26 พ.ย. 2019 เวลา 17:41 • วิทยาศาสตร์ & เทคโนโลยี
โรงไฟฟ้าแบตเตอรี่ที่ใหญ่ที่สุดในโลกของ Tesla มีแผนขยายความจุขึ้นอีก 50 % ⚡👍
1
ทำให้สถานีกักเก็บพลังงานไฟฟ้าด้วยแบตเตอรี่แห่งนี้สามารถเก็บพลังงานเพียงพอที่จะจ่ายไฟให้กับบ้านเรือนกว่า 45,000 หลังเมื่อแล้วเสร็จ
สถานีกักเก็บพลังงานไฟฟ้าด้วยแบตลิเธียมของ Tesla และ Wind Farm ของ Neoen's Hornsdale ในออสเตรเลียใต้
Neoen บริษัทยักษ์ใหญ่ด้านพลังงานของฝรั่งเศษเจ้าของ Hornsdale Power Reserve สถานีกักเก็บพลังงานไฟฟ้าด้วยแบตเตอรี่ที่ใหญ่ที่สุดในโลกได้ประกาศแผนเพิ่มความจุขึ้นอีก 50 %
2
โดยสถานีแห่งนี้ปัจจุบันได้ทำหน้าที่เป็นเหมือนโรงไฟฟ้าขนาด 100 เมกกะวัตต์กักเก็บพลังงานไฟฟ้าได้ 129 เมกกะวัตต์-ชั่วโมง (129,000 หน่วย) เพียงพอที่จะจ่ายให้กับบ้านเรือน 30,000 หลังเป็นเวลา 8 ชั่วโมง
ตั้งอยู่ติดกับ Hornsdale Wind Farm ซึ่งผลิตไฟฟ้าด้วยกังหันลมและนำมากเก็บไว้ในแบตเตอรี่ ทำให้โปรเจคนี้เป็นการผสมกันระหว่างระบบกักเก็บพลังงานและการผลิตไฟฟ้าด้วยพลังงานหมุนเวียน
เครดิตภาพ: Hornsdale Power Reserve
เริ่มก่อสร้างในปี 2017 ด้วยการรับปากจาก Elon Musk ว่าถ้าทำไม่เสร็จใน 100 วันให้ฟรีเลยเอ๊า ซึ่งสุดท้าย Tesla ของ Elon ก็สร้างสถานีแห่งนี้เสร็จได้ทันตามกำหนดไม่เกิน 100 วัน 😯👍
และในปีแรกของการดำเนินงาน Hornsdale ก็ได้ช่วยลูกค้าของสถานีแห่งนี้ ประหยัดเงินในกระเป๋าไปได้ถึง 50 ล้านดอลล่าสหรัฐฯ
ประหยัดได้ไง บางคนอาจจะสงสัย?
อย่างนี้ครับ ในบางประเทศที่ค่าไฟแต่ละช่วงเวลาต่างกันมาก ๆ เช่น ตอนความต้องการใช้ไฟสูง (ตอนหกโมงเย็นถึงเที่ยงคืน) ค่าไฟอาจจะแพงถึงหน่วยละ 10 บาท หลังจากนั้นหน่วยละ 4 บาท
Hornsdale ก็ไปเสนอขายไฟให้ลูกค้าหน่วยละ 8 บาทในช่วงค่าไฟแพง โดยการเก็บไฟไว้ขายในช่วงค่าไฟแพง ลูกค้าได้ใช้ไฟราคาถูกลง Hornsdale ได้ขายไฟ 8 บาทแน่นอน Win-Win
ทีมงานของ Tesla กำลังติดตั้งอุปกรณ์ให้กับ Hornsdale Power Reserve
ทำให้ Hornsdale เป็นที่แรกของโลกที่พิสูจน์ให้เห็นว่าโมเดลทางธุรกิจนี้มันสามารถทำกำไรให้กับกิจการจนสามารถชำระหนี้ให้กับกองทุนสนับสนุนพลังงานหมุนเวียนได้
โดยไม่ต้องอาศัยการอุดหนุนจากภาครัฐ เพื่อกระตุ้นการใช้พลังงานหมุนเวียนอย่างที่ทำกันอยู่ อย่างบ้านเราเองก็เช่นกันที่ภาครัฐต้องเอาเงินไปอุดหนุนค่าไฟที่ผลิตจากพลังงานหมุนเวียน
ซึ่งการประกาศขยายความจุเพิ่มเป็น 150 เมกกะวัตต์นี้อยู่ใน Rode Map การปลดปล่อยออสเตรเลียจากการใช้พลังงานจากเชื้อเพลิงฟอสซิลในการผลิตไฟฟ้า
แผนถัดไปมู่งสู่ 3,000 เมกกะวัตต์
โรงไฟฟ้าแบตเตอรี่หรือสถานีกักเก็บพลังงานด้วยแบตเตอรี่นี้จะเข้ามาปิดจุดอ่อนของพลังงานหมุนเวียนเช่น ลม และแดด ที่ไม่มีความแน่นอนในการผลิตไฟฟ้าเวลาไม่มีลม หรือไม่มีแดด
และยังเป็นช่วยเสริมความมั่นคงของระบบไฟฟ้าจากการเป็นแหล่งจ่ายไฟที่ตอบสนองต่อความต้องการใช้ไฟฟ้าในระบบได้อย่างรวดเร็ว
การผสมผสานกันระหว่างระหว่างระบบกักเก็บพลังงานไฟฟ้ากับการผลิตไฟฟ้าด้วยพลังงานหมุนเวียน อาจเป็นคำตอบของโลกสีเขียวในอุดมคติ
จากเดิมที่ต้นทุนของระบบผสมที่สูงจนส่งผลกระทบต่อโครงสร้างราคาค่าไฟ นี่เป็นครั้งแรกที่ระบบนี้สามารถดำเนินงานจนมีกำไรอยู่ได้ได้โดยไม่ต้องพึ่งพาเงินอุดหนุน
แต่โครงการนี้ก็ยังได้รับเงินสนับสนุนจากรัฐบาลออสเตรเลีย โดยสนับสนุนเงินทุนก่อสร้างโครงการ 8 ล้านเหรียญฯ และเงินสนับสนุนการดำเนินงานอีกปีละ 3 ล้านเหรียญฯ
สาเหตุที่โครงการนี้ประสบความสำเร็จได้และระบบผสมในการผลิตและกักเก็บไฟฟ้าที่ผลิตจากพลังงานหมุนเวียนดูมีอนาคต ก็เนื่องมาจากแนวโน้มราคาแบตเตอรี่และแผงโซล่าเซลที่ถูกลงเรื่อย ๆ และคาดว่าจะถูกลงไปอีก
คาดการณ์ราคาของระบบกักเก็บพลังงานด้วยแบตเตอรี่ลิเธียม
ด้วยการลงทุนมหาศาลในการวิจัยเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและลดต้นทุนการผลิตแบตเตอรี่ทำให้มีราคาถูกลงอย่างต่อเนื่อง
1
ความต้องการเป็นแรงผลักดันให้แบตเตอรี่ลิเธียมมีมูลค่าในการใช้งานเพิ่มจาก 2 เป็น 8 เท่า
ในอนาคตหากโมเดลธุรกิจนี้สามารถอยู่ได้ด้วยตัวเอง การปลดปล่อยโลกจากการใช้พลังงานเชื้อเพลิงฟอสซิลก็คงไม่ใช่แค่ฝัน
แต่ทั้งนี้ก็อย่าเพิ่งรีบดีใจไป ในหลาย ๆ ประเทศที่โครงสร้างค่าไฟยังไม่เอื้อต่อการใช้โมเดลธุรกิจนี้อย่างเช่นบ้านเรา
อันเนื่องจากค่าไฟเฉลี่ยค่อนข้างถูกและความแตกต่างราคาค่าไฟแต่ละช่วงไม่มาก คงต้องใช้เวลาอีกพักใหญ่กว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงได้
ก็ถือเป็นก้าวแรกสู่โลกสีเขียว หวังว่าจะก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงเป็นลูกโซ่ต่อเรื่อย ๆ จากการพัฒนาเทคโนโลยี 😉

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา