Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
Vate's Pharma Scope
•
ติดตาม
5 ธ.ค. 2019 เวลา 15:33 • ความคิดเห็น
ว่าด้วยเรื่อง "พ่อ-ลูก"
พ่อ หรือ บิดา เป็นผู้มีพระคุณอย่างหาที่สุดมิได้ เป็นผู้แสดงโลกนี้แก่ลูก บทความนี้ขอยกแง่มุมเกี่ยวกับความสัมพันธ์ของ "พ่อ-ลูก" ตามคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าให้พวกเราได้ทราบกัน และเป็นแนวทางในการนำไปใช้ครับ
จริง ๆ ความสัมพันธ์นี้มี แม่ หรือ มารดา เข้ามาเกี่ยวข้องด้วย เรียกรวมเป็น มารดาบิดา แต่เพื่อให้เข้ากับบรรยากาศของใช้ตัวแทนของ มารดาบิดา เป็นบิดา (พ่อ) แทนละกันครับ ^^
มุมมองแรก มองในมุมของผู้เป็น "พ่อ" หลายท่านในที่นี้มีลูก ฉะนั้นท่านคือพ่อคนหนึ่ง พ่อต้องปฏิบัติต่อลูกอย่างไร มีอยู่ 5 ข้อ ครับ
1. ห้ามเสียจากบาป : การห้ามเป็นลักษณะหนึ่งที่พ่อต้องทำ เมื่อเห็นว่าลูกทำชั่ว พ่อต้องคอยสอนลูกเสมอ ๆ ว่าสิ่งไหนไม่ดีไม่ควรทำ เมื่อเห็นลูกทำพ่อจะต้องคอยห้าม แต่จะใช้วิธีห้ามอย่างไรขึ้นอยู่กับดุลยพินิจและความเหมาะสม
2. ให้ตั้งอยู่ในความดี : สืบเนื่องมาจากข้อที่ 1 นอกจากจะห้ามไม่ให้ลูกทำชั่วแล้ว พ่อต้องสอนลูกด้วยว่า ความดีคืออะไร ? สอนลูกให้ทำความดี แค่สอนอาจจะไม่พอ ต้องให้ลูกตั้งอยู่ในความดีให้ได้ เมื่อลูกตั้งอยู่ในความดีได้ ลูกจะไม่ทำชั่วแน่นอน
3. ให้ศึกษาศิลปะ : คือการให้ลูกได้เล่าเรียน (ศึกษา) ศิลปะหรือศาสตร์ต่าง ๆ เพื่อเป็นความรู้ใช้เลี้ยงตนเองได้ หากวันหนึ่ง "พ่อ" ได้จากโลกนี้ไปแล้ว ลูกต้องอยู่ต่อไปได้
4. ให้มีคู่ครองที่สมควร : ว่าด้วยเรื่องคู่ครอง อย่าปล่อยให้ลูกต้องอยู่คนเดียว อย่าหวงลูกมากจนไม่ปล่อยให้ลูกไปมีคู่ครอง (พ่อแม่บางคนทำ) แต่ประเด็นที่ลูกปรารถนาจะอยู่แบบไร้คู่จะทำเช่นไรดี ?
เราจึงเห็นคนโบราณมักจะเลือกคู่ครองให้กับลูกสาวหรือลูกชาย เพราะการแต่งงานบางทีอาจจะไม่ใช่เรื่องของคนสองคน (มีคนอื่น ๆ เกี่ยวข้องมากพอสมควร) แต่ปัจจุบันเราอาจจะบอกว่ายุคสมัยเปลี่ยนไปแล้ว แม้กาลเวลาจะเปลี่ยนไปแค่ไหน "คู่ครอง" จำเป็นต้องมีครับ เพราะเดี๋ยวจะมีหน้าที่ของลูก 1 ข้อที่เกี่ยวกับเรื่องนี้
5. มอบมรดกให้ตามเวลา : ผู้เป็นพ่อต้องยกมรดกให้ลูก พ่อตายไปแล้วทรัพย์สมบัติหรือมรดกอื่นใด ลูกคือผู้ได้รับ ดังนั้นลูกต้องทำตัวให้สมกับผู้รับมรดก ไม่อย่างนั้นพ่ออาจจะไม่ยกมรดกให้ (มีหน้าที่ของลูกในเรื่องนี้เช่นกัน)
หากบุคคลผู้เป็นพ่อทำหน้าที่ทั้ง 5 นี้อย่างบริบูรณ์ ไม่ขาดตกบกพร่อง พระพุทธเจ้าตรัสว่า ภัยเวรอันเกิดจากลูก พ่อได้ทำการปิดกั้นเสียแล้ว
ต่อด้วยมุมมองที่ 2 มองในฝั่ง "ลูก" หลายท่านฐานะตอนนี้คือลูกอย่างเดียว แต่หลายท่านตอนนี้อาจอยู่ในฐานะเป็นได้ทั้งพ่อและลูก เมื่อเป็นดังนั้นลูกต้องปฏิบัติต่อพ่ออย่างไร มี 5 ข้อ เช่นกันครับ
1. ท่านเลี้ยงเราแล้ว เราจะเลี้ยงท่าน : ข้อนี้ชัดเจนแจ่มแจ้งแทบไม่ต้องอธิบาย แต่ปัจจุบันเราคงเคยได้ยินประโยคที่ว่า "ลูก 7-8 คน พ่อหรือแม่เลี้ยงได้ แต่พ่อหรือแม่แค่คนเดียว ลูก 7-8 คน กลับเลี้ยงท่านไม่ได้" 😢
หน้าที่ข้อที่ 1 เราก็ทำไม่ได้แล้วครับแบบนี้ ปัจจุบันเห็นได้มากขึ้นไม่ทราบด้วยเหตุอันใด ส่วนตัวเคยมีประสบการณ์ทำกิจกรรมที่บ้านพักคนชรา ท่านมีลูกแต่ลูกไม่เลี้ยงท่าน ?
2. เราจะทำกิจของท่าน : ไม่ว่าจะเป็นกิจน้อยหรือใหญ่ พ่อใช้ให้เราทำอะไรเราทำเถอะครับ ช่วยเหลืองานท่านบ้าง พ่อบางคนทำงานหนักมากในการเลี้ยงลูกสักคน
3. เราจะดำรงวงศ์สกุล : เราต้องรักษาชื่อเสียงของวงศ์สกุลไม่ให้เสื่อมเสีย ไม่ให้มีใครมานินทาว่าร้ายตระกูลเราได้ ดังเห็นในข่าวบ่อย ๆ ลูกทำผิด คนเขาด่าไปถึงพ่อแม่ วงศ์ตระกูล
หากเป็นชายก็ควรมีคู่ครองเพื่อสืบทอดสกุล ข้อนี้จะสอดคล้องกับข้อ 4 ในหน้าที่ของพ่อในเรื่องให้มีคู่ครองที่สมควร ถ้าไม่มีลูกหลานสืบวงศ์สกุลต่อไป วงศ์สกุลก็เป็นอันล้มหาย ตายจากไปในที่สุดนั่นเองครับ
4. เราจะปฏิบัติตนเป็นทายาท : เป็นผู้ควรแก่การรับมรดกที่พ่อจะให้ หากทำตัวไม่ดี ไม่สมกับเป็นทายาท พ่อก็ไม่ให้มรดก จะเห็นว่ามีความสอดคล้องกับหน้าที่ข้อที่ 5 ของพ่อในเรื่องมอบมรดกให้ตามเวลา พ่อต้องให้และลูกต้องดีพอที่จะรับ ต่างคนต่างทำหน้าที่สมบูรณ์แบบลงตัว
5. เมื่อท่านทำกาละล่วงลับไปแล้ว เราจะกระทำทักษิณาอุทิศท่าน : ทำบุญอุทิศให้พ่อเมื่อท่านตายจากโลกนี้ไปแล้วนั่นเองครับ ข้อนี้ลูก ๆ หลายท่านทำได้ดีครับในเรื่องนี้ เห็นได้ชัดพอสมควรครับ
หากบุคคลผู้เป็นลูกทำหน้าที่ทั้ง 5 นี้อย่างบริบูรณ์ ไม่ขาดตกบกพร่อง พระพุทธเจ้าตรัสว่า ภัยเวรอันเกิดจากพ่อ ลูกได้ทำการปิดกั้นเสียแล้ว
ดังนั้นไม่ว่าเราจะอยู่ในฐานะไหน "พ่อ-ลูก" ฐานะทั้ง 5 ประการนี้เป็นสิ่งที่พึงกระทำ หากบุคคลใดกระทำได้บริบูรณ์ชื่อว่าทำหน้าที่ได้สมบูรณ์ในฐานะนั้น ๆ
ขออภัยที่มาดึกนะครับ
5 ธันวาคม 2562
ขอขอบคุณภาพจาก pixabay
3 บันทึก
70
44
7
ดูเพิ่มเติมในซีรีส์
ยารักษาจิตใจ
3
70
44
7
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย