28 พ.ย. 2019 เวลา 05:20 • สุขภาพ
ถั่งเช่าคืออะไร ประโยชน์ วิธีใช้ และผลข้างเคียง
Doctor men
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HONESTDOCS
Doctor men
รีวิวโดย
ทีมแพทย์ HONESTDOCS
การรักษา
ถั่งเช่าคืออะไร ประโยชน์ วิธีใช้ และผลข้างเคียง
ราชาแห่งสมุนไพรสุดเลอค่าที่สามารถรักษา ยับยั้ง และป้องกันการเกิดโรคได้ แต่ต้องใช้อย่างถูกวิธี
อัปเดตล่าสุดเมื่อวันที่ 26 พ.ย. 2019 รีวิวเมื่อวันที่ 26 พ.ย. 2019 ประมาณเวลาการอ่าน: 4 นาที
มีคนอ่านบทความนี้แล้ว 1,855,165 คน
แชร์บทความนี้
Facebook
ถั่งเช่าคืออะไร ประโยชน์ วิธีใช้ และผลข้างเคียง
ถั่งเช่า หรือถั่งเฉ้า หรือหญ้าหนอน ได้ชื่อว่าเป็นสุดยอด หรือราชาแห่งสมุนไพรทั้งหลายเพราะมีประโยชน์ต่อสุขภาพและมีสรรพคุณทางยามากมาย ด้วยเหตุนี้จึงมีการนำถั่งเช่ามาใช้เป็นยาดังปรากฏในตำราแพทย์แผนจีนมาแล้วกว่าพันปี ปัจจุบันถั่งเช่าเป็นสมุนไพรที่หายากและมีราคาแพงมาก
ถั่งเช่าคืออะไร
ดูเผินๆ อาจจะเป็นพืชแต่แท้จริงแล้ว ถั่งเช่า (Cordyceps) เป็นเห็ดชนิดหนึ่ง ส่วนเหตุที่เรียกกันว่า หญ้าหนอน เนื่องจากมีการเจริญเติบโต 2 ส่วนด้วยกันคือ ส่วนที่เป็นตัวหนอนผีเสื้อซึ่งมีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Hepialus armoricanus Oberthiir อีกส่วนคือ เห็ดที่มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Cordyceps sinensis (Berk) Saec.
เห็ดและหนอนมาอยู่ด้วยกันได้อย่างไร
หนอนผีเสื้อชนิดนี้มีถิ่นกำเนิดอยู่ตามเทือกเขาสูงที่มีอากาศหนาวจัดและชื้นจัด ในฤดูหนาวเห็ดจะฝังตัวอยู่ใต้หิมะจนกระทั่งใกล้เข้าสู่ฤดูร้อน อุณหภูมิเริ่มอุ่นขึ้นทำให้น้ำแข็งเริ่มละลายและบางส่วนก็กลายเป็นน้ำพัดพาสปอร์ของเห็ดชนิดนี้ไปเรื่อยๆ เมื่อไปตกยังพื้นดินก็กลายเป็นอาหารของตัวหนอนผีเสื้อชนิดหนึ่งไป แต่ผลที่ตามมากลับไม่เป็นเช่นนั้นเมื่อที่สุดแล้วตัวหนอนเหล่านั้นกลับกลายเป็นอาหารของสปอร์เห็ดแทน สปอร์เห็ดจะเจริญเติบโตโดยดูดสารอาหารและแร่ธาตุจากตัวหนอนช้าๆ พร้อมกับเริ่มสร้างเส้นใยส่วนหนึ่งให้งอกออกจากท้องของตัวหนอนและอีกส่วนก็งอกออกจากปากของตัวหนอน จากนั้นก็เข้าควบคุมสมองของตัวหนอนและบังคับให้ตัวหนอนคลานขึ้นสู่ผืนดินเพื่อให้เห็ดได้รับแสงอาทิตย์นั่นเอง ถึงเวลานั้นตัวหนอนก็จะอ่อนแรงถึงขั้นสุดและตายลง ชาวจีนจึงเรียกชื่อพวกมันว่า "ตังถั่งเช่า" หมายถึง “ฤดูหนาวเป็นหนอน ฤดูร้อนเป็นหญ้า”
ลักษณะ
ส่วนที่เป็นเห็ดจะดูคล้ายเถาไม้แห้งๆ สีน้ำตาลอ่อนไปจนถึงน้ำตาลเข้ม ส่วนที่เป็นหนอนตายซากจะดูคล้ายๆ ไม้กระบองสีออกเหลือง หรือเหลืองทอง ทั้งหมดนี้คือ ส่วนที่นำมาทำยา
พบมากที่ไหน
พบได้มากที่ทุ่งหญ้าบนภูเขาระดับความสูง 10,000 - 12,000 ฟุตจากระดับน้ำทะเล บางมณฑลในประเทศจีน ทิเบต เทือกเขาหิมาลัย เนปาล และภูฏาน
ประโยชน์
มีสรรพคุณเป็นสมุนไพรทางยาโดยช่วยป้องกันและรักษาโรค ทุกส่วนของถั่งเช่านั้นมีประโยชน์ต่อร่างกาย เนื่องจากประกอบไปด้วยโปรตีน กรดอะมิโน วิตามินบี1 วิตามินบี2 วิตามินบี12 วิตามินอี วิตามิน เค แร่ธาตุต่างๆ เช่น แคลเซียม แมกนีเซียม ซิลีเนียม โพแทสเซียม โซเดียม สารที่เป็นประโยชน์ เช่น สารคอร์ไซปิน กรดคอร์ไดเซปิก (cordycepic) และสารสเตอรอล (ergosterol, beta-sitosterol) เป็นต้น โดยนิยมผลิตออกมาในรูปแบบของชาและยาชนิดเม็ด หรือน้ำ
ช่วยฟื้นฟูการทำงานของไตและลดภาวะแทรกซ้อนจากโรคไต ช่วยทำให้ไตกลับมาทำงานได้ดีขึ้น ลดระดับไข่ขาวในปัสสาวะ และลดความดันโลหิตได้
ช่วยให้ระบบไหลเวียนโลหิตทำงานดีขึ้น หมุนเวียนได้ทั่วร่างกาย ช่วยบำรุงเลือด เสริมสมรรถภาพทางเพศ เพิ่มจำนวนอสุจิและบำรุงให้อสุจิแข็งแรง ทำให้การเต้นของหัวใจเป็นปกติ รวมทั้งเพิ่มออกซิเจนให้หัวใจอีกด้วย
ลดไขมันและน้ำตาลในเส้นเลือด สามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด ได้ถึง 95% จึงดีต่อผู้ป่วยโรคเบาหวาน
ควบคุมระดับไขมันในเลือด ลดคอเลสเตอรอล และไขมันไตรกลีเซอร์ไรด์ จึงมีผลช่วยลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจได้ด้วย
บรรเทาอาการโรคหอบหืด การวิจัยเบื้องต้นพบว่า สามารถลดอาการหอบหืดในผู้ใหญ่ได้ แต่ยังไม่มีงานวิจัยที่แน่นอนในเด็ก
มีฤทธิ์ต้านมะเร็ง ยับยั้งเซลล์มะเร็งในระยะลุกลามไม่ให้แพร่กระจาย ลดอาการข้างเคียง อาการอักเสบ และอาการอ่อนเพลียหลังจากการรักษาด้วยเคมีบำบัด ทำให้คุณภาพชีวิตผู้ป่วยดีขึ้นและสามารถทนต่อการรักษาด้วยเคมีบำบัดได้ดีขึ้น
ช่วยเสริมระบบภูมิคุ้มกัน ช่วยลดการสร้างสารที่ก่อให้เกิดการอักเสบได้
ช่วยเพิ่มสมรรถภาพทางเพศ จากการทดลองพบว่า ช่วยเพิ่มความต้องการทางเพศได้ทั้งในผู้หญิงและผู้ชายและสามารถเพิ่มปริมาณอสุจิได้
ลดผลกระทบจากสารพิษ ช่วยให้ตับแข็งแรง ป้องกันการเกิดพังพืด และมีสารต้านอนุมูลอิสระที่ช่วยชะลอการเสื่อมของเซลล์ จึงทำให้แลดูแก่ช้า
วิธีใช้ถั่งเช่าเป็นสมุนไพรทางยา
สายพันธุ์ที่นิยมนำมาใช้เป็นสมุนไพรทางยามีด้วยกัน 2 สายพันธุ์ ขึ้นอยู่กับจุดประสงค์ของการรักษาดังนี้
ถั่งเช่าทิเบต (ถั่งเช่าแท้) ปริมาณการบริโภคคือ ไม่ควรเกินวันละ 8 กรัม/คน/วัน
ถั่งเช่าสีทอง (เพาะเลี้ยง) ปริมาณการบริโภคคือไม่เกินวันละ 3 กรัม/คน/วัน
กรณีที่ 1 แคปซูล บรรจุ 500 มิลลิกรัม เช่น S-Tangchao ต้องการบำรุงร่างกายควรรับประทานเพียงวันละ 2 แคปซูล หากมีโรคประจำตัวให้รับประทาน 4 แคปซูล หรือถ้าเป็นโรคที่รุนแรงให้รับประทาน 6 แคปซูล หรือสามารถดูสินค้าเพิ่มเติม ตรงนี้ได้เลย
กรณีที่เป็นดอกชนิดใช้ชงก็ควรใช้ปริมาณไม่เกิน 1 กรัม/คน/ วัน หากต้องการรับประทานร่วมกันหลายคนให้ชงไม่เกิน 3 กรัม
ทั้งนี้การรับประทานแบบแคปซูล หรือแบบชง ต้องระมัดระวังการบริโภคไม่เกินวันละ 3 กรัม/คน/วัน และผลลัพธ์ที่ได้ หรือการเปลี่ยนแปลงต่างๆ ขึ้นอยู่กับแต่ละบุคคล
ผลข้างเคียงของการใช้ถั่งเช่า
มีฤทธิ์เสริมกับยาปฏิชีวนะที่อาจให้ผลมากเกินไปเพราะถั่งเช่าจะมีฤทธิ์ช่วยลดระดับน้ำตาลในเส้นเลือด อย่างเช่นผู้ป่วยโรคเบาหวาน หรือโรคความดันโลหิตสูง อาจทำให้น้ำตาลลดมากเกินไปจนเป็นอันตรายได้
ผู้ป่วยที่กำลังได้รับยาป้องกันการเกาะกลุ่มของเกล็ดเลือดและผู้ที่กำลังเป็นแผลขนาดใหญ่ หรือผู้ที่กำลังจะเข้ารับการผ่าตัด ไม่ควรรับประทานถั่งเช่าเพราะมีฤทธิ์ทำให้เลือดแข็งตัวช้า ต้านการเกาะกลุ่มของเลือดจึงอาจทำให้เกิดอาการรุนแรงได้
ถั่งเช่าคือเห็ดที่เจริญเติบโตในตัวหนอน ฉะนั้นผู้ที่มีอาการแพ้เห็ดไม่ควรรับประทานถั่งเช่า เพื่อหลีกเลี่ยงอาการแพ้ที่อาจเกิดขึ้นได้
ผู้ที่ได้รับยากดภูมิคุ้มกันควรระมัดระวังการรับประทานถั่งเช่าเป็นพิเศษ เนื่องจากถั่งเช่ามีฤทธิ์กระตุ้นภูมิคุ้มกัน
ผู้ป่วยโรคเบาหวานควระมัดระวังการรับประทานถั่งเช่าเป็นพิเศษ เนื่องจากถั่งเช่ามีฤทธิ์ลดระดับน้ำตาลในเลือดจึงอาจทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดต่ำเกินไป
สำหรับหญิงตั้งครรภ์และให้นมบุตรยังมีข้อมูลความปลอดภัยของการใช้ที่เชื่อถือได้ไม่เพียงพอ ดังนั้นหากคุณกำลังตั้งครรภ์ หรือให้นมบุตร เพื่อความปลอดภัยควรหลีกเลี่ยงการใช้ถั่งเช่า
การรับประทานถั่งเช่าเป็นอีกทางเลือกหนึ่งในการบรรเทาอาการของโรคและเสริมสร้างความแข็งแรงของร่างกาย อีกทั้งยังจัดว่า เป็นสมุนไพรที่มีฤทธิ์แรงด้วยเช่นกัน ดังนั้นการใช้ถั่งเช่าให้เกิดประโยชน์สูงสูดควรอยู่ภายใต้การดูแลของแพทย์เพื่อป้องกันผลเสีย หรืออาการข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้นกับร่างกายได้
ที่มาของข้อมูล
G.H. Sung, J.M. Sung, Hywel-Jones & Spatafora. (2007). Ophiocordyceps sinensis (Berk.). Studies in Mycology 57: 46 (2007) [MB#504340]
Chen, S., Li, Z., Krochmal, R., Abrazado, M., Kim, W., and Cooper, C. B. Effect of Cs-4 (Cordyceps sinensis) on exercise performance in healthy older subjects: a double-blind, placebo-controlled trial. J Altern.Complement Med 2010;16(5):585-590. View abstract.
Cheng JH, Guo XM, and Wang X. Analysis of therapeutic effects of Jinshuibao capsule in adjuvant treatment of 20 patients with terminal stage of lung cancer. J Administration Traditional Chinese Med 1995;5(Suppl):34-35.
ดูข้อมูลอ้างอิงเพิ่ม
บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้
โฆษณา