Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
หมออัฑฒ์ แพทย์ทางไกล
•
ติดตาม
4 ม.ค. 2020 เวลา 04:16 • สุขภาพ
🍀 มนุษย์คือ ชีวะกล ที่มีชีวิต🍀
ธาตุ4 ตอนที่2
หมอยาท่าBD
ร่างกายมนุษย์เปรียบเสมือนกับเครื่องจักรกลที่มีเนื้อหนังมังสา" เรียนรู้และเข้าใจเพื่อเป็น หมอดูแลตัวเอง"โดยใช้อาหารเป็นยา
3
เมื่อมนุษย์ ปฎิสนธิในครรภ์มารดา เราต่างได้รับอิทธิพลการกระทำโดยตรงจาก ดวงอาทิตย์ ฤดูกาล และอาหารการกินที่แม่ได้รับขนิดต่างๆในช่วงนั้น
ที่จะเป็นตัวกำหนด ธาตุ ให้เรา ทั้งนี่้เราจะเรียกว่าธาตุกำเนิด หรือ ธาตุเจ้าเรือน
แต่ก่อนจะถึงขั้นตอน นั้น ต้องเข้าใจเรื่อง ระบบขับเคลื่อนของขีวิตก่อนครับ
มนุษย์ได้รับธาตุ ปิตตะ วาตะ เสมหะ เพื่อสร้างธาตุดิน จากแม่
เมิ่อตอนอยู่ในท้องแม่ เราจุติมา ไม่ว่าจะเกิด เดือนไหน เวลาตกฟากตอนไหน อิทธิพลที่สำคัญที่สุดคือ ธาตุอาหารที่ได้รับจากมารดา
อาหารที่แม่กินนั้นส่งต่อ จากแม่สู่ลูกทางสายสะดือ ส่งมาเป็นสารอาหาร ที่มี ตรีธาตุ ในที่นี้เราเรียก ...ปิตตะ วาตะ เสมหะ......
เพื่อเลี้ยง ธาตุดิน ซึ่งก็คืออวัยวะต่างของเด็กทารกในครรภ์
ตรีธาตุ คือธาตุทั้ง 3 ที่หล่อเลี้ยงร่างกายให้แข็งแรงเติบโต
ตรีธาตุถ้าไม่สมดุลย์กลายเป็นตรีโทษ
ปิตตะคือ ไฟ วาตะคือลม เสมหะคือน้ำ
ธาตุทั่ง 3 คุมกันอย่างสมดุลย์ ไม่มากเกินไม่น่้อยเกิน ทำให้ร่างกายแข็งแรง
หากไม่สมดุล เราเรียก "ตรีโทษ" ทำให้เกิดความเจ็บป่วย
ตรีธาตุ ในอาหารที่เราทาน ไม่ว่าจะได้จากแหล่งใด ยังเป็นตรีธาตุ ในลักษณะหยาบ มองเห็นได้ แต่เมื่อผ่านเข้าสู่การย่อย ทั้งเชิงกล และเชิงเคมี ตรีธาตุก็ถูกแยกย่อยละเอียดขึ้นเรื่อย จนมีลักษณะเป็นของเหลว บางที่เป็นแก๊ส
ระบบชีวะกล ของร่างกาย จะเข้ารับเอาตรีธาตุนั้น ขึ้นอยู่กับว่า ...ใครเป็นของใคร....
หน่วยที่รับเอา ปิตตะ ก็จะมารับเอาไปใช้ให้ได้ธาตุไฟ กองต่างๆ
หน่วยที่รับเอา วาตะ ก็มารับเอาธาตุวาตะไป ให้ธาตุลม ทั้ง 6 กอง
หน่วยที่รับ เอาเสมหะก็มารับเอา ธาตุค้ำจุนเสมหะ ไปหล่อเลี้ยงธาตุน้ำทั้ง 12
ตรีธาตุ คุมกันอย่างใกล้ชิด หล่อเลี้ยง ปฐพีธาตุ หรือธาตุดินทั้ง 20 อวัยวะให้แข็งแรง
อาการ 32 นั่นหมายถึงอวัยวะครบทั้ง ดินและน้ำ
คนโบราณ ถึงถามว่า ตอนเกิดมาครบ 32 ไหม
ซึ่ง ลมกับไฟเรามองไม่เห็น
จะว่าไปแล้ว ตรีธาติ เปรียบได้อย่างกับเสาหลักของชีวิต ที่ไม่ได้ฝังดิน ตั้งอยู่เฉยๆ แต่ก็ไม่ล้ม
ถ้าหากมีอิทธิพลจากภายนอก หรือ จากภายใน ที่มากเกิน ก็อาจจะขาดสมดุลย์ได้
หน้าที่ของปิตตะคือ การให้ความอบอุ่นแก่ร่างกาย มีหน้าที่ย่อยอาหาร ช่วยทำให้ไม่แก่ ช่วยควบคุมอุณภูมิของร่างกาย
ในบรรดาธาตุไฟทั้งหมด ....ไฟย่อยสำคัญที่สุด....(เราถึงต้องเคี้ยวอาหารให้ละเอียด)
หน้าที่ของวาตะ คือ ธาตุลม คือทำให้ร่างกายเคลื่ิอนไหวได้ ควบคุมระบบไหลเวียนโลหิต ร่างกายเคลื่อนไหวได้ต้องอาศัยธาตุลม
ธาตุลมยังไม่ใช่แค่ลมธรรมดา
ลมที่สูงขั้นไปอีกขั้นหนึ่งคือ ลมประสาท หรือ จิตประสาท ที่เหมือน สวิชกุญแจปิดเปิดระบบ
ลมประสาท คอยควบคุม ทั้งระบบของร่างกาย เช่น เวลาเศร้าหมองจะไม่หิว เวลาดีใจก็กินได้ดี เหล่านี้เกี่ยวข้องกับ ธาตุลมทั้งสิ้น
หน้าที่ของเสมหะ มีหน้าที่หล่อลื่น กลไกภายในร่างกาย ของเหลวทั้งหมดในร่างกาย คือเสมหะ ทั้งหมด ถ้าร่างกายขาดเสมหะ จะเหี่ยวแห้ง ถ้ามากไปจะอ้วน ผิวเป็นมัน และขี้เกียจ
ซึ่ง ตรีธาตุ ได้จากอาหารที่ได้รับประทานทั้งสิ้น อาหารธาตุ มีปิตตะ วาตะ เสมหะ อย่างหยาบ ที่เมื่อเราทานเข้าไปจะส่งผลต่อระบบ
ทานอาหารรสร้อน ที่ให้ปิตตะมากเกินไป ก็จะคอแห้ง เนื่องจากทำให้เสมหะระเหยไป
ทานอาหารที่มีเสมหะมาก เกินไปทำให้อ้วน เนื้อตัวหนัก
ทานอาหารที่มี วาตะมากไป อาจทำให้เกิดความดันโลหิตสูง มีแก๊สในระบบย่อยอาหารมาก ทำให้เกิดโรคลมได้(ลมขึ้นเบื้องสูง)
ทั้งหมดที่กล่าวมาคือ ระบบการทำงานของ ร่างกายขั้นต้นครับ
พืชพรรณอาหาร ทุกอย่างในโลก ก็มีหลักการเดียวกัน ช่วงเวลาที่เขาเกิดมาก็จะมีส่วนสำคัญ และส่งผลต่อธาตุในตัว
เมื่อมนุษย์กินอาหาร หรือพืชตามฤดูกาลและเกิดในถิ่นที่อยู่สิ่งแวดล้อมที่อาศัย ก็จะได้รับ ธาตุอาหารที่เหมาะสมที่สุด
ผู้รู้ถึงบอกไม่ให้ ทานของที่ไม่ใช่ฤดูกาลของเขา
บทต่อไปจะได้กล่าวถึง ธาตุประจำตัวของคน หรือ ธาตุเจ้าเรือน ครับ
เขียนรับใช้แต่เพียงเท่านี้ ขอบพระคุณสำหรับการติดตาม
อยู่ดีมีสุขทุกท่าน
สวัสดีครับ
16 บันทึก
104
66
23
ดูเพิ่มเติมในซีรีส์
ระบบชีวะกลและธาตุของมนุษย์
16
104
66
23
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย