24 พ.ย. 2019 เวลา 08:49 • ประวัติศาสตร์
โขนเป็นของสูง ลิเกเป็นของไพร่
การแสดงโขนโดยทั่วไปนิยมแสดงเรื่องรามยณะหรือรามเกียรติ์ ในอดีตกรมศิลปากรเคยจัดแสดงเรื่องอุณรุฑ แต่ไม่ได้รับความนิยมมากเท่ากับการแสดงเรื่องรามเกียรติ์ มีหลายสำนวน ทั้งที่มีการประพันธ์ขึ้นในสมัยกรุงศรีอยุธยา กรุงธนบุรีและกรุงรัตนโกสินทร์ โดยเฉพาะบทประพันธ์ในสมัยรัตนโกสินทร์ นิยมแสดงใน รัชกาลที่ 2 ที่กรมศิลปากรได้ปรับปรุงเป็นชุดเป็นตอนสำหรับแสดงเป็นโขนฉาก ในสมัยของพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 ก็เคยทรงพระราชนิพนธ์บทร้องและบทพากย์ไว้ถึง 6 ชุด ได้แก่ ชุดนางสีดาหาย ชุดเผากรุงลงกา ชุดพิเภกถูกขับ ชุดจองถนน ชุดประเดิมศึกลงกาและชุดนาคบาศ
โขน คนที่ดูคือบุคคลชั้นสูง เล่นมาอย่างไรก็ต้องเล่นไปตามนั้น
ลิเก คนที่ดูคือชาวบ้านตาดำๆ มีแทรกตลกโปกฮา ชาวบ้านชอบใจ
วัยรุ่นสมัยนี้ ให้ลองมาดูโขน ที่ไม่ทันยุคสมัย ส่วนใหญ่ 5 นาทีก็หลับสนิทแล้วครับ
โฆษณา