8 ธ.ค. 2019 เวลา 14:40 • วิทยาศาสตร์ & เทคโนโลยี
ผู้ช่วยคนใหม่ของ "นาซ่า" ในโครงการสำรวจสภาพอากาศใต้มหาสมุทรคือ "แมวน้ำ"
ในงบปีล่าสุด นาซ่าได้รับงบ 21,500 ล้านเหรียญหรือราว 675,000 ล้านบาท แต่ในการสำรวจมหาสมุทร นาซ่าเลือกวิธีการที่คาดไม่ถึง
อย่าไปยึดติดกับภาพโครงการอวกาศราคาแพง ลำพังแค่โครงการไปเยือนดวงจันทร์รอบล่าสุดที่จะเกิดขึ้นเร็วๆนี้ มีการเคาะงบประมาณ ระดับพันล้านดอลลาร์
แต่สำหรับโครงการสำรวจมหาสมุทร นาซ่ากลับใช้วิธีที่ประหยัดงบสุดๆ นั่นคือ ใช้แมวน้ำติดเสาอากาศสำรวจมหาสมุทร
วิธีการ
ติดตั้งเสาอากาศ ซึ่งบางคนเรียกว่า "หมวก" บนหัวของ "แมวน้ำช้าง" ซึ่งมีอุปกรณ์ขนาดเล็กประกอบด้วยเสาอากาศที่ติดตั้งเซ็นเซอร์ที่ติดตามอุณหภูมิของน้ำทะเลที่แมวน้ำลงไป
นักวิทยาศาสตร์ขององค์การนาซ่า จะรวบรวมข้อมูลผ่านเซ็นเซอร์นี้ โดยที่วัตถุประสงค์เพื่อให้เข้าใจถึงวิธีการที่มหาสมุทรและกระแสน้ำจัดเก็บพลังงานซึ่งเกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนสภาพภูมิอากาศในมหาสมุทร
นี่เป็นวิธีการที่นาซ่ารับมือกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศหรือ Climate Change โดยการใช้แมวน้ำเป็นผู้รวบรวมข้อมูล
นอกจากประโยชน์ที่มีมากมาย ที่สำคัญคือประหยัดงบประมาณกับอุปกรณ์ไฮเทคราคาแพงเช่น โดรนทะเลลึก กล้องใต้น้ำไฮเทค และเรือดำน้ำ แถมยังช่วยให้พวกเขาได้เข้าใจวิถีชีวิตของแมวน้ำในแง่มุมใหม่ๆที่ไม่เคยรู้มากัน
ข้อมูลดาวเทียมใช้เพื่อระบุลักษณะของน้ำที่แมวน้ำว่ายน้ำ สีน้ำเงินหมายถึงน้ำเย็นและหนาแน่น สีแดงมีความหนาแน่นน้อยกว่าและจะอบอุ่นกว่า เครดิต: Tandi Dahl
จะว่าไปแล้วแมวน้ำมักชอบดำดิ่งลงไปลึกกว่าวาฬในการไล่ล่าปลาและปลาหมึกที่พวกมันกินเป็นอาหาร
แมวน้ำช้าง ที่ถูกใช้โดยนาซ่าและนักวิทยาศาสตร์ที่เกี่ยวข้องจะดำน้ำลึกถึง 7,000 ฟุต
ดังนั้น แมวน้ำ จึงถือความคิดที่ดี ในการสำรวจว่าเกิดอะไรขึ้นในกระแสน้ำเย็นที่รุนแรงของกระแสน้ำวนขั้วโลกใต้ ซึ่งทำหน้าที่ควบคุมอุณหภูมิทั่วทั้งซีกโลกใต้
ก่อนจบบทความ เพจขอออกตัวให้ "องค์การนาซ่า" หน่อยว่า งานนี้จะว่านาซ่าไม่ลงทุนเลยก็ไม่ได้ เพราะมีการติดตามผ่านดาวเทียม ที่ส่งข้อมูลไปยังนักวิทยาศาสตร์โดยตรง
📷 nasa
Ref.
เรียบเรียงโดย
สาระอัปเดต
โฆษณา