3 ธ.ค. 2019 เวลา 10:30 • การศึกษา
"8 นิสัย ที่ทำให้แต่ละชนชาติมีความแตกต่างกัน" ตอนที่ 2 ...
Jaipur, India--Jerusalem, Israel--Border Uganda and Rwanda-- New friends in Jordan
"Based on True Story"
ณ. สำนักงานแห่งในกรุงเทพฯ ซึ่งกำลังจะมีการประชุมเครียดเรื่องการเปลี่ยนสวัสดิการของพนักงาน ระหว่างผู้จัดการใหญ่ชาวอิสราเอลและผู้จัดการแผนกต่างๆที่เป็นคนไทย
โดยผู้จัดการและพนักงานคนไทยส่วนใหญ่ไม่เห็นด้วยกับการเปลี่ยนแปลงครั้งนี้
แต่ผู้จัดการใหญ่ชาวอิสราเอลเป็นคนที่ค่อนข้างจะเชื่อมั่นในตัวเองสูง จึงค่อนข้างพูดเยอะและหลายครั้งก็ชอบพูดจาเเรงๆ ใส่พนักงานชาวไทย (ในความรู้สึกคนไทย...)
เมื่อถึงเวลาประชุมผู้จัดการใหญ่ชาวอิสราเอลก็พูดด้วยหน้าตาและท่าทางที่ดุดันว่า...
"We have to change welfare policy to be align with HR center in UK" - เราต้องเปลี่ยนนโยบายสวัสดิการของเราให้เป็นไปตามฝ่ายบุคคลกลางที่อังกฤษ..
Jerusalem, Isarael
"We did check with legal and this new policy seems no problem"- เราได้ตรวจสอบกับฝ่ายกฎหมายแล้วว่านโยบายใหม่นี้ไม่น่าจะมีปัญหาที่จะใช้ .... ผู้จัดการใหญ่พูดต่อ..
"Any concern or disagreement here?" -มีใครมีข้อกังวลนี้ หรือ ไม่เห็นด้วย?? ผู้จัดการใหญ่ถามต่อ
มีผู้จัดการคนไทยเพียงคนสองคนที่พยายามคัดค้านแบบอ้อมๆ ซึ่งผู้จัดการใหญ่ก็มีเหตุผลมาแย้งแบบเเรงๆ ทุกหัวข้อ...ซึ่งก็ทำให้ผู้จัดการคนไทยส่วนใหญ่นั่งก้มหน้าและเงียบ...
เมื่อการประชุมจบลงและสวัสดิการก็ถูกเปลี่ยนในที่สุด จนกระทั่งในเวลาต่อมาก็ปรากฎว่ามีพนักงานเก่งๆ ดีๆ หลายๆ คนก็เริ่มลาออก...
York, UK
ทางอังกฤษต้องส่งผู้อำนวยการฝ่ายทรัพยากรบุคคล (HR Director) ซึ่งเป็นชาวอังกฤษมาเพื่อหาสาเหตุ เพราะไม่เข้าใจ 100% ถึงเหตุผลที่ผู้จัดการใหญ่ชาวอิสราเอลบอก.....
สุดท้ายผู้อำนวยการฝ่ายทรัพยากรบุคคลชาวอังกฤษก็พบว่า
ผู้จัดการชาวไทยมองผู้จัดการใหญ่ชาวอิสราเอลก้าวร้าว ไม่มีเหตุผล และจริยธรรมในการบริหารงาน
ส่วนผู้จัดการชาวอิสราเอลมองว่าผู้จัดการชาวไทยไม่ตรงไปตรงมา ไม่พูดความจริง และเชื่อถือไม่ได้
นั่นก็เพราะว่า.."นิสัยในเวลาที่เกิดเรื่องขัดแย้งนั้นไม่เหมือนกัน"..และก็ทำให้ "เรื่องที่ไม่เห็นด้วยอย่างเรื่องสวัสดิการ" นั้นไม่ได้ถูกยกมาคุยแบบจริงจังถึงผลกระทบที่จะเกิดขึ้น... ปัญหาเลยยิ่งบานปลาย....
Disagreeing from Erin Meyer s Book
ชาวอิสราเอลมีนิสัยพร้อมเผชิญหน้าตรงๆ ในเวลาเจอความขัดเเย้ง (Confrontation) แต่ในส่วนของคนไทยนั้นไม่เลยและจะอยู่อีกด้านหนึ่งเสียด้วยซ้ำคือไม่ชอบเผชิญหน้าในเวลาขัดเเย้ง (Avoids Confrontation)...และทั้งสองชาติอยู่ขั้วตรงข้ามกันทางนิสัย...
ดังนั้นปัญหาจึงเกิดขึ้นเพราะไม่ได้มีการถกเถียงถึงปัญหาแบบจริงจัง...
ไม่ใช่เฉพาะคนไทยนะครับ ชาวจีน ญี่ปุ่น อินโดนีเซีย และกาน่า เป็นต้น มักจะหลีกเลี่ยงการถกเถียงที่รุนแรงในเรื่องที่จะเกิดความขัดเเย้งกันเพราะไม่ชอบให้เกิดความไม่สามัคคีในองค์กรหรือครอบครัว ....ก็คือไม่ชอบทะเลาะกันนั่นเอง
ชาวบ้านใน ประเทศกาน่า (Ghana)
ส่วนคนอิสราเอล เยอรมัน ฝรั่งเศส และรัสเซีย มักจะเถียงกันและเผชิญหน้าในเวลาขัดเเย้งแบบตรงไปตรงมา.....ไม่สนหน้าอินทร์หน้าพรหม...
และถ้าเป็นพวกอังกฤษ กับ อเมริกาก็จะอยู่กลางๆ ไม่สุดโต่ง...
อย่างไรก็ตาม นั่นคือความแตกต่างทางวัฒนธรรม และไม่มีอะไรผิดหรือถูก เพราะผลของความขัดแย้งจะไปเกี่ยวพันและมีผลกับความสัมพันธ์
ซึ่งก็จะแตกต่างกันในแต่ละวัฒนธรรมและสังคม และจะกล่าวถึงในตอนหน้าครับ...
จาก Conflict Management, University of Iowa
แต่จากการศึกษาจากมหาวิทยาลัย Iowa เรื่อง Conflict management ก็พบว่าคนทั่วไปมักจะพบปัญหาใน "เรื่องการจัดการความขัดแย้ง (Conflict Management)" ในทุกวัฒนธรรมอยู่ดี..
โดยวัฒนธรรมที่ชอบเผชิญหน้า (Confrontation) ก็มักจะพบปัญหา "การทะเลาะกัน (Personal Attack)" ซึ่งก็ทำให้ความสัมพันธ์ร้าวฉาน และมองหน้ากันไม่ติดในที่สุด
ส่วนกลุ่มคนที่ไม่ชอบเผชิญหน้า (Avoids Confrontation) ก็มักจะพบปัญหา "ความสามัคคีเทียม (Artificial Harmony)" คือภายนอกเหมือนโอเค แต่จริงๆแล้ว ความสัมพันธ์ก็ไม่ได้ดี ไม่ร่วมมือกันทำงาน หรืออาจขัดแข้งขัดขากันลับหลัง แต่ไม่แสดงออกแบบโจ่งเเจ้งครับ
การบริหารความขัดแย้งที่ดีต้องหาจุดลงตัวนั่นก็คือจุด "การยอมรับความขัดแย้งแบบลงตัว (Ideal Conflict Point)" หรือบางครั้งเรียกว่า "Conflict Sweet Spot"....
ไม่ว่าจะเป็นสังคมแบบ Confrontation หรือ Avoids Confrontation ก็ตามต้องหาจุดนี้ ซึ่งคงยังไม่กล่าวถึงในเรื่องนี้ครับผม🤣🤣🤣 เพราะรายละเอียดเยอะครับ...
และนี่คือความแตกต่างของนิสัยที่ 3 ครับ และต้องตามด้วยนิสัยที่ 4 ....
เเม่ฮ่องสอน
มีครั้งหนึ่งเมื่อ 10 กว่าผมไปเที่ยวที่เดลี ประเทศอินเดียและได้จองรถไว้เพื่อจะไปนอกเที่ยวนอกเมือง.... คนขับรถมาช้ากว่าเวลานัดหมายเกือบชั่วโมง และพอมาถึงคนขับรถก็พูดว่า
"Oh!! you are so lucky that we are late less than one hour, traffic is so terrible out there" - คุณโชคดีมากเลยที่ผมมาช้าไม่ถึงชั่วโมงเพราะข้างนอกรถติดเลวร้ายมาก..😮😮😮ผมโกรธไม่ออกเลย... กรูโชคดีหรา...
Mumbai, India and Stockholm, Sweden
เเละเมื่อประมาณ 5 ปีที่แล้วผมได้มีนัดประชุมกับชาวสวีเดนตอน 9 โมงเช้าที่ร้านกาแฟแห่งหนึ่งในเมือง Stockholm และผมก็ไปถึงที่นัดหมาย 9 โมงตรงพอดี ซึ่งเป็นที่แน่นอนว่าชาวสวีเดนผู้นั้นนั่งรออยู่ก่อนเรียบร้อยแล้วครับ
ผมรีบเข้าไปทักว่า "I am sorry to make you wait" - ผมขอโทษที่ทำให้คุณรอ
คนสวีเดนตอบกลับทันทีว่า "No worry!! I have just been here 15 minutes ago" - อย่าคิดมากผมพึ่งมาถึงที่นี่ 15 นาทีนี่เอง...
นั่นก็ทำให้นึกถึงนิสัยที่ 4 ที่ Erin พูดถึง.....
4. ระบบเวลา (Scheduling)
Scheduling from Erin Meyer' s book
นิสัยนี้ก็จะเเบ่งเป็น 2 ด้านเช่นเดิมก็คือแบบ Flexible time (เวลาแบบยืดหยุ่น) กับแบบ Linear time (เวลาแบบเเนวเดียว)
นั่นก็ทำให้คนฝั่ง Linear time อย่าง เยอรมัน สวีเดน ญี่ปุ่น ค่อนข้างตรงและยึดติดกับเวลามาก.. และจะลดหย่อนลงไปอย่าง อังกฤษ โปแลนด์ และ เช็ก เป็นต้น
ส่วนที่ Flexible time ก็จะมี ไทย (ไม่มีใน Scale ที่โพสต์แต่จะอยู่ประมาณจีนครับ) จีน อินเดีย บราซิล และชาติในอาหรับ... ดังนั้นถ้ามีการมาสายจากเวลานัดนิดหน่อยชาติเหล่านี้จะพอรับได้...
Copacabana Beach, Brazil and Bethlehem, Palestine
อย่าพึ่งตัดสินว่า!!!!! วัฒนธรรมแบบ Flexible time ไม่ดีนะครับเพราะจากการศึกษา ก็จะเห็นว่าชาติที่เป็น Flexible time มักจะทำงานหลายโปรเจ็คได้ในเวลาเดียวกัน และจะทนได้กับการถูกรบกวน "ให้งานสะดุด" ได้ง่ายกว่ากลุ่ม Linear time...
ซึ่งคนที่เคยทำงานกับเยอรมัน ญี่ปุน หรืออเมริกัน จะเห็นว่าคนกลุ่มนี้จะถนัดทำงานทีละโปรเจ็ค .. ส่วนคนจีน คนไทย จะสามารถทำงาน Multi task ได้ดีกว่า...ซึ่งก็มีทั้งดีและเสียนะครับในแต่ละแบบ..
ดังนั้นจุดประสงค์ของความเข้าใจเรื่อง Scheduling ก็คือให้คนได้ปรับใช้ให้เหมาะสมกับแต่ละสังคมและงานครับ.... ไม่มีอะไรดีกว่ากันครับ... เพียงต้องตรงเวลาก็พอเมื่อมีนัดครับ...🤣🤣🤣
จากประสบการณ์ส่วนตัวนี่คือข้อเเนะนำถ้ามีนัด....
-ญี่ปุ่น เยอรมัน ดัทช์ สวีเดน (สแกนดิเนเวีย) ไปก่อนเวลา 15 นาที
- อังกฤษ อเมริกา ควรตรงเวลาเป๊ะๆ ไม่จำเป็นต้องก่อน
- โปแลนด์ ฝรั่งเศส อิตาลี สายได้สัก 5-10 นาที
- ไทย จีน บราซิล สายได้สัก 15-20 นาที
- อินเดีย บังคลาเทศ ประมาณ 30-45 นาที
**แต่ก็ขึ้นอยู่กับแต่ละคนด้วยนะครับ...
Seoul, South Korea and Sydney, Australia
5. การเป็นผู้นำ (Leading)
ซึ่งก็จะเเบ่งเป็น แบบระบบลำดับชั้น (Hierarchy) และระบบเท่าเทียม (Egalitarian)
อันนี้คงค่อนข้างจะชัดเจนว่าชาติในเอเซียจะ Hierarchy กว่าชาติในยุโรป และในชาติยุโรปใต้ก็จะ Hierarchy กว่ายุโรปเหนือเป็นต้น...
ประเทศไทยจะอยู่เท่าๆ กับจีนคือ Hierarchy หรือลำดับขั้นของไทยจะน้อยกว่า เกาหลี และญี่ปุ่น ครับ
เรื่อง Hierarchy นั้นผมคงไม่อธิบายมากนะครับเพราะเราคนไทยคงเข้าใจดี🤣🤣🤣
Leading from Erin Meyer 's book
ผมมีคู่ค้าชาวเกาหลีที่คุ้นเคยสนิทกัน และเขาจะบ่นมากในเรื่องระบบลำดับขั้นของเกาหลี... ซึ่งผมจะบอกเสมอว่ามันก็ คือๆกันกับไทยนั่นแหละ
แต่เขาก็รู้จักสังคมไทยดีระดับหนึ่งครับ เพราะเขาก็จะเถียงว่าประเทศไทยระบบลำดับขั้นมักเป็นระบบอาวุโสเป็นหลัก...
ส่วนที่เกาหลีระบบลำดับขั้นนอกจากระบบอาวุโสแล้ว ก็ยังครอบคลุมถึงที่มาของตระกูล มหาวิทยาลัย และเพศ... นั่นก็ทำให้ระบบ Hierarchy ของไทยเราก็จะอ่อนไปเลยจริงๆ ครับเมื่อเทียบกับเกาหลี และญี่ปุ่น...
South Korea
แล้วก็มาถึงนิสัยที่ 6
6. การตัดสินใจ (Deciding)
Deciding from Erin Meyer 's Book
การตัดสินใจนั้น Erin ก็แบ่งออกเป็นแบบ Top-down (ตัดสินใจจากหัวหน้า/ผู้นำ) และแบบ Consensual (ตัดสินใจจากความเห็นด้วยของกลุ่ม)
โดยปกติทั่วไป คนสังคมที่มีลำดับขั้น (Hierarchy) น่าจะเป็นแบบ Top-down ครับ..แต่ก็ไม่เสมอไปนะครับ และตัวอย่างคลาสสิกก็คือ ญี่ปุ่น.. ซึ่งเป็นชาติที่ Hierarchy สูงมากแต่การตัดสินกลับกลายเป็นแบบกลุ่ม (Consensual) แบบสุดโต่ง
ในทางกลับกันอเมริกาเป็นสังคมที่ค่อนข้างไม่มีลำดับขั้น (Egalitarian) คือ Hierarchy น้อยกว่าอังกฤษกับเยอรมัน แต่การตัดสินใจกลับเอียงมาทาง Top-down กว่าเยอรมัน กับอังกฤษ เสียอีก
Wall Stree, New York and Minamata, Tokyo
ถ้าเคยทำงานกับญี่ปุ่นจะเห็นว่าการตัดสินใจอาจไม่เร็ว แต่พอตัดสินใจแล้ววิ่งดั่งติดจรวดเลย..
ผมเคยมีน้องที่ทำงานมาบ่นว่าคนญี่ปุนช้าและไม่ยอมตัดสินใจ ... ผมเตือนไปว่าระวังพอเขาตกลงตัดสินใจแล้ว.... จะวิ่งปร๋อออออ
นั่นก็เป็นเพราะคนญี่ปุ่นจะไปประชุมกันและทำให้ทุกระดับเห็นด้วยตรงกันทั้งหมด จากนั้นจึงตัดสินใจซึ่งนั่นจะใช้เวลาพอสมควร แต่เมื่อตัดสินใจแล้วก็จะเร็วมากเพราะทุกคนในองค์กรตกลงกันเเล้ว
สุดท้ายน้องคนนั้นมาบ่นว่า " เพ่ พวกญี่ปุ่นตอนนี้จิกงานผมทุกวันเลย...ทำไม่ทันครับ..." 🤣🤣🤣
Kiso Valley, Japan
ในส่วนอเมริกาจะตัดสินใจเร็ว คุยประชุมและปุ๊ปปั๊ปเคลียร์ดี....แต่พอระหว่างทางก็อาจจะสะดุดและจะต้องคอยไปไล่คุยว่าเกิดอะไรขึ้น
เพราะหัวหน้าตัดสินใจแต่ลูกทีมยังไม่รู้เรื่อง....เลยต้องไปคอยอธิบายหรือเเจ้งใหม่เล่าใหม่ซ้ำๆๆ😊😊
นั่นก็จะเห็นทั้งดีและเสียในแต่ละเเบบ แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นก็ขึ้นกับแต่ละคนด้วยนะครับ....
เปรียบเทียบ ไทย อังกฤษ อิตาลีและ โปแลนด์
6 นิสัยผ่านไปแล้วครับผมหวังว่าคงเป็นประโยชน์นะครับ และแอบเฉลยนิสัยที่ 7 (Trusting) จากกราฟด้านบน🤣🤣🤣 ลองดูนะครับ
และจะมาเล่า นิสัย 7-8 และบทวิเคราะห์สุดท้ายในตอนหน้านะครับ... และเป็นตอนจบครับ...
# wornstory
โฆษณา