Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
chitchat คุยเรื่อยเปื่อย
•
ติดตาม
28 พ.ย. 2019 เวลา 08:21 • ไลฟ์สไตล์
“พูดได้” กับ “พูดเป็น” คุณจัดอยู่ประเภทไหน
พูดได้ กับ พูดเป็น
เคยไหม เจอหน้าคนนี้แล้วไม่อยากคุยด้วยเลย พูดอะไรก็ไม่รู้ ฟังไม่เข้าหู แต่กลับบางคนเราอยากพูดด้วย อยากคุยด้วย พูดคุยด้วยแล้วมีความสุข สบายใจ เพราะอะไรถึงเป็นเช่นนั้น
การพูดเป็นทักษะสำคัญในการสื่อสารที่บอกถึงความคิด ความรู้สึก อารมณ์ของผู้พูด ดังนั้นการพูดจะสะท้อนให้เห็นถึงนิสัย ความตั้งใจ เจตนา และการใส่ใจของผู้พูดที่มีต่อผู้ฟัง
การพูดที่พูดออกจากใจ จะมีความสัมพันธ์กับแววตาซึ่งจะทำให้ผู้ฟังอ่านใจหรือทายใจเข้าใจตรงกัน ตอบสนองความต้องการได้ถูกต้อง แต่ขณะเดียวกัน การพูดก็สามารถทำให้คนเราไม่เข้าใจกันได้เช่นกัน การพูดส่อเสียด การพูดประชดประชัน การพูดแบบมีเลสนัย การพูดแบบนี้สามารถทำให้คนทะเลาะกันได้
การพูดแบ่งเป็น 2 ลักษณะ คือ “การพูดได้” และ “การพูดเป็น”
"การพูดได้" หมายถึง การที่คนสามารถเปล่งเสียงออกมาเป็นคำพูดต่าง ๆ โดยไม่คำนึงถึงเนื้อหา ความหมาย ผลกระทบของคำพูดผลกระทบที่พูดออกไป
แต่ “การพูดเป็น” นั้น หมายถึงการพูดที่ถูกต้องตามหลักไวยกรณ์ ถูกอักขระ อักษรควบกล้ำ พูดชัดเจน และที่สำคัญกว่านั้นคือการพูดให้เหมาะสมกับบุคคล เวลา สถานที่ อย่างสุภาพ เหมาะสม ทำให้เป็นที่พอใจของผู้ฟัง และเสริมเสน่ห์ให้กับผู้พูดได้เป็นอย่างดี
1
คุณอยากเป็นคนที่ “พูดได้” หรือ “พูดเป็น” อยากเป็นคนพูดได้ ไม่ต้องทำอะไร คิดอะไรก็พูดออกมา ไม่ต้องกลั่นกรองใดๆ ไม่ต้องสนใจว่าผู้ฟังจะรู้สึกอย่างไร ไม่ต้องสนใจผลที่ได้จากการพูดนั้นๆ แต่ถ้าอยากเป็นคน “พูดเป็น” พูดแล้วมีเสน่ห์ พูดแล้วใครๆ ก็อยากฟัง ไม่เกิดความขัดแย้ง พูดแล้วได้สื่อความหมายตามวัตถุประสงค์ที่ผู้พูดต้องการ การพูดเป็น จึงเป็นสิ่งที่สามารถฝึกฝนและพัฒนาได้ ผู้เขียนขอนำเสนอเทคนิคที่ช่วยเสริมสร้างให้คุณเป็น “คนพูดเป็น” หรือพัฒนาการพูดของคุณให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น ลองฝึกกันดูนะคะ
1. พูดอย่างสร้างสรรค์ เป็นการพูดในเชิงบวก โดยพูดให้กำลังใจ ถามทุกข์สุข ชมเชย ไม่ตำหนิ ไม่ดูถูกคนฟัง ไม่ยกตนข่มท่าน หากผู้พูดเก่งไปซะทุกอย่าง รู้ไปซะทุกเรื่อง ย่อมไม่มีผู้ฟังคนไหนต้องการฟังอย่างเต็มใจ การฝึกพูดอย่างสร้างสรรค์ได้ ผู้พูดต้องฝึกคิดเชิงบวก เมื่อคิดเชิงบวก สิ่งที่พูดออกมาก็จะเป็นเชิงบวกเช่นกัน
2. คิดก่อนพูด พูดในสิ่งที่ดี ไม่พูดถึงจุดด้อยของคู่สนทนา เช่น อ้วน ดำ แก่ ผมหงอก เพราะสิ่งเหล่านี้พูดไปจะเป็นการตอกย้ำทำร้ายจิตใจผู้ฟัง คิดกลับกันหากมีใครมาพูดถึงจุดด้อยของตัวเราเราก็ไม่ชอบ คนอื่นก็ไม่ขอบเช่นดียวกัน ดังนั้นควรพูดส่วนที่ดีที่มีลักษณะเด่นของผู้ฟัง เช่น ความสามารถต่างๆ ของคนๆ นั้น ความมีน้ำใจ ความขยัน ความกตัญญู เป็นต้น ซึ่งจะทำให้เกิดการสนทนาที่สร้างสรรค์
3. งดการนินทา แน่นอนว่าการนินทาใคร ๆ ก็ไม่ชอบ เพราะการนินทานั้นย่อมพูดถึงสิ่งที่ไม่ดีของคนนั้น ๆ การนินทาทำให้ผู้พูดมีค่าต่ำลงทันที ไม่เป็นที่ไว้วางใจของคนอื่น การนินทาเป็นที่สนุกปากของคนพูด แต่มีคำกล่าวไว้ว่า “การที่คนๆ หนึ่งพูดถึงคนอีกคนหนึ่ง เราไม่รู้หรอกว่าคนที่ถูกพูดถึงเป็นอย่างไง แต่เรารู้ว่าคนที่พูดถึงผู้อื่นเป็นคนอย่างไร” คนชอบนินทาจะขาดเสน่ห์ในการน่าคบหาจากคนรอบข้าง
4. ยอมรับฟังคนอื่น ไม่ผูกขาดการพูด ให้โอกาสคู่สนทนาได้พูดบ้าง ไม่ใช่จะพูดจะเล่าแต่เรื่องตัวเองอย่างเดียว การพูดอยู่ฝ่ายเดียว ทำให้ขาดโอกาสดีๆ มากมาย เช่น ทำให้ขาดโอกาสได้เรียนรู้ความคิด นิสัยใจคอ ทัศนคติของคู่สนทนา ในขณะที่คู่สนทนาได้ศึกษาเราอย่างทะลุปรุโปร่งไปแล้ว อย่างสุภาษิตจีนที่กล่าวว่า “รู้เขา รู้เรา รบร้อยครั้ง ชนะร้อยครั้ง” ในกรณีนี้เราแพ้แน่นอนเพราะเขารู้เรา แต่เราไม่รู้เขาเลย
5. ประเมินผู้ฟัง คู่สนทนาเราเป็นใคร อยู่ช่วงวัยไหน สนใจหรือชอบอะไร จะได้เลือกเรื่องที่เหมาะ รวมถึงใช้กับพูดที่เหมาะสมกับผู้ฟัง นอกจากนี้ควรดูว่าผู้ฟังมีความพร้อมฟังไหม หากเราพูดในช่วงที่ผู้ฟังไม่พร้อมการพูดอาจไม่บรรลุวัตถุประสงค์ และในขณะพูดความประเมินผู้ฟังด้วย โดยสังเกตความสนใจของผู้ฟัง ว่าฟังเพราะชื่นชอบ ฟังเพราะเกรงใจ หรือฟังเพราะหลีกเลี่ยงไม่ได้ จะได้ปรับสถานการณ์ให้เหมาะสมเพื่อให้การสนทนาดำเนินต่อไปอย่างราบรื่น
การเป็น “คนพูดเป็น” สามารถฝึกกันได้ เมื่อฝึกบ่อยๆ ทำซ้ำๆ ก็จะเกิดเป็นพฤติกรรมอัตโนมัติ การพูดทุกครั้งของเราก็จะมีเสน่ห์ หากทุกคนในโลกนี้เป็นคนพูดเป็น จะทำให้โลกเราน่าอยู่ยิ่งขึ้น
ข้อมูลอ้างอิง: โรงพยาบาลขอนแก่นราชนครินทร์
11 บันทึก
26
24
15
11
26
24
15
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย