30 พ.ย. 2019 เวลา 00:03 • ไลฟ์สไตล์
หากใครนั่งรถผ่านแถวสมุทรปราการบ่อยๆ
คงจะต้องได้ผ่านเห็นงานประติมากรรมขนาดใหญ่
ที่ตั้งตระหง่านอยู่กลางแจ้งเป็นแน่
ประติมากรรมที่ว่านั้นคือ ประติมากรรมช้าง 3 เศียร
ประติมากรรมช้าง 3 เศียรที่ว่านั้นแท้จริงแล้วคือ
“พิพิธภัณฑ์ช้างเอราวัณ” นั้นเอง
ภายในอาคารพิพิธภัณฑ์ช้างเอราวตกแต่งลวดลายออกมาอย่างสวยงามมาก
พิพิธภัณฑ์ช้างเอราวัณ เป็นประติมากรรมช้าง
ที่อ้างอิงถึงช้างเอราวัณ ซึ่งช้างเอราวัณเป็นพาหนะ
ของพระอินทร์ที่ทรงใช้ไปยังสถานที่ต่างๆ
ทั้งบนสวรรค์และโลกมนุษย์ เพื่อดูแลทุกข์สุขของชาวโลก
เนื่องจากพระอินทร์คอยดูแลดินฟ้าอากาศ
มีวัชระสายฟ้าเป็นอาวุธ คอยให้ความอุดมสมบูรณ์
และความชุ่มชื้นมาสู่โลกมนุษย์
ช้างเอราวัณมีหน้าที่ดูดน้ำจากโลกขึ้นไปบนสวรรค์
ให้พระอินทร์บันดาลเกิดน้ำจากฟ้าตกสู่โลกมนุษย์
1
พิพิธภัณฑ์ช้างเอราวัณ ตัวช้างทำจากโลหะ มีขนาดใหญ่โตมาด
ช้างเอราวัณ จึงถือเป็นเจ้าแห่งช้างทั้งปวง
เป็นพาหนะของพระอินทร์ เป็นสัญลักษณ์อย่างหนึ่งของพระอินทร์
สัญลักษณ์ของการทำดี สัญลักษณ์ของความอุดมสมบูรณ์
พิพิธภัณฑ์ช้างเอราวัณ ตัวช้างทำจากโลหะ มีขนาดใหญ่โตมาก
ซึ่งช้างเอราวัณในวรรณคดีไทย
แท้จริงแล้วจะมีเศียรทั้งหมด 33 เศียร
แต่เนื่องจากปัญหาเรื่องขนาดของงานประติมากรรม
และโครงสร้างที่ซับซ้อนในการสร้าง
งานประติมากรรมช้างเอราวัณแห่งนี้
จึงลดมาเหลือ 3 เศียร อย่างที่เราเห็นกันในปัจจุบัน
พิพิธภัณฑ์ช้างเอราวัณ สร้างขึ้นจากความคิด
และจินตนาการของคุณเล็ก วิริยะพันธุ์
ที่ต้องการจะรักษาของโบราณที่สะสมไว้
ให้เป็นมรดกของแผ่นดินไทย จัดแสดง
ออกมาในรูปงานประติมากรรมที่ทรงคุณค่าทาง
ศิลปวัฒนธรรม และยังเป็นรูปเคารพที่ศักดิ์สิทธิ์
ของคนโบราณตามประเพณีในอดีตได้อีกด้วย
พิพิธภัณฑ์ช้างเอราวัณ ตัวช้างทำจากโลหะ
โดยใช้แผ่นทองแดงบุผิวช้างด้านนอกทั้งตัว
ด้วยวิธีเคาะมือ มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก
ความสูงของช้างรวมอาคารอยู่ที่ 43.60 เมตร
ความสูงเฉพาะตัวข้าง 29 เมตร ความกว้างของช้าง 12 เมตร
ความยาวของช้าง 39 เมตร ซึ่งเป็นขนาดที่ใหญ่โตมาก
ไม่แปลกหากเราจะมองเห็นตัวช้าง 3 เศียรได้จากระยะไกล
พิพิธภัณฑ์ช้างเอราวัณ ตัวช้างทำจากโลหะ มีขนาดใหญ่โตมาก
ผมเองก็เคยนั่งรถผ่านอยู่หลายครั้ง
แต่ก็ไม่เคยได้จอดแวะเข้าไป
จนเมื่อครั้งตอนที่ผมมีโอกาสมาติดต่อเรื่องงานแถวสมุทรปราการ
แล้วผมนั่งรถ BTS ในจังหวะที่รถไฟฟ้า BTS
กำลังเลี้ยวเข้าโค้งเพื่อจะไปสถานีช้างเอราวัณ
ผมก็เห็นรูปประติมากรรมช้างที่ระยะใกล้
จึงเพิ่งมาสังเกตได้ว่ารูปร่างของช้างนั้นใหญ่โตมโหฬารมาก
และยังได้เห็นพื้นที่บริเวณรอบๆ ที่มีรูปปั้นช้างอยู่ตามจุดต่างๆ
ทำให้ผมเกิดความสนใจ จนตั้งใจว่าจะมาให้ได้
และในที่สุดผมก็หาเวลาแวะมาจนได้
ผมนั่ง BTS มาลงสถานีช้างเอราวัณ
จากนั้นก็เดินย้อนกลับไประยะทางประมาณ 800 เมตร
ระยะทางกำลังดี ถือซะว่าเป็นการออกกำลังกายไปในตัว
ผมใช้เวลาไม่นานก็เดินมาถึงหน้าพิพิธภัณฑ์
ที่ด้านหน้ามีป้ายขนาดใหญ่พร้อมตัวหนังสือเขียนว่า
“พิพิธภัณฑ์เอกชน ช้างเอราวัณโลหะ ขนาดใหญ่ที่สุดในโลก
เพื่อสันติภาพและมวลมนุษยธรรม” ประกาศให้คนผ่านมาได้เห็น
ทางเข้าพิพิธภัณฑ์ช้างเอราวัณ
ทางเข้าพิพิธภัณฑ์ช้างเอราวัณ
ที่ด้านหน้าตรงประตูทางเข้ามีที่ให้เราได้มาเคารพสักการะช้างเอราวัณ
เมื่อผมได้สักการะเสร็จเรียบร้อยแล้ว ผมก็เดินดูบริเวณโดยรอบ
ซึ่งมีสิ่งศักดิ์สิทธิ์รูปเคารพหลายองค์ให้เราได้สักการะกราบไหว้
ทั้ง พระเกศจุฬามณีเจดีย์ พระตรีมูรติ พระโพธิสัตว์กวนอิม องค์พระพิฆเนศ
รวมไปถึงรูปปั้นสัตว์หิมพานต์ และรูปปั้นช้างมงคลในตระกูลต่างๆ
ที่ตั้งอยู่ล้อมรอบพิพิธภัณฑ์ ให้เราสามารถเดินลอดท้องช้าง
เพื่อความเป็นสิริมงคลตามความเชื่อคนไทยโบราณ
ด้วยเพราะช้างเป็นสัตว์มงคลจึงเกี่ยวข้องกับวัฒนธรรมของไทยเรา
และมีความเชื่อที่ว่าหากใครได้ลอดท้องช้างจะมีโชคลาภ
1
พระเกศจุฬามณีเจดีย์ ภายในเจดีย์มีพระพุทธรูปประจำวันเกิดประดิษฐานอยู่
ผมลองเดินลอดท้องช้างดูโดยเดินวนรอบเวียนขวาของตัวพิพิธภัณฑ์
เมื่อผมลอดท้องช้างหนึ่งตัวที่ฐานด้านล่างของช้าง
จะมีเซ็นเซอร์ตัวจับแล้วส่งเสียงช้างร้องออกมาให้เราได้ยิน
เปรียบเหมือนเราได้เดินลอดท้องช้างจริงๆ
ใช้เวลาไม่นานผมก็เดินวนจนครบรอบ
จึงได้เดินเข้าที่ตัวอาคารพิพิธภัณฑ์
ที่อยู่ใต้ประติมากรรมช้างเอราวัณ
นอกจากรูปปั้นช้างแล้วก็ยังมีรูปปั้นสัตว์หิมพานต์ ที่ประดับตกแต่งอยู่รอบๆ อาคารพิพิธภัณฑ์
นอกจากรูปปั้นช้างแล้วก็ยังมีรูปปั้นสัตว์หิมพานต์ ที่ประดับตกแต่งอยู่รอบๆ อาคารพิพิธภัณฑ์
รูปปั้นช้างมงคลในตระกูลต่างๆ ที่ตั้งอยู่ล้อมรอบพิพิธภัณฑ์ ให้เราสามารถเดินลอดท้องช้าง เพื่อความเป็นสิริมงคลตามความเชื่อคนไทยโบราณ ด้วยเพราะช้างเป็นสัตว์มงคลจึงเกี่ยวข้องกับวัฒนธรรมของไทยเรา และมีความเชื่อที่ว่าหากใครได้ลอดท้องช้างจะมีโชคลาภ
รูปปั้นช้างมงคลในตระกูลต่างๆ ที่ตั้งอยู่ล้อมรอบพิพิธภัณฑ์ ให้เราสามารถเดินลอดท้องช้าง เพื่อความเป็นสิริมงคลตามความเชื่อคนไทยโบราณ ด้วยเพราะช้างเป็นสัตว์มงคลจึงเกี่ยวข้องกับวัฒนธรรมของไทยเรา และมีความเชื่อที่ว่าหากใครได้ลอดท้องช้างจะมีโชคลาภ
ภายในอาคารพิพิธภัณฑ์ช้างเอราวัณ
ได้จัดแบ่งพื้นที่หลักออกเป็น 3 ส่วน
ซึ่งได้แนวคิดมาจากคัมภีร์ไตรภูมิกถา
ที่แบ่งภพภูมิเป็นลำดับ 3 ส่วนด้วยกัน คือ
ชั้นบาดาล ชั้นโลกมนุษย์ และชั้นสวรรค์
จากทางเข้าอาคารพิพิธภัณฑ์ เมื่อเราแหงนหน้ามองขึ้นไปจะเห็นว่าประติมากรรมช้างนั้นมีขนาดใหญ่โตมโหฬารมาก
โดยที่ใต้อาคารตรงส่วนที่เป็นฐานรองรับช้างเอราวัณ
นั้นจะมีประตูทางเข้าสู่ชั้นใต้ดินอันเป็นลำดับชั้นบาดาล
ที่หน้าประตูมีป้ายติดห้ามถ่ายรูป ผมเดินเปิดประตูเข้าไป
ก็จะเห็นงานประติมากรรมมนุษย์นาคผู้ดูแลโลกบาดาล
อยู่ตรงกลางห้อง ล้อมรอบด้วยการจัดแสดงของวัตถุโบราณ
เครื่องกระเบื้อง ภาชนะดินเผา เครื่องใช้ในชีวิตประจำวัน
ของคนไทยที่มีอายุหลายร้อยปี วัตถุโบราณเหล่านี้
เป็นของล้ำค่ามาก เพราะเป็นหลักฐานที่บอกให้เรารู้ว่า
คนสมัยก่อนใช้ชีวิตกันยังไง มีการค้าการขาย เคลื่อนไหว
ติดต่อกันแต่ละท้องถิ่นในแดนต่างๆ ได้อย่างไร ผมรู้สึกเสียดาย
ที่ภายในห้องจัดแสดงนี้เขาไม่อนุญาติให้ถ่ายรูปได้
แต่ก็เข้าใจได้ว่าของทุกชิ้นเป็นของโบราณล้ำค่ามาก
หากมีการถ่ายรูปอาจทำให้วัตถุโบราณต่างๆ เสียหายได้
เมื่อออกจากห้องใต้ดินเดินขึ้นมาข้างบน
ที่ประตูทางเข้าอาคารหลักจะนำไปสู่ชั้นโลกมนุษย์
โดยชั้นนี้คือส่วนตัวอาคารที่เป็นฐานรองรับน้ำหนัก
ตัวงานประติมากรรมช้างเอราวัณ ภายในห้อง
มีการแกะสลักบนเสาเคาะดุนโลหะ
เล่าเรื่องราวถึงศาสนาที่ค้ำจุนโลกมนุษย์ที่แฝงไปด้วย
คดิธรรมทางศาสนา ส่วนต่างๆ ถูกตกแต่ง
ด้วยเครื่องถ้วยเบญจรงค์และลวดลายปูนปั้น
ที่โชว์ฝีมือภูมิปัญญาของช่างไทยได้เป็นอย่างดี
รวมไปถึงการน้ำศิลปะแบบตะวันตกเข้ามาผสมผสาน
ตกแต่งเพดานอาคารด้วยกระจกสีให้เป็นรูปแผนที่
โลกขนาดใหญ่ อันเปรียบเสมือนหลังคาที่ปกคลุม
บนโลกมนุษย์ใบนี้
ชั้นโลกมนุษย์ ภายในห้อง มีการแกะสลักบนเสาเคาะดุนโลหะ เล่าเรื่องราวถึงศาสนาที่ค้ำจุนโลกมนุษย์ที่แฝงไปด้วย คดิธรรมทางศาสนา
ผมตกตะลึงในความสวยงามของขั้นโลกมนุษย์นี้มาก
ไม่ว่าจะด้วยลวดลายวิจิตรที่ประดับตกแต่งต่างๆ
หรือสีสันของกระจกที่ตกแต่งเป็นเพดาน
ทำให้ไม่ว่าผมจะมองไปที่มุมไหนของห้อง
ก็ดูงดงามวิจิตรไปหมด
พระอวโลกิเตศวรโพธิสัตว์ ประดิษฐานอยู่ในศาลาที่ตั้งอยู่ตรงกลางของชั้นโลกมนุษย์
จากชั้นโลกมนุษย์นี้เองจะมีทางบันไดเวียนให้เรา
เดินขึ้นไปชั้นบน พอมาถึงชั้นลอยจะมีเก้าอี้ให้นั่งพัก
พร้อมมีลิฟท์ให้บริการขึ้นไปชั้นบนสุด แต่ผมเลือก
เดินขึ้นบันไดเวียนต่อ เพียงแต่ว่าบันไดเวียนคราวนี้
จะเป็นบันไดไม้ขนาดเล็ก ทางเดินแคบ
ต้องอาศัยความระมัดระวังในการเดินขึ้นไป
อยู่พอสมควร ที่ผนังตรงบันไดเวียนมีภาพวาด
เล่าเรื่องราวพระพุทธศาสนาตกแต่งอยู่โดยรอบ
ชั้นโลกมนุษย์ตกแต่งลวดลายออกมาอย่างสวยงามมาก
ชั้นโลกมนุษย์ตกแต่งลวดลายออกมาอย่างสวยงามมาก
ชั้นโลกมนุษย์ตกแต่งลวดลายออกมาอย่างสวยงามมาก
พระบรมรูปในกลวงรัชกาลที่ 9
ชั้นโลกมนุษย์ตกแต่งลวดลายออกมาอย่างสวยงามมาก
ชั้นโลกมนุษย์ตกแต่งลวดลายออกมาอย่างสวยงามมาก
กระจกสีซิลปกรรมทางตะวันตกที่สื่อถึงหลังคาโลก
ใช้เวลาเดินขึ้นนานอยู่พอสมควร
ผมก็เดินขึ้นมาถึงชั้นบนสุด อันเป็นชั้นสวรรค์
ชั้นสวรรค์นี้จะอยู่ตรงตำแหน่งในส่วนของตัวช้าง
อันเป็นส่วนที่อยู่เหนือกว่าชั้นโลกมนุษย์และชั้นบาดาล
ภายในจัดแสดงพระพุทธรูปโบราณสมัยต่างๆ
ที่ด้านหน้ามีพระพุทธรูปพร้อมบทสวดบูชา
พระพุทธเจ้า 28 พระองค์ ฝ้าเพดานเป็นทรงโดมโค้ง
พร้อมภาพวาดดวงดาวจักราศีต่างๆ ในจักรวาล
เพื่อสื่อว่าชั้นนี้เป็นตัวแทนของสรวงสวรรค์ที่ตัดขาด
จากโลกภายนอก ซึ่งผมขึ้นมาชั้นนี้ก็เงียบสงบจริงๆ
แถมยังเย็นสบายต่างจากชั้นด้านล่างมาก
เมื่อผมกราบสักการะบูชาพระพุทธเจ้า 28 พระองค์
เสร็จเรียบร้อย ผมก็นั่งพักอยู่พอสมควรจึงเดิน
ลงไปชั้นล่าง
ชั้นสวรรค์ มีพระพุทธรูปโบราณพร้อมบทสวดบูชาพระพุทธเจ้า 28 พระอ
เมื่อตอนที่ผมเห็นพิพิธภัณฑ์นี้จากภายนอก
ผมก็รู้สึกทึ่งในความใหญ่โตมโหฬารของงานประติมากรรมช้างเอราวัณ
แต่พอผมเข้ามาชมภายในพิพิธภัณฑ์กลับยิ่งรู้สึกทึ่งยิ่งกว่า
ทั้งรูปแบบศิลปวัฒนธรรม ข้าวของเครื่องใช้โบราณล้ำค่ำ
การผสมผสานศิลปะดั้งเดิมของไทยกับศิลปะชาติตะวันตก
รวมไปถึงการแบ่งชั้นเป็น 3 ชั้น ตามคัมภีร์ไตรภูมิกถา
ที่ทำให้ผมเดินชมแต่ละชั้นแล้วรู้สึกมีอารมณ์ร่วมได้แตกต่างกัน
รูปปั้นช้างมงคลในตระกูลต่างๆ ที่ตั้งอยู่ล้อมรอบพิพิธภัณฑ์ ให้เราสามารถเดินลอดท้องช้าง เพื่อความเป็นสิริมงคลตามความเชื่อคนไทยโบราณ ด้วยเพราะช้างเป็นสัตว์มงคลจึงเกี่ยวข้องกับวัฒนธรรมของไทยเรา และมีความเชื่อที่ว่าหากใครได้ลอดท้องช้างจะมีโชคลาภ
อย่างชั้นบาดาลจะทำให้ผมรู้สึกลึกลับ หลบซ่อน
ชั้นโลกมนุษย์ทำให้ผมรู้สึกตกตะลึงในความงดงาม
ชั้นสวรรค์ทำให้ผมรู้สึกนิ่งสงบ เย็นใจ
รูปปั้นช้างมงคลในตระกูลต่างๆ ที่ตั้งอยู่ล้อมรอบพิพิธภัณฑ์ ให้เราสามารถเดินลอดท้องช้าง เพื่อความเป็นสิริมงคลตามความเชื่อคนไทยโบราณ ด้วยเพราะช้างเป็นสัตว์มงคลจึงเกี่ยวข้องกับวัฒนธรรมของไทยเรา และมีความเชื่อที่ว่าหากใครได้ลอดท้องช้างจะมีโชคลาภ
บางทีการที่เราได้มาชมพิพิธภัณฑ์แห่งนี้
นอกจากเราจะได้เรียนรู้เรื่องราวต่างๆ แล้ว
เราอาจยังได้สำรวจเรียนรู้ตัวเราเองอีกด้วย...
หากชื่นชอบบทความ
ฝากกดติดตาม กดไลค์ กดแชร์
เพื่อเป็นกำลังใจด้วยครับ
ปั่นเรื่อง เป็นภาพ
โฆษณา