Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
Bn Health
•
ติดตาม
4 ธ.ค. 2019 เวลา 14:00 • สุขภาพ
โรคที่มากับฤดูหนาว
แม้ฤดูหนาวจะเป็นฤดูที่หลายคนชอบ แต่ก็เป็นฤดูที่อาจนำความเจ็บป่วย มาให้เราหลายอย่าง แม้ประเทศไทยจะอุณหภูมิจะไม่หนาวเหมือนหลายๆประเทศก็ตาม โรคที่มาพร้อมกับฤดูหนาว
โรคไข้หวัด
เชื้อไวรัสหวัดมีเป็นร้อยชนิดในโลก ซึ้งสามารถติดต่อกันได้ จากการสูดอากาศที่มีเชื้อโรคนี้ปนอยู่เข้าไป อาการประกอบด้วยการไอ จาม คัดจมูก น้ำมูกไหล ระคายคอ และมีไข้ตามมา โดยทั่วไปโรคนี้จะหายเองตามธรรมชาติ ภายใน 1 สัปดาห์ และไม่มีภาวะแทรกซ้อน
การดูแลรักษาตอนที่ไม่สบาย ได้แก่ การพักผ่อนให้เพียงพอ หลีกเลี่ยงการออกกำลังหรือกิจกรรมบางอย่าง ที่ไม่จำเป็น ดื่มน้ำมากๆ โดยเฉพาะน้ำผลไม้ กินยาลดไข้พาราเซตามอล ยาลดน้ำมูก และยาแก้ไอ
โรคไข้หวัดใหญ่
โรคไข้หวัดใหญ่จะมีการระบาดครั้งใหญ่เป็นประจำในฤดูหนาว โดยเกิดจากเชื้อไวรัส ไข้หวัดใหญ่ ซึ้งมีอยู่ 3 ชนิด ด้วยกัน คือ ชนิด A,B,C เชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่ชนิด C นั้นพบน้อยพบในวงแคบ และไม่รุนแรง แต่ไวรัสไข้หวัดใหญ่ชนิด A นั้น พบได้ในคนและสัตว์ นานาชนิด สามารถก่อโรคได้รุนแรง และเป็นปัญหาของโลกเกือบทุกปี เพราะมีการระบาดในหลายพื้นที่
เชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่ จะเข้าสู่รางกายทางเดินของระบบหายใจ ซึ้งจะมาจากน้ำมูก น้ำลาย หรือเสมหะของผู้ป่วย เมื่อมีการไอหรือจาม ทำให้เชื้อแผ่กระจายในอากาศ เมื่อสูดเข้าไปในทางเดินหายใจ จะทำให้เกิดโรคภายใน 1-3 วัน นอกจากนี้อาจติดต่อโดย การไปจับสิ่งของที่ปนเปือนน้ำมูก หรือน้ำลายของผู้ป่วย เช่นลูกบิดประตู ราวบันได แก้วน้ำ โทรศัพท์ แล้วมาจับบริเวณใบหน้าทำให้เชื้อ เข้าสู่รางกายทางจมูกได้
โดยส่วนใหญ่โรคนี้ไม่ได้เป็นอันตรายร้ายแรงใดๆ กับคนทั่วไป แต่ในผู้ป่วยบางกลุ่ม เช่นผู้สูงอายุ ผู้ที่มีโรคประจำตัวเรื้อรัง เช่นหอบหืด โรคถุงลมโป่งพอง หัวใจวาย โรคเบาหวาน โรคไตวาย ผู้ป่วยภูมิคุ้มกันบกพร่อง อารเกิดปัญหาแทรกซ้อนได้มาก เช่นปอกอักเสบติดเชื้อ ทั้งจากเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่เองและเชื้อแบคทีเรียแทรกซ้อน
ในประเทศไทยเองก็มีผู้ป่วยไข้หวัดใหญ่ปีละ 20,000-50,000 รายทุกปี แต่อัตราการเสียชีวิตไม่ถึง 10 รายต่อปี ส่วนใหญ่ผู้ที่เสียชีวิตจะเป็นผู้สูงอายุ
อาการของไข้หวัดใหญ่ ได้แก่ มีไข้ ปวดศีรษะ ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ ซึ่งมักมีอาการมาก 3-4 วันแรก หลังจากนั้นอาจเจ็บคอ ไอแห้ง คัดจมูกน้ำมูกไหล โดยทั่วไปจะมีอาการ 7-10 วัน
การรักษาเมื่อมีอาการไม่สบายเกิดขึ้นแล้ว ก็เหมือนกับที่กล่าวแล้วในเรื่องไข้หวัด นอกจากนี้เด็กควรหลีกเลี่ยงการกินยาแอสไพรินเพื่อลดไข้ เนื่องจากอาจทำให้เกิดกลุ่มอาการไรย์(Reye's syndrome) ได้
โรคหอบหืดและโรคปอดเรื้อรังกำเริบ
ผู้ป่วยโรคหอบหืดและโรคปอดเรื้อรังบางรายอาจมีอาการกำเริบ หอบเหนื่อยมากขึ้นในฤดูหนาว โดยเฉพาะหากติดเชื้อไข้หวัดและไข้หวัดใหญ่ร่วมด้วย
ดังนั้นในฤดูหนาว จึงต้องดูแลสุขภาพให้ดี เพื่อไม่ให้ติดไข้หวัดและไข้หวัดใหญ่ได้
โรคภูิมแพ้
คนที่มีโรคภุมิแพ้อากาศอยู่เดิม อาจมีอาการมากขึ้นในฤดูหนาว โดยเฉพาะในช่วงที่อากาศเปลี่ยนใหม่ๆ บางคนแพ้ตัวไรฝุ่นที่อยู่ตามที่นอน แพ้ควันบุหรี่ หรือแพ้ขนสัตว์ ก็อาจมีอาการมากเช่นกัน เนื่องจากมีโอกาสอยู่ในบ้านร่วมกับคนสูบบุหรี่และสัตว์เลี้ยงที่มักอยู่ในบ้านช่วงฤดูหนาว มากขึ้น ทำให้คนที่เป็นโรคภูมิแพ้ อยู่เดิม มีโอกาสถูกกระตุ้นจากสิ่งที่แพ้มากขึ้น
อุณหภูมิในร่างกายต่ำเกินไป
ผู้สูงอายุเป็นกลุ่มผู้ป่วยที่อาจเกิดปัญหาอุณหภูมิในร่างกายต่ำเกินไปได้ง่าย โดยเฉพาะในบางรายที่ช่วยเหลือตัวเองได้น้อย ในบางพื้นที่ที่มีอากาศหนาวมาก โดยเฉพาะต่ำกว่า 15-18 องศาเซลเซียส อาจทำให้เกิดภาวะนี้ได้ การดูแลป้องกันคือ พยายามรักษาความอบอุ่นของร่างกายอยู่เสมอ กินอาหารให้ครบ 5 หมู่ และหลีกเลี่ยงการอยู่ในที่อากาศหนาวจัด
ผิวหนังแห้ง ลอก และคัน
ในช่วงอากาศหนาว ความชื้นในอากาศมักลดลง ความชุ่มชื้นที่ผิวหนังของเราก็ลดลงไปด้วย อาจทำให้ผิวแห้ง ลอก และคันได้ ซึ่งมักก่อให้เกิดปัญหากับคนผิวแห้ง หรือผู้สูงอายุ ที่การทำงานของต่อมไขมัน ลดลงและความชุ่มชื้นของผิวหนัง น้อยอยู่แล้ว การป้องกันและแกไขก็คือ การใช้สบู่ที่มีฤทธิ์อ่อน ไม่ขัดผิวมาก ไม่ควรแช่น้ำอุ่นนานๆ อาจลดการอาบน้ำไปวันละครั้ง และทาครีมหรือน้ำมันทาผิว หลังอาบน้ำขณะที่ผิวหมาดๆอยู่
ขอบคุณ
รศ.นพ. วีรศักดิ์ เมืองไพศาล
2 บันทึก
23
10
5
2
23
10
5
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย