28 พ.ย. 2019 เวลา 06:32 • การศึกษา
⛈Thunderstorm-⛈
⛈Thunderstorm (Thunder = ฟ้าร้อง , Storm = พายุ) แปลว่าพายุฝนฟ้าคะนอง ซึ่งพายุฝนฟ้าคะนองจะเกิดได้ ต้องประกอบด้วย 3 องค์ประกอบหลัก ทำให้เกิดพายุฝนฟ้าคะนอง ได้แก่ Unstable lapse rate , Lifting Force , Relative high moisture
- ✅Unstable lapse rate >>> ก่อนเข้าใจตัวนี้ เรามาพูดถึง Standard lapse rate กันก่อนนะครับ Standard lapse rate คือ อัตราที่อุณหภูมิลดลง 2 °C ต่อความสูงที่สูงขึ้น 1000 ฟุต ดังนั้นถ้า Unstable หมายความว่าอุณหภูมิไม่ได้ลดตามหลักของ Standard Lapse rate นั่นเอง ซึ่งแต่ละพื้นที่จะมี Lapse rate ไม่ได้เท่ากัน ขึ้นกับภูมิประเทศ อุณหภูมิ ของแต่ละที่นั้นๆ เช่น ภูเขาบริเวณชายฝั่ง ช่วงลมพัดขึ้นภูเขา Lapse rate ก็จะไม่ใช่แบบ Standard lapse rate นั่นเองครับ
- ✅Lifting Force >>> มันคือแรงลมที่พัดความชื้นขึ้นไป จะสังเกตว่า เราจะเห็นเมฆเกิดบริเวณตรงเขามากกว่าตรงพื้นที่ราบใช่ไหมครับ นั่นเพราะเมื่อมีลมพัดผ่านส่วนโค้งของเขา มันเลยพัดเอาความชื้นขึ้นไปง่ายกว่าพื้นราบนั่นเอง
- ✅Relative high moisture level >>> ความชื้น , จะเกิดเมฆได้นั้นต้องมีความชื้นที่เพียงพอ เพื่อให้เกิดเมฆ
เมื่อครบองค์ประกอบ 3 อย่างแล้ว เรามาดูวงจรชีวิตเขาเจ้า Thunderstorm กันดีกว่าว่าชีวิตพี่เขาดำเนินอย่างไรกันบ้าง
Thunderstorm จะมีวงจรชีวิตแบ่งเป็น 3 เฟส ใหญ่ๆครับประกอบด้วย
1️⃣Cumulus stage >> 2️⃣Mature stage >>3️⃣ Dissipating stage
**1️⃣Cumulus stage เฟสนี้เมฆจะมี Updrafts , Updrafts คือแรงลมที่พัดขึ้นนั่นเอง (ก็คือเจ้า Lifting Force ที่พูดไปตอนแรก) ซึ่งมีความชื้นเพียงพอก็จะเกิดเมฆขึ้นด้านบนครับ , เจ้า Updrafts นี้มีอัตราเร็วการไต่ขึ้นไปสูงได้ถึงขนาดที่ 3000 feet per minute ก็คือ 3000 ฟุตต่อนาทีนั่นเอง บางครั้งเราบินอยู่วางระดับ เอ๋!! ทำไมตอนแรกเราพ้นเมฆแล้วมันขึ้นมาจากไหนกัน!! อ่อใช่ครับ มันอาจเป็น Thunderstorm ที่อยู่ในเฟสแรกนี่เอง!! ระหว่าง Cumulus stage เมฆ Cumulus ธรรมดาจะพัฒนาได้เป็น Towering Cumulus (TCU) ต่อไปได้อีก ดังนั้น ถ้าเราได้ยินข่าวอากาศ Tempo ที่ไหนว่าจะมี TCU เตรียมน้ำมันเผื่อไว้เลย เพราะอาจจะเจอเจ้า Thunderstorm ตอนไปถึงเลยก็ได้ โอ้ความรู้เน้นๆ!!
**2️⃣Mature stage หลังจากช่วง Cumulus stage แล้วเมื่อเริ่มมีฝนตกสู่พื้น จะเข้าสู่เฟสใหม่ทันทีคือ Mature stage เมื่อมีฝนตกมันบ่งบอกถึงว่ามี Downdrafts ขึ้นแล้ว (คือลมที่พัดลงด้านล่าง) เวลาเจ้า Downdrafts พัดลงพื้นเนี่ยจะส่งผลให้อุณหภูมิเปลี่ยนแปลงอย่างฉับพลัน , ความดันเปลี่ยนแปลง และตัวหนึ่งที่มีผลต่อการบินสุดๆคือ Turbulence ((Turbulence เกิดจากการเปลี่ยนแปลงของ ทิศทางของกระแสอากาศ หรือ ความเร็วของกระแสอากาศ ในระยะทางสั้น))
ซึ่งนอกจากเฟสนี้จะมี Downdrafts แล้วก็ยังมี Updrafts อยู่เช่นกัน ดังนั้น จากนิยาม Turbulence ก่อนหน้านี้ จุดที่น่าจะมี Turbulence รุนแรงสุดคือจุดระหว่าง Downdrafts กับ Updrafts นั่นเอง เรียกเป็นภาษาอังกฤษได้ว่า “Shear” (แปลว่าตัดกัน) หรือเราได้ยินกันอย่างติดหูว่า “Wind Shear” นั่นเองครับ คือจุดที่ลมตัดกันนั่นเองสามารถเกิดจุดใดก็ได้ของเมฆในเฟสนี้ครับ ซึ่งเจ้าเฟส Mature stage ที่สำคัญหลักๆคือ เป็นเฟสที่เจอ Turbulence ได้รุนแรงสุด และมี Heavy rain ครับ เวลานักบินคุยกันว่า “ลมหัวฝนนี่ลมแรงสุดๆ” ก็เพราะ Thunderstorm เข้าเฟส Mature stage แล้วนั่นเอง
** 3️⃣Dissipating stage เมื่อ Downdrafts มีมากกว่า Updrafts จะเข้าสู่เฟสต่อไปครับคือ Dissipating stage หรือเฟสกำลังจะตายของ Thunderstorms เฟสนี้ยังคงมี Light rain อยู่บ้างครับ
โฆษณา