอง
เพราะวันนี้คำว่า “หิวเมื่อไร ก็แวะมา” กำลังถูกท้าทาย
และอีกหนึ่งผู้ที่ต้องรับมือก็คือกลุ่มร้านอาหารในศูนย์การค้า นั่นเอง
เพราะวันนี้ 1 มื้อผู้บริโภคมีตัวเลือกเพิ่มขึ้นมากมายเมื่อเทียบกับในอดีต ที่ผ่านมา
โดยผู้บริโภคไม่ต้องเพิ่งพาความอร่อยแค่ 7 Eleven และร้านอาหารในศูนย์การค้า และร้านอื่นๆ
เพราะแค่นอนอยู่บ้านกด App Food Delivery ก็มีร้านอาหารให้เลือกหลายร้อยร้านจนถึงหลักพัน
เป็นเรื่องที่ บริษัท เซ็นทรัล เรสตอรองส์ กรุ๊ป จำกัด หรือ CRG ที่มีแบรนด์อาหารในมือมากกว่า 10 แบรนด์
และมีสาขาร่วมกันมากกว่า 1,000 สาขาก็รู้ดีว่าต่อไปนี้ โลกธุรกิจอาหารกำลังเปลี่ยนไป
ซึ่ง CRG จะทำธุรกิจในรูปแบบเดิมๆ ไม่ได้อีกต่อไป
“การ DISRUPT เป็นเรื่องที่ห้ามไม่ได้ เราเป็นบริษัทที่มีร้านอาหารมากกว่า 1,000 สาขา จำเป็นต้องปรับตัวครั้งใหญ่”
คุณ ณัฐ วงศ์พานิช กรรมการผู้จัดการใหญ่ CRG บอกถึงเหตุผลที่จะต้องมีโมเดลธุรกิจใหม่ๆ
นั่นคือการเตรียมเปิด Cloud kitchen ที่ร่วมหลายแบรนด์มาประกอบอาหารในครัวเดียวกัน
เพื่อปรุงเมนูอาหารตามออเดอร์ลูกค้าที่สั่งกับบรรดา App Food Delivery
โดย CRG จะเริ่มเปิด Cloud kitchen สาขาแรกช่วงกลางปี 2563 ใช้งบลงทุน 2 -3 ล้านบาท
โดยเริ่มต้นในกรุงเทพฯ จากนั้นก็ค่อยๆ ขยายไปยังต่างจังหวัด
1
แล้ว โมเดล นี้ถือเป็นการทำลายกำแพงในการขายอาหารไปในทันที
เพราะสมมติในอดีตเราอยู่เชียงใหม่ หากอยากจะกินข้าวหมูทอด Katsuya แต่ไม่มีสาขาในเชียงใหม่
แต่หาก CRG มี Cloud kitchen ในเชียงใหม่
เรานอนรออยู่บ้านกด App Food Delivery ก็ได้ทานข้าวหมูทอด Katsuya
1
ที่น่าสนใจกว่านั้นคือ CRG ไม่ได้คิดสร้าง Cloud kitchen มาปรุงอาหารเฉพาะแค่แบรนด์อาหารตัวเอง
แต่คิดที่จะดึงแบรนด์ร้านอาหารริมทาง มาเข้าร่วมอยู่ในครัว Cloud kitchen
ซึ่งเป็นวิธีการเปลี่ยนคู่แข่ง ที่เคยแย่งยอดขายตัวเองในตลาด Delivery ให้หันมาเป็นเพื่อนทางธุรกิจ
2
แต่... Pain Point สำคัญที่ CRG ต้องขบคิดก็คือร้านอาหารตึกแถวบางร้าน อาจจะระแวงว่า
สูตรลับความอร่อยเมนูอาหารของตัวเอง อาจจะหลุดไปอยู่ในมือคนอื่น
เมื่อต้องมาปรุงอาหารใน Cloud kitchen ซึ่งเป็นครัวรวม
1
และเมื่อ Cloud kitchen จะเกิดขึ้นจริงในอนาคตอันใกล้ สิ่งที่น่าติดตามก็คือ
การขยายสาขาใหม่ๆ ในอนาคตของร้านอาหารต่างๆ ในเครือ CRG จะเป็นอย่างไร
เพราะในเมื่อสาขาใหม่ๆ ที่จะเปิดก็อาจมีพื้นที่ทับซ้อนกับ Cloud kitchen ที่ปรุงเมนูอาหารร้านนั้นอยู่แล้ว
คุณ ณัฐ อธิบายว่า สาขาใหม่ๆ ก็ยังจะขยายต่อไป แต่รูปแบบร้านจะเปลี่ยนไป
จากเดิมจะเป็นร้านที่มีพื้นที่กว้างๆ เน้นให้ลูกค้านั่งในร้าน
แต่สาขาใหม่ๆ จะมีพื้นที่ให้ลูกค้านั่งน้อยลง แต่จะมี 3 ช่องทางการเสิร์ฟ
1.เสริฟ์ให้ลูกค้านั่งในร้าน
2. เสิร์ฟลูกค้าที่ซื้อกลับบ้าน
3. เสิร์ฟออเดอร์ให้แก่ App Food Delivery
3
และการ “ปรับตัว” ของ CRG ไม่ได้มีแค่ Cloud kitchen อย่างเดียวแต่ยังมีแบรนด์อาหารใหม่ที่สร้างเองกับมือ
ที่ชื่อ “อร่อยดี” ซึ่งเป็นร้านอาหารตามสั่งมีราคาขาย 60 - 110 บาท
โดยวางทำเลสาขาไว้ใน ย่านชุมชนต่างๆ และ ไฮเปอร์ มาร์เก็ต ซึ่งหากมองดูทั้งเมนูอาหาร ราคา จนถึงทำเล “อร่อยดี” คือร้านอาหารที่จะมาแย่งชิงยอดขายกับร้านอาหารริมทาง
แต่...CRG กลับเลือกให้ร้านอาหารริมทางต่างๆ สามารถมาใช้ครัวของร้าน “อร่อยดี” ในการปรุงอาหารเพื่อขาย
ส่วนผลประโยชน์รายได้ก็ขึ้นอยู่กับข้อตกลงที่ดีลกันไว้ โดยตอนนี้มี Street Food 2 ร้าน ที่ตกลงเข้ามาใช้ครัวร้านอร่อยดี
คือ ร้านโจ๊กกองปราบ และ ร้านหมูทอดประมวญ
1
จะเห็นได้ว่า CRG ได้เปลี่ยนวิธีคิดในการทำธุรกิจจากหน้ามือเป็นหลังมือ เลยทีเดียว
จากในอดีตที่คิดว่า ตัวเองสามารถอยู่รอดและเติบโตได้โดยไม่ต้องพึ่งพาหรือเข้าร่วมธุรกิจกับใคร
แต่...ปัจจุบันเราได้เห็นแล้วว่าบริษัท CRG ที่มีอายุกว่า 40 ปีกำลัง “คิดใหม่ ทำใหม่”
สิ่งที่น่าติดตามก็คือเหล่าบรรดาร้านอาหารยักษ์ใหญ่รายอื่นๆ จะปรับตัวอย่างไรกับยุคนี้
ยุคที่...สนามแข่งเพื่อแย่งชิงยอดขายไม่ได้จำกัดเฉพาะในพื้นที่ศูนย์การค้า
แต่...มันเป็นยุคที่มีสนามรบใหม่เพิ่มขึ้นมาอีกหนึ่งสนาม
ที่ทุกร้านอาหารต้องแย่งชิง 1 มื้อของผู้บริโภคบนหน้าจอสมาร์ตโฟน
โฆษณา