Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
ร้อยเวร_ว.4
•
ติดตาม
26 พ.ย. 2019 เวลา 14:17 • การศึกษา
“แรกรักร่วมสร้าง …. เมื่อร้างราเป็นของใคร”
ตอนแรกรักนั้น …. ต่างฝ่ายก็พร้อมที่จะเอาทุกอย่างให้กับอีกฝ่ายหนึ่ง พร้อมที่จะร่วมกันสร้างไปด้วยกัน เราไม่ค่อยที่จะคิดหรอกว่า สักวันหนึ่งเราจะเลิกกัน .. ใครบ้าที่ไหนจะไปคิดอย่างนั้น น่าจะแปลกคนอยู่เหมือนกัน โดยส่วนใหญ่เราก็จะคิดเพียงแต่ว่าอยากจะแก่เฒ่าไปด้วยกัน ซึ่งก็น่าจะเป็นความคิดที่ถูกต้องแล้ว
ทั้งนี้ ทรัพย์สินที่ใช้สร้างชีวิตของครอบครัว หลักๆก็จะมีบ้านกับรถ แต่เนื่องจากมันเป็นทรัพย์สินที่ค่อนข้างจะราคาสูงพอสมควร ถ้าซื้อคนเดียวก็คงลำบาก แต่ถ้ามีคนช่วยค่างวดช่วยผ่อนก็พอที่จะแบ่งเบากันไปได้สบาย
แน่นอนล่ะ…ชีวิตมันไม่ราบรื่นเสมอไป !!
ดังเช่นเรื่องนี้ที่มีอยู่ว่า … ในเวลาที่ทำสัญญาเช่าซื้อรถ ก็ต้องมีคนหนึ่งที่เป็นคนทำสัญญา และส่วนใหญ่ผู้หญิงจะเป็นคนทำสัญญาเช่าซื้อรถ (ชายก็อาจจะบอกว่าชื่อเธอรถก็จะได้เป็นของเธอ) แต่คนที่ใช้รถมักจะเป็นฝ่ายชาย ค่อยไปรับไปส่ง...
เมื่อถึงวันที่รักหมดโปรโมชั่น ….
ปัญหาว่าทรัพย์ที่ช่วยกันผ่อนนั้นเป็นของใครกันแน่ เมื่อความรักมันพังทลายฉันใด สิ่งที่ร่วมกันสร้างมาก็พังฉันนั้น … เมื่อเลิกกัน ฝ่ายชายก็มักจะเอารถไปใช้โดยตกลงกันว่า จะเป็นคนที่ผ่อนต่อเอง … แต่ก็อย่างที่ร้อยเวรบอกในตอนแรกว่าทรัพย์มันมีราคาสูง ถ้าคนหนึ่งต้องจ่ายคนเดียวอาจจะทำให้จ่ายไม่ไหว สุดท้ายก็เป็นไปตามนั้น ฝ่ายชายทนจ่ายไปได้แค่ ๑ – ๒ งวด สุดท้ายก็ขาดส่ง ทางไฟแนนซ์ก็ทำหนังสือทวงถามไปยังฝ่ายหญิงซึ่งเป็นผู้เช่าซื้อ เป็นเหตุให้มีการทวงถามหารถเจ้าปัญหา ฝ่ายชายก็ไม่อยากคืนต้องการเอาไว้ใช้แต่ก็ไม่มีเงินส่งต่อ หนีไม่พันต้องมาแจ้งความดำเนินคดีกัน …
และที่แน่นอนที่สุด…ไฟแนนซ์ไม่รับรู้หรอกว่า หญิงและชายจะตกลงกันเช่นไร แต่ไฟแนนซ์จะยึดถือตัวสัญญาเป็นหลัก เขาจะตามจากคู่สัญญา ส่วนฝ่ายหญิงจะไปแจ้งความดำเนินคดีกันก็ว่ากันไปอีกเรื่องหนึ่ง
สุดท้าย “ความสัมพันธ์ในฐานะหนึ่งอาจจะจบลง…แต่ที่ผ่านมาก็น่าจะไม่ไร้ค่าเกินไป” เมื่อเลิกรากัน ก็ไปตกลงเปลี่ยนคู่สัญญากับไฟแนนซ์ให้เรียบร้อย … เรายังเป็นเพื่อนกัน ช่วยเหลือกัน เหมือนแต่ก่อนได้นะ ^^
2 บันทึก
19
6
1
2
19
6
1
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย