1 ธ.ค. 2019 เวลา 13:02 • สุขภาพ
แป๊บ ๆ ก็เดือนสุดท้ายของปีแล้ว…
มาลองเช็กลิสต์กันดูนะครับว่าแพลนที่ตั้งใจไว้
ในปีนี้ ยังเหลืออะไรที่ยังไม่ได้ทำอยู่บ้าง
แต่เรื่องหนึ่งที่ลืมไม่ได้…เพราะเกี่ยวกับเงิน ๆ ทอง ๆ ของเรา นั่นก็คือวางแผนลดหย่อนภาษีนั่นเอง
🔎 หนึ่งในคำถามท้อปฮิต
คือเรื่องของการลดหย่อนภาษีด้วย
“ประกันสุขภาพ” เพราะถือเป็นเรื่องที่
ค่อนข้างใหม่ ตั้งแต่ภาษีปี 2560 ที่ผ่านมา
😀 วันนี้แอดพี่บีจึงขอมาไขคำถามคาใจ
เกี่ยวกับเรื่องนี้กัน ใครที่ทราบอยู่แล้ว
ถือว่ามาทบทวนรายละเอียดกันนะครับ
Q : ประกันสุขภาพลดหย่อนได้เท่าไร?
A : เรื่องนี้ประเด็นสำคัญเลยนะครับ
ลดหย่อนได้ตามที่จ่ายจริง สูงสุด 15,000 บาท
และมีเพิ่มเติมนิดนึงว่า เมื่อรวมกับเบี้ยประกันชีวิตแบบทั่วไปแล้วไม่เกิน 100,000 บาท
ซึ่งสิทธิ์นี้ได้รับเท่ากันทุกคน
รายได้จะมากหรือน้อย ก็ลดหย่อนได้ตามนี้ 👍
ตัวอย่างเช่น
ปีนี้…พี่บีจ่ายเบี้ยประกันชีวิต 80,000 บาท
จ่ายเบี้ยประกันสุขภาพอีก 30,000 บาท
รวมกันแล้วเป็น 110,000 บาท
แต่ก็สามารถลดหย่อนได้ตามเกณฑ์
สูงสุดคือ 100,000 บาทครับ
🔎 Q : เคยอยู่ต่างประเทศ มีประกันสุขภาพ
ของบริษัทต่างชาติอยู่ เอามาลดหย่อนได้มั้ย?
A : ไม่ได้คร้าบบบ จะลดหย่อนได้ต้องเป็นบริษัท
ที่ประกอบกิจการในราชอาณาจักรไทยเท่านั้น 🇹🇭
🔎 Q : มีทำประกันคุ้มครองมะเร็งไว้ แบบนี้เอามา
ลดหย่อนเป็นประกันสุขภาพได้รึเปล่า?
A : เป็นคำถามที่ดีมากครับ ก่อนอื่นเรามาดู
นิยามความคุ้มครองของประกันสุขภาพ
ที่สามารถใช้สิทธิ์ลดหย่อนภาษีกันได้ก่อน
ถ้าเข้าข่าย 4 แบบนี้ ก็ถือว่าผ่านครับ
1) การรักษาพยาบาลอันเกิดจากการเจ็บป่วยและการบาดเจ็บ การชดเชยการทุพพลภาพและการสูญเสียอวัยวะ เนื่องจากการเจ็บป่วยหรือบาดเจ็บ
2) อุบัติเหตุเฉพาะที่ให้ความคุ้มครองเกี่ยวกับการรักษาพยาบาล การทุพพลภาพ การสูญเสียอวัยวะ และการแตกหักของกระดูก
3) โรคร้ายแรง (Critical Illness)
4) การดูแลระยะยาว (Long Term Care)
ดังนั้นหากมีประกันโรคร้ายแรง 🎗
สามารถนำมาลดหย่อนในหมวดนี้ได้ครับ
🔎 Q : ดูนิยามแล้วมีเรื่องอุบัติเหตุด้วย…แสดงว่า
ประกันอุบัติเหตุก็เอามาลดหย่อนได้ใช่ไหม?
A : ปิ๊งป่อง! ถูกต้องละคร้าบ แต่จะได้บางส่วนนะ
เพราะเบี้ยประกันอุบัติเหตุประกอบด้วย
ความคุ้มครองหลายส่วน เฉพาะส่วนที่เข้าข่าย
นิยามข้อ 2 ที่นำมาลดหย่อนได้
แอดพี่บีมีเขียนถึงเรื่องนี้ไว้ในซีรีส์ตอนที่แล้ว
สามารถอ่านย้อนหลังเลยครับ
🔎 Q : ถ้าเราจ่ายเบี้ยประกันสุขภาพให้คนอื่น
จะเอามาลดหย่อนภาษีเงินได้ของตัวเองได้ไหม?
A : ได้ครับ แต่มีเงื่อนไขนะ…ว่าคนอื่นที่ว่านี้
คือพ่อหรือแม่แท้ ๆ ของเรา 👴👵
สามารถนำมาลดหย่อนได้ตามยอดที่จ่ายจริง
ไม่เกิน 15,000 บาท ซึ่งจำนวนนี้ไม่ทับซ้อนกับ
ค่าลดหย่อนเบี้ยสุขภาพของตัวเองครับ
🔎 Q : มีเงื่อนไขอย่างอื่นอีกมั้ย?
A : แหม กำลังจะเล่าต่อเลยครับ 😉
จะใช้สิทธิ์ได้ก็ต่อเมื่อคุณพ่อหรือคุณแม่
ที่เราจ่ายเบี้ยสุขภาพให้นี้ ต้องมีรายได้ต่อปี
ไม่เกิน 30,000 บาท (เฉลี่ยแล้วตกเดือนละ
ไม่เกิน 2,500 บาท)
ซึ่งเป็นการช่วยแบ่งเบาภาระ
ให้ลูกที่มีหน้าที่เลี้ยงดูพ่อแม่นั่นเอง 👏👏👏
และอีกเรื่องก็คือ ลูกที่จ่ายเบี้ย
หรือคุณพ่อคุณแม่ คนใดคนหนึ่ง
จะต้องอาศัยอยู่ในไทยไม่ต่ำกว่า 180 วัน
ในปีนั้น ๆ ด้วยนะครับ 🇹🇭
🔎 Q : ถ้ามีพี่น้องหลายคนช่วยกันออก
ค่าเบี้ยสุขภาพให้พ่อแม่ จะลดหย่อนยังไง?
A : มีหลายคนช่วยกันจ่าย ก็สามารถลดหย่อนได้เฉลี่ยกันไปตามจำนวนคนเลยครับ
เช่น พี่น้องสองคนแชร์ค่าเบี้ยกัน
สิทธิ์ลดหย่อน 15,000 บาท
หารสองก็ลดหย่อนได้คนละ 7,500 บาทครับ
🔎 Q : ไหน ๆ ก็ไหน ๆ ละ เอาค่าเบี้ยประกันสุขภาพ
ของพ่อแม่สามี / ภรรยา มาลดหย่อนด้วยได้ไหม?
A : ทำได้ครับ ในกรณีที่สามีหรือภรรยาของคุณ
ไม่มีรายได้เลยในปีภาษีนั้น ส่วนเงื่อนไขอื่น ๆ
ก็ตามที่คุยกันไปแล้วเลยครับ
ครบแล้วกับ 8 ข้อควรรู้เกี่ยวกับ
การลดหย่อนภาษีจากประกันสุขภาพ
ก่อนสิ้นปีนี้หาของขวัญเป็นประกันสุขภาพดี ๆ 
ให้ตัวเอง หรือคุณพ่อคุณแม่ ก็ลองเลือกดูนะครับ แถมยังได้ใช้สิทธิ์ลดหย่อนภาษีอีก
ใครมีคำถามอะไรเพิ่มเติมอยากให้แอดพี่บี
ช่วยหาคำตอบ ส่งคอมเมนต์ทิ้งไว้ได้เลยนะครับ 😉
ถ้าสนใจประกันสุขภาพตัวท้อป
จากกรุงเทพประกันชีวิต คุ้มครองครบ
ทั้ง IPD + OPD จ่ายค่ารักษาตามจริง
สามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติม
ได้ที่ลิ้งค์ด้านล่างนี้นะครับ 👇
โฆษณา