30 พ.ย. 2019 เวลา 15:40 • สุขภาพ
ความดันโลหิตสูง
ผู้ที่มีความดันซีสโตลิก/และความดันไดแอสลิก ตั้งแต่ 140/90 มิลลิเมตรปรอท ขึ้นไป ในผู้สูงอายุอาจมีแต่ความดันซีสโตลิกสูง โดยที่ความดันไดแอสโตลิกไม่สูง ก็ถือว่าเป็นความดันโลหิตสูงเช่นกัน สำหรับในปัจจุบัน เกณฑ์ในการรักษาความดัน โลหิตสูงในผู้สูงอายุ คือ 150/90 มิลลิเมตรปรอท โดยเฉพาะในผู้สูงอายุมากกว่า 80 ปี เนื่องจากพบว่า การควบคุมระดับความดันโลหิตจนต้ำเกินไป เช่น 100 มิลลิเมตรปรอทลงไป ทำให้โอกาสเกิดหกล้มและเสียชีวิตมากขึ้น
ผู้ที่มีความดันโลหิตสูงพบประมาณร้อยละ 50 ของผู้มีอายุ 65 ปีขึ้นไป และพบร้อยละ 25 ของวัยกลางคน ถึงแม้คนไทยในปัจจุบัน จะมีความตื่นตัวในเรื่องความดันโลหิตสูงดีขึ้น เมื่อเทียบกับแต่ก่อน คนที่ความดันโลหิตสูงสามารถควบคุมระดับความดันได้ดีขึ้นตามเป้าหมาย แต่ก็ยังไม่นับว่า เป็นสัดส่วนที่สูงจนหหน้าพอใจ
ผู้ชายคุมระดับความดันโลหิตได้เพียงร้อยละ 14 ผู้หญิงควบคุมได้ร้อยละ 27 ซึ้งในคลินิกเฉพาะโรคความดันโลหิตสูง อาจมีการควบคุมได้ตามเป้าหมายสูงมากกว่าที่อื่น แต่ก็ยังไม่ถึงครึ่งหนึ่งของผู้ป่วย และส่วนใหญ่ยังต้องยังใช้ยาไม่เสม่ำเสมอตามที่แพทย์แนะนำ
สาเหตุปัจจุบันยังไม่ทราบสาเหตุที่แท้จริงของโรคความดันโลหิตสูง แต่พบในผู้ที่มีประวัติครอบครัว พ่อ แม่ หรือพี่น้องสายตรงเป็นโรคความดันโลหิตสูง
สาเหตุส่วนหนึ่งที่ทราบคือน้อยกว่าร้อยละ 10 ของผู้ป่วยความดันโลหิตสูง มีสาเหตุมาจากโรคไต โรคความผิดปกติของหลอดเลือด ระบบไหลเวียนโลหิต และโรคความผิดปกติของระบบฮอร์โมน
ปัจจัยเสี่ยงของการเกิดโรคความดันโลหิตสูง ได้แก่ ปัจจัยเสี่ยงด้านการใช้ชีวิตประจำวัน เช่น การกินอาหารมากเกินไปและอาหารเค็มจัด ซึ้งพบว่าผู้ที่มึความดันโลหิตสูงกินอาหารเค็มเกินเกณฑ์ถึง 3 ใน 4 คน มีน้ำหนักตัวเกิน ขาดการออกกำลังกาย ดื่มเหล้าและสูบบุหรี่จัด รวมถึงภาวะจิตใจและอารมณ์เคลียด
ผู้ที่มีความดันโลหิตสูงอาจไม่มีอาการอะไรเลย จึงทำให้ผู้ป่วยเข้าใจผิดว่า ตนเองไม่น่าจะมีความดันโลหิตสูง แต่บางรายอาจมีอาการปวดศีรษะ เวียนศีรษะ มึนงง ตาพร่า เหนื่อยง่าย หรือนอนไม่หลับ
โฆษณา