24 พ.ย. 2019 เวลา 07:52 • ข่าว
สถานการณ์กุ้งทั่วโลก ช่วง 6 เดือนแรกของปี 2019
เรามาดูสถานการณ์กุ้งกันว่าเมื่อผ่านไป 6 เดือนแล้วไทยเราอยู่ตรงไหน และเราจะก้าวต่อไปอย่างไร กับสถานการณ์ที่ไม่ได้เป็นเบอร์หนึ่งของการผลิต
ผู้ส่งออกหลัก:
เอกวาดอร์ 🇪🇨: 315,100 ตัน (+29.8%)
อินเดีย🇮🇳: 284,900 ตัน (-2.9%)
เวียตนาม 🇻🇳: 120,000 ตัน (-14.3%)
อินโดนีเซีย 🇮🇩: 94,200 ตัน (-0.9%)
ไทย 🇹🇭: 76,900 ตัน (-1.6%)
จีน 🇨🇳: 74,900 ตัน (-16.6%)
จากข้อมูลผู้ส่งออกจะเห็นว่าไทยเราเป็นผู้ส่งออกลำดับที่5 ของตลาดกุ้งโลก และเอกวาดอร์คือผู้นำการส่งออก ในช่วงครึ่วแรกของปีแบะมีแนวโน้มว่าจะนำม้วนเดียวจบในปี2019 คาดการณ์ว่าเอกวาดอร์จะผลิตกุ้งได้ประมาณ 690,000 ตัน โดยอินเดียจะตามมาเป็นอันดับที่สองที่ประมาณ 600,000 ตัน
สำหรับอินเดียในปีที่แล้วนั้นเป็นผู้ผลิตเบอร์หนึ่งของโลก แล้วมาเจอปัญหาราคาตกต่ำในช่วงปลายปี เนื่องจากปัยหาหลักคือห้องเย็นไม่เพียงพอที่จะรองรับกับปริมาณกั้งที่ผลิตได้ ทำให้ตั้งแต่ปลายปีที่แล้วต่อต้นปีนี้ผู้เลี้ยงกุ้งอินเดียชลอการลงกุ้งรวมถึงปัญหาเรื่องโรคก็เป็นอีกส่วนหนึ่งที่ทำให้ผลผลิตลดลง
สำหรับจีนนั้น เป็นที่ทราบกันอยู่ว่าทำสงครามการค้าอยู่กับอเมริกา จึงทำให้กุ้งที่ส่งออกไปอเมริกานั้นลดลง อีกทั้งจีนเองก็มีความต้องการบริโภคภายในประเทศที่สูงมากขึ้นจนต้องนำเข้ากุ้งจากทั่วโลกเช่นกัน
ผู้นำเข้าหลัก:
2018 2019 %
อียู 365.3 358.7 -1.9
อเมริกา 303.3 301.5 -0.6
จีน 100.0 285.0 +185.8
เวียตนาม 220.0 90.5 -58.9
ญี่ปุ่น 94.0 93.4 -0.7
เกาหลีใต้ 35.8 37.6 +5.4
แคนนาดา 23.2 24.3 +4.7
ในช่วง 6 เดือนแรกจะเห็นว่าตลาดอียูนั้นเป็นตลาดนำเข้าที่ใหญ่มาก นำเข้าสูงสุดในบรรดาประเทศทั้งหมด แม้จะมีปริมาณลดลงเล็กน้อยก็ตาม ไทยเราสูญเสียตลาดอียูมาหลายปีเนื่องจากโดนตัดสิทธิทางภาษี และเมื่อเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา เวียตนามได้ทำข้อตกลง FTA กัยทางอียู ทำให้เวียตนามได้สิทธิทางภาษีลดต่ำลง จึงได้เปรียบผู้ส่งออกของไทย
จากข้อมูลจะเห็นว่าจีนนำเข้าเพิ่มขึ้นเกือบ 2 เท่า เนื่องจากเดิมนั้นเวียตนามนำเข้ากุ้งจากแหล่งต่างๆมาแล้วส่งผ่านด่านทางใต้ดินโดยไม่เสียภาษีศุลกากร และไม่มีการบันทึกข้อมูลการนำเข้า มาปีนี้จีนได้เข้มงวดการนำเจ้ามากขึ้น ทำให้การส่งกุ้งเข้าจีนโดยวิธีการเดิมนั้นทำไม่ได้ จึงเห็นได้จากข้อมูลว่าปริมาณซ่อนเร้นมีจำนวนมหาศาล
เวียดนาม หลังจากที่จีนเข้มงวดเรื่องสินค้าผ่านด่านมากขึ้น ก็เห็นได้ว่าปีนี้เวียตนามก็มีการนำเข้ากุ้งลดลงเกินกว่าครึ่งหนึ่งเมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา
ตลาดเกาหลีใต้และแคนาดาก็ดูว่าน่าสนใจจากปริมาณการนำเข้าที่เพิ่มขึ้น
ดังนั้นจะเห็นได้ว่า นอกจากอเมริกาแล้ว จีน, เกาหลีใต้, แคนาดาก็เป็นตลาดที่มีศักยภาพที่เราควรจะต้องสิ่งเข้าไปหาเพื่อทำตลาด และต้องไม่ลืมตลาดญี่ปุ่นที่ในปีหน้ามี"มหกรรมโอลิปิค 2020" ที่มีนักท่องเที่ยว นักกีฬาเข้ามาในประเทศนับหมื่นราย ก็น่าจะเป็นเป้าหมายได้เช่นกัน
ชอบ ช่วยกดไลค์👍
ถูกใจ ช่วยกดแชร์
กดติดตาม🤳 เพื่อจะได้ไม่พลาดข่าวสารดีๆจากเพจ Mrshrimp🙏🙏🙏
โฆษณา