Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
ประวัติศาสตร์ สถาบันกษัตริย์
•
ติดตาม
27 พ.ย. 2019 เวลา 06:24 • ประวัติศาสตร์
เครื่องแต่งกายประจำชาติภูฏาน เพื่อความเป็นภูฏาน หรือ เพื่ออิทธิพลทางการเมือง
สมเด็จพระราชาธิบดีจิกมี ซิงเย วังชุกสละราชบัลลังก์แก่สมเด็จพระราชาธิบดีจิกมี เคเซอร์ นัมเกล วังชุก พระโอรส ในปีค.ศ. 2006 (ภาพจาก: http://cache.boston.com/universal/site_graphics/blogs/bigpicture/bhutan_11_07/b01_16975043.jpg?fbclid=IwAR3xK1XqXamAMShhQIFvX_1-Zy3FwwftrE-9LYkRDzkxxQQ2MFPDwaoRhpk)
จากที่ทุกท่านเคยเห็นในภาพข่าว หรือ เวลาไปท่องเที่ยวภูฏาน ก็คือ การแต่งกายด้วยชุดประจำชาติ ซึ่งภูฏานถือเป็นหนึ่งในประเทศที่มีการอนุรักษ์การแต่งกายประจำชาติอย่างดีเยี่ยม ชุดประจำชาติภูฏานของฝ่ายชายเรียกว่า โก (Kho หรือ Go) ส่วนชุดของฝ่ายหญิงเรียกว่า คีรา (Kira) ประชาชนชาวภูฏานสวมใส่กันทุกชนชั้นไม่ว่าจะเป็นพระมหากษัตริย์ตลอดจนถึงชาวบ้านธรรมดาสามัญ ชุดประจำชาตินี้เรียกว่า Driglam namzha
นโยบายการแต่งชุดประจำชาติของภูฏานนี้เป็นกุศโลบายที่เกิดขึ้นโดยชนชั้นนำของสังคมภูฏาน อันเนื่องมาจากประเทศภูฏานเป็นหนึ่งในประเทศที่มีความหลากหลายทางชาติพันธ์ุ ซึ่งมีจำนวนมากพอๆกัน ที่สำคัญคือ กลุ่มของชาวภูฏานซึ่งเป็นชนชั้นปกครอง และกลุ่มชาวเนปาลโดยกำเนิด อยู่ทางตอนใต้ของประเทศ และมีกลุ่มผู้อพยพ ที่เข้ามาในราวปีค.ศ. 1865 - 1930 ซึ่งส่วนใหญ่พูดภาษาเนปาล
ชาวภูฏานในชุดประจำชาติ (ภาพจาก: https://upload.wikimedia.org/wikipedia/commons/f/f1/Bhutanese_people.jpg?fbclid=IwAR2j85VHI6bAXlsZ97SblOA9PPpdhvqpGsue1TwOWqirkZlfaZGglVP_AmA)
จากความหลากหลายทางชาติพันธ์ุข้างต้นจะสังเกตได้ว่านับตั้งแต่ราชวงศ์วังชุกซึ่งได้ปกครองภูฏานอย่างสงบสุขท่ามกลางความไม่สงบของประเทศเพื่อนบ้านและนโยบายที่เปิดรับผู้อพยพได้ทำให้ ทางรัฐบาลกลางเริ่มตระหนักถึงภัยคุกคามถ้าหากกลุ่มเนปาลได้พยายามเข้ามามีบทบาททางการเมืองและในสังคมมากขึ้น และเกรงว่าชาวภูฏานจะถูกกลืนชาติแทน
ปีค.ศ. 1991 กษัตริย์จิกมี ซิงเย วังชุก กษัตริย์พระองค์ที่ 4 แห่งราชวงศ์วังชุก และรัฐมนตรีของพระองค์ทรงออกมาเคลื่อนไหวเพื่อรักษาไว้ซึ่งวัฒนธรรม และความเป็นภูฏาน ในช่วงนี้ภูฏานได้มีการออกกฎหมายมากมายทั้งในเรื่องการแต่งงาน การเป็นเจ้าของที่ดิน ความเป็นพลเมืองและการสวมใส่เครื่องแต่งกาย ในปีค.ศ. 1989 รัฐบาลได้ยกสถานะของเครื่องแต่งกายจาก "แนะนำ" ให้สวมใส่ มาเป็น "ข้อบังคับ" จากนั้นประชาชนทุกคนจะต้องสวมใส่ชุดประจำชาติโดยตลอดขณะอยู่ในที่สาธารณะ และในเวลาทำงาน เครื่องแต่งกายนี้คือ ความเป็นภูฏานที่ตอกย้ำผ่านมาจากศาสนาพุทธมหายาน เรื่องราวของดินแดนแห่งมังกรสายฟ้า หรือ ภูฏาน ผ่านมายังราชวงศ์วังชุก ผู้ปกครอง มาสู่สังคมภูฏาน และปฏิเสธวัฒนธรรมตะวันตกอย่าง กางเกงยีนส์ การดำเนินการนี้อยู่ภายใต้แนวคิดว่า เราทั้งหมดคือภูฏาน
ผู้ลี้ภัยชาว Lotshampa ในภูฏาน (ภาพจาก: https://upload.wikimedia.org/wikipedia/commons/9/9e/Lotshampa_refugees_in_Beldangi_Camp.jpg?fbclid=IwAR1x2CV4Ic3vvjEQDIaMkMLIFVLMC_PYf-Fz7U62ZiTqEgRCMc9cP1QvwsE)
แน่นอนว่าการบังคับนี้ได้บังคับสู่กลุ่มชาติพันธ์ุอื่นและผู้อพยพด้วย พระราชกฤษฎีกานี้ทำให้เกิดความขุ่นเคืองแก่กลุ่ม Lhotshampa ซึ่งเป็นชนชาติที่พูดภาษาเนปาล ที่ได้ออกมาต่อต้านการใส่ชุดของพวก Ngalop หรือชาวภูฏานที่ปกครองอยู่ในปัจจุบัน ซึ่งกลุ่มเหล่านี้ไม่พอใจอยู่แล้วในกฎหมายสำมะโนประชากรที่ออกมาในปีค.ศ. 1988 คนกลุ่มนี้เริ่มไม่แน่ใจว่าสิทธิของพวกเขายังคงถูกริดรอนมากกว่านี้ไหม ซึ่งในความเป็นจริงแล้วกระบวนการเหล่านี้ถือเป็นความพยายามของรัฐบาลภูฏานในการผลักดันกลุ่มคนเหล่านี้ออกนอกประเทศ มีการทารุณกรรม ข่มขืน กักขัง หน่วงเหนี่ยว ชนกลุ่มเหล่านี้โดยกองกำลังความมั่นคงภูฏาน ซึ่งอาจจะไม่ต่างกับที่กองทัพพม่าทำกับชนกลุ่มน้อย
ประชาคมโลกให้ความสำคัญต่อประเด็นนี้เล็กน้อยเพราะหลายคนอาจจะไม่เชื่อว่าภูฏานมีเรื่องโหดร้ายแบบนี้ แต่ก็มีความสนใจทีละเล็กน้อยจนมากขึ้นและได้บีบให้ภูฏานให้เสรีภาพแก่คนเหล่านี้มากขึ้น ภูฏานเริ่มถูกเพ่งเล็งถึงการใช้อำนาจที่เข้มงวดของระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ แต่แนวทางของราชวงศ์วังชุกที่ชาญฉลาดได้ทำการปรับปรุงระบบการเมืองให้ทันสมัยและเปลี่ยนการปกครองมาเป็นราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญในปัจจุบัน เรื่องราวของเครื่องแต่งกายก็ยังคงมีการบังคับใช้จนทุกวันนี้ซึ่งยังคงสะท้อนถึงพลังต่างๆในหลายๆมิติที่นอกเหนือจากแค่คำว่า "เครื่องแต่งกาย"
อ้างอิง
- สารคดี Asia's Monarchies - Bhutan
-
https://en.wikipedia.org/wiki/Driglam_namzha
บันทึก
6
3
6
3
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย