5 ธ.ค. 2019 เวลา 03:10 • ธุรกิจ
น้องเห็ดอยากรู้ เล่าหุ้นอยากตอบ
ตอน กองทุน ltf vs กองทุน ssf
เป็นคำถามที่สั้นได้ใจความของน้องเห็ด แต่ เป็นประโยคที่อยากรู้เหมือนกัน เลยงัดวิชาเส้าหลินมาใช้โดยยืม วิชาอินโฟกราฟฟี ของสำนักลงทุนแมน มาช่วยให้น้องเห็ดได้เห็นภาพชัดๆ
ส่วนเล่าหุ้นจะเจาะเคล็ดวิชาที่เคยได้เรียนมาจากสำคัญเส้าหลิน ถอดกระบวนท่า ลดหย่อนภาษี ltf และ ssf มาติดตามกันครับ
กองทุนรวมหุ้นระยะยาว(ltf) จะสิ้นสุด การลดหย่อนภาษี ใน ปีนี้ 2562 และได้จัดตั้งกองทุนรวมเพื่อส่งการออมระยะยาว ขึ้นมาแทน
cr.ลงทุนแมน
เงื่อนไขการซื้อเพื่อลดหย่อนภาษี
-ltf ซื้อได้ไม่เกิน 15% ของรายได้ทั้งปีและไม่เกิน 500,000 บาท
-ssf ซื้อได้ไม่เกิน 30% ของรายได้ทั้งปีและไม่เกิน 200,000 บาท
ประเภทการลงทุน
-ltf ลงทุน ในหุ้นสามัญในประเทศไทย ไม่ต่ำกว่า 65%
-ssf ลงทุนในหลักทรัพย์ทุกประเภท
ระยะเวลาขายคืนหน่วยลงทุนโดยไม่ผิดเงื่อนไขทางภาษี
-ltf 7 ปีปฎิทิน นับจากวันที่ซื้อ
-ssf ไม่น้อยกว่า 10 ปี นับจากวันที่ซื้อ
ระยะเวลาการลดหย่อนภาษี
-ltf ปี 2562 เป็นปีสุดท้าย
-ssf ปี 2563-2567 หลังจากนั้นกระทรวงการคลังจะประเมินมาตรการเพื่อพิจารณาอีกครั้ง
กำไรจากการขายคืน
-ltf ยกเว้นภาษี
-ssf ยกเว้นภาษี
มูลค่าการลงทุนขั้นต่ำ
-ไม่กำหนดเงื่อนไขขั้นต่ำและไม่กำหนดเงื่อนไขการซื้อต่อเนื่อง
นี้เป็นสิ่งเป็นข้อแตกต่างระหว่าง lif และ ssf แล้วเราจะเอามาลดหย่อนภาษีอย่างไร
เล่าหุ้นจะเล่าให้ฟังต่อครับ
ด้วยวิธีการคำนวณภาษีจากเงินได้สุทธิ
( รายได้ทั้งปี-ค่าใช้จ่าย-ค่าลดหย่อน) * อัตราภาษี
***กฎหมายให้หัก ค่าใช้จ่ายแบบเหมา 50% ของรายได้ แต่สูงสุด ไม่เกิน 100,000 บาท
ยกตัวอย่างเช่น
น้องเห็ด มีรายได้ทั้งปี 100,000 บาท จะหักค่าใช้จ่าย 50% (100,000*50%) = 50,000 บาท
ต่อมาน้องเห็ดย้ายที่ทำงาน มีรายได้ทั้งปี 300,000 บาท จะหักค่าใช้จ่าย 50%
(300,000*50%) = 150,000 บาท
***แต่ กฎหมาย บังคับว่า สูงไม่เกิน 100,000 บาท ถึงคำนวณได้ 150,000 บาท แต่เอามาหักจริง ได้ 100,000 บาทครับ***
ที่นี้มาดูในส่วนของค่าลดหย่อนบ้าง
ค่าลดหย่อน คือ รายการที่กฎหมายกำหนดไว้ให้นำไปหักออกจากเงินได้เพิ่มขึ้นหลังจากที่หักค่าใช้จ่ายแล้ว
cr.tax bugnoms ต้องขออภัยที่ข้อมูลบางตัวไม่ update แต่เพื่อเป็นกรณี ศึกษา การเปรียบเทียบการคำนวณ ltf กับ ssf จะใช้ค่าลดหย่อน ส่วนตัวและ กองทุน ltf และ ssf เท่านั้นครับ
ที่นี้มาดูตารางคำนวณภาษีกันต่อ
cr.taxbugnoms
เราจะมาคำนวณ กันว่า น้องเห็ดจะต้องเสียภาษี เท่าไร
กรณี น้อง เห็ด มีรายได้ทั้งปี 300,000 บาท โดยมีค่าลดหย่อนส่วนตัว 60,000 บาท ค่าเลี้ยงดูพ่อแม่ คนละ 30,000 บาท เป็น 60,000 บาท
สมการ เงินได้สุทธิ
(รายได้ทั้งปี - ค่าใช้จ่าย-ค่าลดหย่อน)*อัตราภาษี
300,000-100,000-120,000 = 80,000
เราดูตารางภาษี จะเห็นว่า น้องเห็ด ตกอยู่ในช่วง 150,000 บาท น้องเห็ดจึงได้รับการยกเว้นภาษีครับ^^
ลองตัวอย่างอีกกรณีหนึ่งครับ
ผู้จัดการใจดี มีรายได้ทั้งปี 1,000,000 บาท หากผู้จัดการใจดีซื้อ กองทุน ltf เต็ม max ที่ 15% ของรายได้ = 150,000 บาท มีค่าลดหย่อนส่วนตัว 60,000 บาท ค่าเลี้ยงดูพ่อแม่รวมกัน 60,000 บาท
สมการ เงินได้สุทธิ
(รายได้ทั้งปี-ค่าใช้จ่าย-ค่าลดหย่อน)* อัตราภาษี
(1,000,000-100,000-270,000) = 630,000
หมายเหตุค่าลดหย่อน ได้มาจาก
150,000 + 60,000+60,000 = 270,000 บาท
เรามาดูตารางภาษีกันครับ
cr.taxbugnoms
ผู้จัดการใจดี จะเสียภาษีเท่าไรนะ
150,000 ได้รับการยกเว้น
150,001-300,000 เสียภาษี 5% 7,500
300,001-500,000 เสียภาษี 10% 20,000
500,001-750,000 เสียภาษี 15%
(ผู้จัดการใจดี มีเงินได้สุทธิ 630,000
เอา 130,000 มาคำนวณ ฐาน 15%) 19,500
รวม ผู้จัดการใจดีต้องจ่ายภาษี 47,000
อีกตัวอย่างหนึ่งกรณีซื้อกองทุน ssf
คุณหมอเวท มีรายได้ทั้งปี 1,000,000 บาท ได้ซื้อกองทุน ssf เต็ม max 30% = 300,000 บาท
แต่กฎหมายบังคับลดหย่อนได้ 200,000 บาท ค่าลดหย่อนส่วนตัว 60,000 บาท ค่าลดหย่อนเลี้ยงดูพ่อแม่ 60,000 บาท
สมการ รายได้สุทธิ
( รายได้-ค่าใช้จ่าย-ค่าลดหย่อน) * อัตราภาษี
(1,000,000-100,000-320,000) = 580,000
หมายเหตุ ค่าลดหย่อนได้มาจาก
200,000+60,000+60,000 = 320,000
เรามาดูตารางภาษีกัน
cr.taxbugnoms
คุณหมอเวท จะเสียภาษีเท่าไร
150,000 ได้รับการยกเว้น
150,001-300,000 เสียภาษี 5% 7,500
300,001-500,000 เสียภาษี 10% 20,000
500,001-750,000 เสียภาษี 15%
คุณหมอเวท มีเงินได้สุทธิ 580,000
เอา 80,000 มาคำนวณ ฐาน 15% 12,000
รวมคุณหมอเวทต้องจ่ายภาษี 39,500
จะเห็นว่า เมื่อผู้จัดการใจดี ซื้อ ltf และ คุณหมอเวท ซื้อ ssf ถึงแม้จะ มีรายได้ 1 ล้านบาท
แต่คุณหมอเวทสามารถ ประหยัดภาษีมากกว่าผู้จัดการใจดี ถึง (47,000-39,500) = 7,500 บาทเลยที่เดียว
มาลองดูอย่าง ผู้มีรายได้สูงกันบ้างครับ
ผู้อำนวยการเป้ยเจ้าของโรงแรมจะเล่าอะไรให้ฟัง
มีรายได้ 4,000,000 บาท มีค่าลดหย่อนส่วนตัว 60,000 บาท ค่าลดหย่อนเลี้ยงดูพ่อแม่ 60,000 บาท ซื้อกองทุน ltf เต็มmax 15% ของรายได้
= 600,000 แต่กฎหมายบังคับลดหย่อนไม่เกิน 500,000 บาท
สมการรายได้สุทธิ
(รายได้-ค่าใช้จ่าย-ค่าลดหย่อน)*อัตราภาษี
4,000,000-100,000- 620,000 = 3,280,000
หมายเหตุ ค่าลดหย่อนได้มาจาก
500,000+60,000+60,000 = 620,000
เรามาดูตารางกัน
cr.taxbugnoms
ผู้อำนวยการเป้ยจะเสียภาษีเท่าไร
150,000 ได้รับยกเว้น
150,001-300,000 เสียภาษี 5% 7,500
300,001-500,000 เสียภาษี 10% 20,000
500,001-750,000 เสียภาษี 15% 37,500
750,001-1,00,000 เสียภาษี 20% 50,000
1,000,001-2,000,000 เสียภาษี 25% 250,000
2,000,001-5,000,000 เสียภาษี 30%
(ผู้อำนวยการเป้ย มีเงินได้สุทธิ
3,280,000 เอา 1,280,000 มาคำนวณ
ฐานภาษี 30%) 384,000
รวมผู้อำนวยการเป้ยจ่ายภาษี 749,000
มาดูอีกตัวอย่างหนึ่งที่มีรายได้สูงกันครับ
เจ้าของกิจการข้าวน้อยฟาร์ม
มีรายได้ 4,000,000 บาท มีค่าลดหย่อนส่วนตัว 60,000 บาท และ
ค่าลดหย่อนเลี้ยงดูพ่อแม่ 60,000
ซื้อกองทุน ssf เต็ม max 30% ของรายได้ =1,200,000 บาท แต่ กฎหมายลดหย่อนไม่เกิน 200,000 บาท
สมการรายได้สุทธิ
(รายได้-ค่าใช้จ่าย-ค่าลดหย่อน)* อัตราภาษี
4,000,000-100,000-320,000 = 3,580,000
หมายเหตุ ค่าลดหย่อนได้มาจาก
200,000+60,000+60,000 = 320,000
เรามาดูตารางกัน
cr.taxnugnoms
เจ้าของกิจการข้าวน้อยฟาร์มจะเสียภาษีเท่าไร
150,000 ได้รับยกเว้น
150,001-300,000 เสียภาษี 5% 7,500
300,001-500,000 เสียภาษี 10% 20,000
500,001-750,000 เสียภาษี 15% 37,500
750,001-1,00,000 เสียภาษี 20% 50,000
1,000,001-2,000,000 เสียภาษี 25% 250,000
2,000,001-5,000,000 เสียภาษี 30%
(เจ้าของกิจการข้าวน้อยมีเงินได้สุทธิ
3,580,000 เอา 1,580,000 มาคำนวณ
ฐานภาษี 30%) 474,000
รวมเจ้าของกิจการข้าวน้อยจ่ายภาษี 839,000
จะเห็นได้ว่า ผู้อำนวยการเป้ย ซื้อ ltf จ่ายภาษี 749,000 บาท ขณะที่เจ้าของกิจการข้าวน้อย ที่ซื้อ ssf เสียภาษี 839,000บาท มากกว่า
ผู้อำนวยการเป้ย (839,000-749,000) = 90,000 บาท
สรุป
ถ้าเทียบระหว่างกองทุน ltf กับ ssf แบบตัดปัจจัย แฟกเตอร์ ลดหย่อนภาษีอื่นไปหมด เหลือส่วนตัวและลดหย่อนดูแลพ่อแม่
จะเห็นได้ว่า
หากรายได้ไม่เยอะ มาก การซื้อ กองทุน ssf จะลดหย่อนภาษี ได้คุ้มค่ากว่า
แต่ในขณะเดียวกัน ถ้ามีรายได้สูง การซื้อ กองทุน ltf จะลดหย่อนภาษี ได้คุ้มค่ากว่า ครับ
ก็เป็นสิ่งที่น้องเห็ดอยากรู้ เล่าหุ้นอยากตอบ หวังว่าจะกระจ่างเกี่ยวกับกองทุน ssf มากขึ้นนะครับ
มีคำถามที่อยากสอบถาม comment เข้ามาถามใต้โพสได้เลยครับ
หวังว่าจะมีประโยชน์ในการเอาไปใช้ในการคำนวณเพื่อลดหย่อนภาษีประจำปีในปีนี้นะครับ
หมายเหตุ : ยังมีส่วนที่เราสามารถนำลดหย่อนภาษีได้อีกหลายตัว เพียงแต่บทความนี้ต้องการเปรียบเทียบ ข้อดีข้อเสีย ของ กองทุน ltf และ ssf เท่านั้นครับ
ทิ้งท้ายคำคม
" คิดจะไปดวงจันทร์ อย่าหยุดที่ปากซอย
แล้วถ้าพี่ไปดอย แล้วน้องจะคอยมั้ย "555
ฝากกด like
ฝากกด share
ฝากติดตาม เป็นกำลังใจให้แอดด้วยเด้อ^^
ขอบคุณภาพประกอบ
-ลงทุนแมน
-taxbugnoms
เรียบเรียงและวิเคราะห์ โดย
เล่าหุ้นให้มันง่าย
โฆษณา