1 ธ.ค. 2019 เวลา 14:43 • การศึกษา
บทที่ 53. Algorithm Engineering. สาขาวิชาในอนาคต ?
ผมเคยตั้งคำถามกับตัวเองว่า ในอนาคตลูกผมควรจะเรียนทางด้านไหน จึงจะมีอนาคตที่ดี และเหมาะกับชีวิตเขาในอีก 20 ปีข้างหน้า แต่ก็ไม่เคยจะได้คำตอบ จนกระทั่งผมเริ่มเห็นแนวทางบางอย่าง เมื่อเดือนที่แล้ว
ช่วงต้นเดือนพฤศจิกายน ผมมีโอกาสได้นั่งกินข้าวกับอาจารย์จากคณะวิศวกรรมศาตร์ของมหาวิทยาลัยแห่งหนึ่ง เลยได้สอบถามถึงอนาคตทางการศึกษาบ้านเราในมุมมองของอาจารย์ ว่าในอีก10-20 ปีข้างหน้าจะเป็นอย่างไร
จากการพูดคุยวันนั้นทำให้ผมเริ่มเห็นแนวทางบางอย่าง จึงได้หยิบยกบทสนทนาของผมกับอาจารย์ในวันนั้นมาเขียนไว้ให้เพื่อนๆได้อ่าน และได้ลองคิดตามกัน.
ผม
"อาจารย์ครับตอนนี้โลกเปลี่ยนไปเร็วมาก อาจารย์ว่าสาขาไหนไม่มีอนาคต ไม่ควรเรียนแล้วครับ?"
อาจารย์
"ผมว่าสาขาที่เกี่ยวกับการธนาคารหรือบัญชีอาจจะปิดตัวลงในไม่ช้า เพราะเรียนมาแล้วอาจจะตกงาน จำนวนนักศึกษาคงลดลงเรื่อยๆตามสถานการณ์ปัจจุบัน แต่หากใครชอบบัญชีจริงๆ ก็คงต้องเรียนให้ถึงการเป็นผู้ตรวจสอบบัญชีไปเลย อันนี้น่าจะยังคงอยู่"
ผม
"ตอนนี้ลูกผมเพิ่งหกขวบ อาจารย์ว่าโตขึ้นเขาควรจะเรียนสาขาวิชาอะไรดี?"
อาจารย์
"ผมว่าเทคโนโลยีเปลี่ยนแปลงไปเร็วมากๆ สิ่งที่น่าจะยังอยู่และแพร่หลายในอีก10ปี ข้างหน้า คงหนีไม่พ้น สาขาที่เกี่ยวกับ AI.,IOT , Robot ,Big data อะไรพวกนี้ "
ผม
"แล้วสาขาวิชาพวกนี้ในบ้านเรามีเปิดสอนหรือยังครับ ?"
อาจารย์
"เท่าที่รู้ก็เริ่มกันบ้างแล้วนะ.. เช่น ม.กรุงเทพเห็นว่าจะเปิดหลักสูตร Data Analysis และ Big data.
ส่วนมข.ก็กำลังเตรียมหลักสูตร AI ร่วมกับมหาวิทยาลัยต่างชาติอยู่ แต่ไม่แน่ใจว่าเปิดหรือยัง
ที่ลาดกระบังนี่เปิดสอนสาขา"เมคคาทรอนิกส์"ครับ"
ผม
"แล้วสาขา"เมคคาทรอนิกส์"นี่มันเรียนเกี่ยวกับอะไรครับ?"
อาจารย์
"จริงๆมันก็เป็นคำผสมระหว่างคำว่า "เมคคานิกส์"
กับ"อิเล็กทรอนิกส์" นั่นแหละ คือ จะสอนผสมผสาน ความรู้วิศวกรรมหลายๆด้าน เช่น วิศวกรรมเครื่องกล อิเล็กทรอนิกส์ การควบคุม ระบบอัตโนมัติต่างๆ เพื่อนำไปสร้างผลิตภัณฑ์ที่เป็น "Smart Product "เช่นหุ่นยนต์ สมองกล อะไรพวกนั้น. หรือจะสร้างเป็น "ระบบอัจฉริยะ"(Intelligent Systems)แบบต่างๆ ก็ได้"
ผม
"แล้วในอนาคตจะมีสาขาอะไรใหม่ๆอีกมั๊ยครับ?
อาจารย์
"ผมว่าน่าจะมีสาขา "Algorithm Engineering" เกิดขึ้นนะ"
ผม
"มันคืออะไรครับอาจารย์?"
อาจารย์
"ก็เป็นสาขาที่สอนเกี่ยวกับการออกแบบและจำลองกระบวนการคิดหรือแก้ปัญหาของมนุษย์ที่มีความซับซ้อนมากๆ ให้เป็นชุดคำสั่งต่างๆบนคอมพิวเตอร์ บนโทรศัพท์ บนรถหรือบนอุปกรณ์ไฟฟ้าและเครื่องมือต่างๆรอบตัวเรา เพื่อตอบสนองความต้องการของมนุษย์ให้ได้มากที่สุด โดยผสมผสานกับการประมวนผลของข้อมูล Big Data และระบบเซนเซอร์ต่างๆเข้าด้วยกัน"
ผม
"เหมือนการออกแบบหรือเขึยนโปรแกรม ใช่มั๊ยครับอาจารย์?"
อาจารย์
"ก็ไม่ใช่เสียทีเดียว เพราะมันน่าจะเป็นการออกแบบโปรแกรมให้สร้างชุดคำสั่งอีกทีนึง โดยโปรแกรมจะสร้างชุดคำสั่งที่เหมาะกับเฉพาะบุคคลซึ่งแต่ละคนก็ไม่เหมือนกันเลย โดยโปรแกรมจะใช้ข้อมูลพฤติกรรมของแต่ละบุคคลเป็นเงื่อนไขของคำสั่ง เช่นว่า คนนั้นชอบทำอะไร ที่ไหน กับใคร เมื่อไหร่ แล้วประมวลผลเป็นชุดคำสั่งอีกที มันจะซับซ้อนขึ้นมากๆ"แต่ปัจจุบันอาจารย์ว่ามันเป็นไปได้แล้ว"
ผม
"ฟังอาจารย์พูดแล้วโลกน่าจะเปลี่ยนไปมากเลยนะครับ"
อาจารย์
"ก็น่าจะเป็นแบบนั้น ปัจจุบัน ถ้าเราอยากสั่งให้สิ่งรอบๆตัวเราทำอะไรเราอาจใช้รีโมท ใช้คำสั่งเสียง หรือโปรแกรมไว้ล่วงหน้าก็ได้"
"แต่ความต้องการมนุษย์มันไม่มีที่สิ้นสุด ผมว่าต่อไปสิ่งต่างๆรอบตัวเราจะต้องจดจำ เรียนรู้ และเก็บข้อมูลพฤติกรรมต่างๆของเรา จากนั้นก็มีชุดคำสั่งให้สิ่งต่างๆทำงานตอบสนองความต้องการของเรา ก่อนที่เราจะคิดหรือออกคำสั่งเองเสียอีก มันจะอยู่ในชีวิตประจำวันเลยล่ะ"
ผม
"หมายความว่าต่อไปอุปกรณ์ต่างๆ จะทำงานได้เอง โดยที่เราไม่ต้องสั่งเลยหรือครับ คือมันจะคิดแทนเราเลยใช่มั๊ยครับอาจารย์?"
อาจารย์
"ใช่ครับ อาจารย์คิดว่าคงจะถึงจุดนั้นในไม่ช้า อาจารย์ยกตัวอย่างง่ายๆ เช่น "
" ต่อไปเราอาจได้เห็นรถสตาร์ท เปิดแอร์รอเราไว้เพราะมันรู้ว่าเราจะมาขึ้นรถ 7.00 น.ทุกๆวัน หลังจากรถสตาร์ทไปสักสามสี่นาที พอเราขึ้นรถ ประตูบ้านก็จะเปิดให้รถถอยออก แล้วรถก็พาเราไปในที่ที่เราต้องการเอง โดยที่เราไม่ต้องสั่งหรือขับเลย ระหว่างทางห้องโดยสารก็เปิดเพลงที่เราชอบให้เราฟังโดยเราแค่นั่งหลับตาเท่านั้น หลังจากนั้นประตูบ้านก็ปิดล็อกเองโดยที่เราไม่ต้องหันกลับมามอง. ส่วนเครื่องใช้ไฟฟ้าในบ้านเมื่อไม่มีคนอยู่ก็จะพากันปิดเองโดยที่เราไม่ต้องกังวลว่าจะลืมปิดมันเลย"
1
ผม
"โห..เริ่มจะไปไกลกว่าในหนังอีกนะครับเนี่ย ถ้าโลกเราเปลี่ยนไปขนาดนี้ ระบบการศึกษาบ้านเราคงต้องเปลี่ยนไปมากแน่ๆ บางสาขาวิชา คงจะถูกปิด และไม่มีในรุ่นลูกผมแน่ๆเลย"
อาจารย์
"นี่เป็นการคาดการของอาจารย์เองนะ แต่อาจารย์มั่นใจว่ามันเกิดขึ้นแน่ จะช้าหรือเร็วก็แค่นั้น ถ้าลูกคุณยังเล็กคงต้องมองไปไกลๆแล้วล่ะ"
ผม
"เคยมีคนบอกผมว่าโลกเราเปลี่ยนเร็วมากๆ. ยุคต่อไปนี้ประสบการณ์ในอดีตจะนำไปใช้ในอนาคตได้น้อยมาก อาจเพียงแค่10%เท่านั้น สงสัยจะจริงนะครับอาจารย์"
อาจารย์
"อาจจะน้อยกว่านั้นก็ได้"
ผม
"สาขา "algorithm engineer" ใช่มั๊ยครับอาจารย์ ผมจะจำไว้นะครับ.."
ภาพจาก ie.edu
ทั้งหมดเป็นแนวคิดของอาจารย์ที่คลุกคลีอยู่ในแวดวงการศึกษา การสนทนากับผู้มีความรู้ย่อมทำให้ผมได้เรียนรู้
แต่จริงๆผมก็ไม่รู้ว่าสิ่งต่างๆที่คุยกันวันนั้นมันจะเกิดขึ้นจริงมั๊ย แต่ที่รู้แน่ๆคือ ปัจจุบันโลกเราเปลี่ยนเร็วมาก เราคงต้องเรียนรู้ ให้รู้เท่าทัน
ไม่ใช่เพื่อตัวเองเท่านั้นหรอกครับ แต่เพื่อลูกหลานที่จะต้องอยู่บนโลกนี้ไปอีกนาน...
ขอบคุณครับ...
โฆษณา