11 ธ.ค. 2019 เวลา 13:17 • การศึกษา
Series สรุปหนังสือ Homo Deus แบบยาว
บทที่ 1 : The New Human Agenda
จุดมุ่งหมายเดิมของมนุษยชาติ (Origin human Agenda) คือ การแก้ไขปัญหา ความอดอยาก (Famine) โรคระบาด(Plaque) และภาวะสงคราม (Wars)
แต่ในโลกสมัยใหม่นี้ ปัญหาดังกล่าวได้บรรเทาเบาบางลงไปแล้ว
1. Famine
ไม่มีการอดอยากที่เกิดจากธรรมชาติอีกแล้วในโลกนี้ เพราะจริงๆแล้ว เราสามารถผลิตอาหารได้พอกับความต้องการทั้งโลก จะมีเหลือก็แต่การอดอยากเพราะปัญหาจากการเมืองเท่านั้น
ปัญหาการบริโภคเกินความต้องการ น้ำหนักเกิน โรคอ้วน กลับกลายเป็นปัญหาหนักว่าการอดอยาก
4
ในปี 2010 มีคนตายด้วยโรคอ้วน 3 ล้านคน ในขณะที่ตายจากขาดสารอาหารเพียง 1 ล้านคน
2.Plagues
มนุษย์เราสามารถคุมการระบาดของโรคติดเชื้อได้อย่างมีประสิทธิภาพ หากมีการระบาดของโรค นั่นคือความผิดพลาดของการบริหารจัดการ เป็นความผิดของรัฐบาล ของสาธารณสุข ไม่ใช่ความโหดร้ายของธรรมชาติ
3.Wars
ในปี 2012 สถิติคนตายทั้งโลกอยู่ที่ 56 ล้านคน
ในนี้มีอยู่ 6 แสนคน ที่ตายด้วย ฝีมือมนุษย์ แบ่งเป็น 1.2 แสนคนที่ตายจากสงคราม , 5 แสนคนตายจากฆาตกรรม ในขณะที่มีถึง 800,000 คนที่ฆ่าตัวตาย
สงครามไม่ค่อยมีประโยชน์อีกต่อไป มันทำกำไรไม่ค่อยได้แล้ว เพราะจากเดิมที่ความมั่งคั่งสร้างขึ้นมาจาก สินทรัพย์ต่างๆ เช่นเหมืองทองคำ น้ำมัน พื้นที่การเกษตร
ปัจจุบัน ความรู้คือทรัพยากรที่มีค่ามากที่สุด
World Peace (สันติภาพ) มีความหมายใหม่ จากเดิมนั้น Peace หมายถึงช่วงลมสงบชั่วคราวก่อนที่จะมีสงครามครั้งต่อไปเกิดขึ้น ปัจจุบันนี้ Peace คือสิ่งที่เป็นปกติ (new normal) แต่สงครามคือสิ่งที่มาเกิดทำให้สันติภาพซึ่งเป็นของปกตินั้น เสื่อมเสียไป
อาจจะมองว่า การก่อการร้ายจะดูมีมากขึ้น และดูน่ากลัวมากขึ้น แต่แท้จริงแล้วการก่อการร้ายไม่ได้มีอำนาจอะไรเลย คนตายจาก Coca-Cola มากกว่า Al-Qaeda
ฉะนั้น หากการก่อการร้ายจะทำให้เกิดความเสียหายรุนแรง หรือสงครามครั้งใหญ่ นั่นก็เป็นความผิดของ ปฏิกิริยาของประเทศต่างๆ ไม่ใช่ของขบวนการก่อการร้าย
จึงกล่าวได้ว่า Famine, Plaque , Wars นั้นเป็นปัญหาที่อยู่ในอำนาจของมนุษย์ที่จะจัดการให้มันหมดไปได้ มนุษย์ไม่สามารถที่มัวจะโทษธรรมชาติ ชะตากรรม หรือพระเจ้า ได้อีกต่อไป
แต่ ประวัติศาสตร์ จะไม่อดทนต่อภาวะสุญญากาศ
หากปัญหาสามอย่างนั้นลดลง ก็จะมีบางอย่างเกิดขึ้นมาใหม่ เป็นปัญหาใหม่ เป็นเป้าหมายใหม่ ที่มนุษย์จะใฝ่อีกครั้ง
ที่ใกล้ตัวเราที่สุด คือ ปัญหาสิ่งแวดล้อม (Ecological Equilibrium) ซึ่ง Harari เชื่อว่ายังไงมนุษย์ก็หาทางแก้มันได้
ดังนั้นถ้ามนุษย์สามารคุม Famine, Plaque, Wars และ Ecological equilibrium ได้ จะเกิดอะไรต่อ มนุษย์จะสามารถพอใจอยู่แค่นั้น แล้วใช้ชีวิตอย่างปกติสุขต่อไปหรือไม่?
แน่นอนว่าไม่ใช่อย่างนั้น โดยปกติมนุษย์จะไม่พอใจในสิ่งที่มีอยู่ เพราะ ปฏิกิริยาต่อความสำเร็จ ไม่ใช่ความพอใจ แต่การต้องการเพิ่มยิ่งขึ้น (Craving for more)
เป้าหมายของมนุษย์นั้นก็เป็นอะไรที่ดียิ่งขึ้น ยิ่งใหญ่ขึ้น ให้อำนาจมนุษย์มากขึ้น
…เมื่อเราคุมความเป็นความตาย ( Mortality )ได้แล้ว เราก็จะแสวงหาความเป็นอมตะ ( Immortality )
…เมื่อเราลดความทุกข์โศก (Misery) ได้แล้ว เราก็จะแสวงหาสุขนิรันดร์ (Happiness)
..เมื่อเราไม่ต้องมากังวลกับการตัวรอดไปวันๆ ( Survival Struggles) ดังเช่นสัตว์ Species อื่นๆแล้ว เราก็จะยกตนเหนือกว่าพวกมัน สัตว์เดรัจฉาน และนำเราไปสู่ อำนาจเทียมทัดเทพเจ้า (Divinity)
3 สิ่งนี้ คือ New human Agenda :
ความเป็นอมตะ (Immortality),สุขนิรันดร์ ( Happiness) และ อำนาจเทียมทัดเทพเจ้า (Divinity)
1. Immortality : The last day of death
Homo sapiens มีอายุขัย 70-80 ปี โดยธรรมชาติอยู่แล้ว ในอดีตที่การแพทย์ไม่เจริญ ก็มีคนจำนวนหนึ่งมีชีวิตยืนยาวได้ถึงช่วงนี้
จะเห็นได้ว่า การแพทย์สมัยใหม่ ไม่ได้ทำให้ชีวิตเรายืนยาวขึ้น มันแค่ไม่ทำให้เราตายก่อนอายุขัยที่ควรจะเป็นเท่านั้น
ยังไงเสีย มนุษย์เราต้องค้นหาหนทางในการยืดอายุขัย เพราะเรามีความกลัวตาย ฝังลึกลงในจิตใจ (Fear of death ingrained in human mind)
2. Happiness : The right to happiness
ความสุขเป็นสิ่งที่มนุษย์ใฝ่หามาตั้งแต่อดีตกาล
ในเมื่อมนุษย์สามารถบรรลุ Original agenda ได้แล้ว โดยรวมแล้ว มนุษย์ก็ควรจะมีความสุขขึ้น
แน่นอน ความสุขไม่ได้เป็นสิ่งที่ง่ายดายขนาดนั้น แม้ว่าโลกเราจะร่ำรวยมากขึ้น มีความปลอดภัยมากขึ้น แต่อัตราการฆ่าตัวตายกลับมีมากขึ้น (โดยเฉพาะในประเทศที่พัฒนาแล้ว)
แม้จะมีความเจริญมากขึ้น มนุษย์ก็ไม่ได้มีความสุขขึ้นเลย
อะไรที่เป็นเพดาน (Glass ceiling) บังไม่ให้มนุษย์มีความสุขมากขึ้น แม้ว่าเราจะประสบความสำเร็จต่างๆมากมาย
1
Glass Ceiling of happiness and the pillars
Harari กล่าวไว้ว่า ความสุขของมนุษย์มีขีดจำกัด เสมือนกับมันมี Glass Ceiling of Happiness (เพดานแก้วจำกัดความสุข) คอยกั้นอยู่ ซึ่งเพดานนี้มีเสา (Pillar) สองต้นคอยค้ำจุน ถ้าเสามีขนาดสูง เราก็จะมีพบความสุขได้มากขึ้น เข้มข้นขึ้น ถ้าเสามันเตี้ย คุณก็จะมีความสุขได้ลดลง เสาสองต้นที่ว่านี้ คือ
2.1 Psychological Pillar: ความสุขขึ้นอยู่กับ ความคาดหวัง (มากกว่า สภาพปัจจุบัน)
ชีวิตที่สงบสุข มักไม่ได้ทำให้ Sapiens มีความสุข
กลับกัน เรารู้สึกพอใจหากความคาดหวังเราเป็นจริง และเมื่อเราบรรลุมันมากเท่าไหร่ เราก็จะยิ่งหวังสูงขึ้นไปเรื่อยๆ
ดังนั้นแล้ว แม้เราจะสมหวังมากแค่ไหน เราจะไม่มีวันที่มีความสุขง่ายๆ
2.2 Biological Pillar: ความสุขขึ้นอยู่กับสารเคมีในร่างกาย
ความสุขมาจากความรู้สึกพอใจ ความทุกมาจากความรู้สึกเจ็บปวด
ไม่มีใครมีทุกข์เพราะตกงาน เราทุกข์ เพราะเรา “รู้สึก” ว่าการตกงานทำให้เรารู้สึก “ไม่ดี” อันเป็นสิ่งที่เกิดในสมอง
คุณสามารถเป็นคนตกงานที่มีความสุขที่สุดในโลกได้ หากคุณไปเล่นยา หลังจากตกงาน
ปัญหาคือ ความรู้สึกพอใจที่เกิดจากสารเคมีในสมอง จะมีช่วงเวลาที่สั้นมาก ภายในเวลาไม่นาน มันก็จะกลายเป็นความรู้สึกไม่พึงพอใจ
คุณอาจจะได้รับการเลื่อนตำแหน่ง คุณอาจจะดีใจตอนที่มีคนแจ้งข่าว แต่ความพอใจนั้นก็มีแค่ประเดี๋ยวประด๋าว ในไม่ช้า คุณก็จะไม่รู้สึกอะไร และหากปีหน้าคุณไม่ได้รับการเลื่อนตำแหน่ง คุณก็จะมีความทุก อาจจะมีความทุกมากขึ้นด้วยซ้ำ เทียบกับหากคุณไม่ได้รับการ promote ตั้งแต่แรก
ทำไมมันจึงเป็นเช่นนี้?
ก็ต้องโทษ วิวัฒนาการ (Evolution) ที่ทำให้เรามีความรู้สึกพึงพอใจได้แค่ช่วงสั้นๆ
Evolution ทำให้ระบบสารเคมีในร่างกายปรับตัวเพื่อความอยู่รอด และการสืบพันธ์ ไม่ใช่เพื่อความสุข
1
จินตนาการว่าหากคุณเป็นกระรอกกลายพันธุ์ ที่เกิดมาแล้ว กินถั่วเม็ดเดียว ก็มีความสุขตลอดกาล
คุณจะเป็นกระรอกที่โชคดีมาก แต่ชีวิตก็จะสั้นมาก และคุณลักษณะนี้ จะสูญพันธ์ไปอย่างรวดเร็ว
สิ่งมีชีวิตที่จะรอดและสืบตระกูลได้ ต้องหิวกระหายขึ้นเรื่อยๆ (Hunger for more & Craving for more)
ซึ่งหากความสุขและพึงพอใจนั้นเกิดจากสารเคมีในร่างกาย ก็มีทางเดียวเท่านั้น ที่จะทำให้มนุษย์ทุกคนมีความสุขได้ นั่นคือ การควบคุมสารเคมีในสมองโดยตรง (Manipulate Human Chemistry)
จึงจะเห็นได้ว่าการควบคุมความสุขนั้น ก็แบ่งหลักๆเป็นสองส่วน ตามเสาทั้งสอง
Psychological : เราสามารถฝึกจิตเรา ให้ละกิเลสต่างๆ ฝึกให้มันอยู่กับปัจจุบัน เพราะมันเป็นบ่อเกิดของความทุกทั้งสิ้น ดังเช่นคำสอนของพระพุทธเจ้า หรือ
Biochemical : สร้างผลิตภันฑ์ที่ไปยุ่งเกี่ยวกับสารเคมีในสมอง เพื่อทำให้มนุษย์มีความสุขตลอดการ
ซึ่งคงไม่ต้องถาม ว่ามนุษย์จะเลือกพัฒนาวิธีไหน
3. Divinity : The Gods of planet Earth
Homo sapien จะกลายเป็นเทพเจ้า (Homo deus – God men)
การอัพเกรดสู่อำนาจแห่งพระเจ้านี้ เกิดจากความก้าวหน้าของ 3 แขนงวิชาสำคัญ คือ
3.1 Biological Engineering
ดัดแปลง เปลี่ยนแปลงรหัสพันธุกรรม เปลี่ยนวงจรการทำงาน และสารเคมีของสมองมนุษย์
3.2 Cyborg Engineering
ผสานรวมสิ่งมีชีวิต เข้ากับเครื่องมือจักรกลต่างๆ (Merging Organic body with non-organic device)
3.3 Engineering of non-organic being
ปัญญาประดิษฐ์ หุ่นยนตร์ และ Neural Network
Homo sapiens จะอัพเกรดตัวมันอย่างเป็นลำดับขั้น จนถึงวันนึงที่ลูกหลานเรามองย้อนกลับมาและพบว่าเขาเป็นคนละเผ่าพันธุ์กับเรา
ซึ่งที่จริง กระบวนการนี้ได้เกิดขึ้นแล้วในปัจจุบัน ในยุคที่ผู้คนพึ่งsmart phone มากขึ้น ยุคที่มีการผ่าตัดเปลี่ยนแปลงใบหน้า เปลี่ยนแปลงรูปร่าง ยุคที่ใช้ยาควบคุมความรู้สึกต่างๆในสมองของตนเองมากขึ้น จนเป็นเรื่องปกติ
ดูเหมือนว่าอนาคตนั้น มนุษย์จะมีการเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็วและรุนแรง โดยที่เราไม่รู้ด้วยซ้ำว่ามันจะเกิดประโยชน์หรือโทษอะไรยังไงบ้าง
จะดีกว่าใหม หากเราพยายามชะลอให้มันค่อยๆเป็นค่อยๆไป?
คำตอบคือ เป็นไปไม่ได้ นั่นเพราะ
ไม่มีใครเข้าใจปัญหาทั้งหมด ทุกคนเป็นแค่ผู้เชี่ยวชาญในสาขาใดสาขาหนึ่ง ข้อมูลมันมหาศาลเกินไปที่จะมีใครคนใดคนหนึ่ง เข้าใจถึงปัญหาทั้งหมด
ถ้าสมมติว่าเราสามารถชะลอการเปลี่ยนแปลง นั่นหมายถึงเราชะลอการเติบโต ซึ่งจะทำให้ระบบเศรษฐกิจทั้งหมดพังพินาศ และสังคมมนุษย์ก็จะพังไปด้วย เพราะเศรษฐกิจทุนนิยมของเราดำเนินได้ด้วยความเชื่อที่ว่ามันจะโตขึ้นเรื่อยๆ หากวันใดเศรษฐกิจหยุดโต หายจะก็จะมาถึง ทุนนิยมนี่เองที่ส่งเสริมให้มนุษย์แสวงหาสิ่งใหม่ๆอยู่เรื่อยๆ
แล้วเราสามารถทำนายได้ใหมว่าจะเกิดอะไรในอนาคต?
ไม่ได้ เนื่องจากสิ่งที่เรียกว่า Paradox of knowledge
หากเรามีข้อมูลน้อย หรือไม่ได้มีข้อมูลที่มีผลกระทบอะไร มันก็จะเป็นข้อมูลที่ไม่มีประโยชน์ (Knowledge that dose not change behavior is useless)
แต่หากเรามีข้อมูลมากพอ และเรามีข้อมูลที่ดีพอที่สามารถเปลี่ยนการกระทำของเราได้ ข้อมูลนั้นก็จะสูญเสียความสำคัญไปในไม่ช้า (Quickly lose its relevance) -> ยิ่งเรารู้มากเท่าไหร่ว่าจะเกิดอะไร มันก็จะไม่เกิดขึ้นจริง
ยกตัวอย่าง Karl Marx ที่ทำนายว่า ในไม่ช้า ระบบทุนนิยม จะทำให้ชนชั้นทางสังคม เหลื่อมล้ำกันมากขึ้น นำไปสู่การแตกหักระหว่างชนชั้น และจบลงด้วยการล่มสลายของทุนนิยม -> แต่ปรากฏว่าข้อมูลอันหลักแหลมนี้ ก็ทำให้พวกทุนนิยมสามารถใช้มันมาป้องกันแก้ไขสิ่งที่จะเกิดขึ้น “Commune”ที่ Marx ทำนายไว้ จึงไม่เกิดขึ้นจริง
2
ยิ่งเรามีข้อมูลมากเท่าไหร่ รู้ดีเท่าไหร่ สิ่งนั้นก็จะไม่เกิดขึ้น ทำให้เราทำนายอนาคตไม่ได้
… แล้วเราจะศึกษาประวัติศาสตร์ไปทำไม?
คำตอบคือ
“Each and Everyone of us has been born into a given historical reality, ruled by particular norms and values, and managed by a unique economic and political system. We take this reality for granted, thinking it is natural, inevitable and immutable” – Yuval Noah Harari
เราอาจจะคิดว่าเราเกิดมาในโลกที่มันเป็นเช่นนี้อยู่แล้ว โลกที่เราเกิดมา มันมีความเชื่อเช่นนี้ มีระบบเช่นนี้ เป็นธรรมดา และเราทำอะไรมันไม่ได้ แต่อันที่จริงแล้วโลกที่เราอยู่ เป็นผลจากเหตุการณ์ต่างๆที่เกิดมาในอดีต และส่งผลกระทบเป็นห่วงโซ่ตามๆกันมา
สิ่งต่างๆที่เกิดในอดีต ต่างเป็นปัจจัยหนึ่งที่มา Shape เทคโนโลยี การเมือง สังคม และ ความคิด ความกลัว ความฝันของเรา
มันเหมือนกับมีมือของบรรพบุรุษจากหลุมศพ มาตรึงรัดคอของเรา ให้เรามองไปยังเป้าหมายเพียงอันเดียว มันเล่นงานเราตั้งแต่เกิด ทำให้เราอาจไม่เคยพยายามสะบัดคอหนีมัน และหลุดออกจากมันได้
1
การศึกษาประวัติศาสตร์ เป็นการพยายามที่จะลดความแน่นจากการถูกบีบคอนี้ (Loosen the grip from the past) ทำให้เรามองเห็นตัวเลือกมากขึ้น เห็นสิ่งบรรพบุรุษของเราไม่เคยเห็น หรือ ที่ไม่ต้องการให้เราเห็น
ประวัติศาสตร์ไม่ได้ช่วยเราในการตัดสินใจในการเลือกสิ่งต่างๆ แต่มันช่วยให้เราเห็นตัวเลือกมากยิ่งขึ้น ( Studying history will not tell us what to choose , but at least It gives us more options. )
The Lawn
Harari ยกตัวอย่างเรื่องสนามหญ้า
หากคุณจะสร้างบ้านสักหลัง คุณอยากมีสนามหญ้าหน้าบ้านหรือไม่
ถ้าคุณอยากมี คุณจะมีไปทำไม?
คุณอาจจะคิดว่า ก็มันสวยดี ใครๆเขาก็มีกัน ถามอะไรแปลกๆ
ประเด็นคือมันเป็นเช่นนั้นจริงหรือไม่?
ประวัติศาสตร์บอกเราว่า สนามหญ้า ไม่เคยมีอยู่ในถิ่นอาศัยของมนุษย์ถ้ำ ในวิหารกรีซ ในกรุงโรม หรือ ในพระราชวังต้องห้ามของจีน
วัฒนธรรมการทำสนามหญ้าสวยๆไว้ต้อนรับแขก เกิดในพระราชวังของอังกฤษและฝรั่งเศส ในช่วงยุคกลาง
น่าเหลือเชื่อว่านิสัยนี้ยังฝังรากลึก และกลายเป็นเครื่องหมายของความเป็นชนชั้นนำ ในยุคสมัยใหม่นี้
เมื่อคิดในด้านอรรถประโยชน์ สนามหญ้านั้นเป็นอะไรที่ไร้ประโยชน์มาก คุณต้องลงแรง ลงเงิน ทนุถนอมมันอย่างดีเพื่อจะได้มีผืนหญ้าสวยๆไว้โชว์หน้าบ้าน มันไม่ได้มีคุณค่าอะไรอื่นเลย จะเอาพื้นที่มาเพาะปลูกก็ไม่ได้ เลี้ยงสัตว์ก็ไม่ได้
สนามหญ้าจึงเป็นเครื่องหมายของความผู้มีความมั่งคั่งและอำนาจ
คุณจึงเห็นสนามหญ้าผืนใหญ่ในพระราชวัง ในสถานที่สำคัญของทางราชการ ในสนามกีฬา
ไปๆมาๆ มนุษย์ก็เลยโยง “สนามหญ้า” เข้าด้วยกับ อำนาจทางการเมือง หน้าตาทางสังคม และความมั่งคั่งส่วนตน
ดังนั้นหากในอนาคตคุณต้องการมีสนามหญ้าเป็นของตัวเอง ลองถามตัวเองสักครั้งว่า คุณต้องการมันไปทำไม?
แน่นอน สุดท้ายมันก็เป็นเรื่องของคุณ แต่คราวนี้คุณก็จะมีความเข้าใจมากขึ้นว่า ทำไมคุณถึงต้องนึกถึงสนามหญ้า?
นี่คือเหตุผลที่สำคัญที่สุดของการศึกษาประวัติศาสตร์
มิใช่เพื่อทำนายอนาคต แต่เพื่อปลดปล่อยคุณให้เป็นอิสระจากอดีต เพื่อให้คุณเห็นทางเลือกที่มากขึ้น
“Not in order to predict the future , But to free yourself of the past and imagine alternative destinies”
ดังนั้นเพื่อให้เข้าใจถึง ความเป็นไปได้ของมนุษย์…หนังสือเล่มนี้จะพยายามหาคำตอบว่า
แท้จริงแล้ว Homo Sapiens คืออะไร มันแตกต่างกันอย่างไรกับสัตว์ชนิดอื่นๆ อะไรทำให้มันพิเศษ เพื่อเป็นการทำนายว่า ถ้าอนาคตเกิด SuperHuman ขึ้นมาจริงๆ เขาจะรู้สึกกับพวกเราเหล่า Sapiens ที่ล้าหลัง อย่างไร?
Homo Sapiens ที่เคยใช้เวลาเกือบทั้งหมดของเผ่าพันธ์ เชื่อในภูติผี เชื่อในพระเจ้า เชื่อในอำนาจลึกลับ มาลงเอยด้วยการเชื่อใน Humanism ได้อย่างไร?
Humanism คือความเชื่อว่า ตัวมันเองเป็นศูนย์กลางจักรวาล และเป็นต้นกำเนิดของทุกๆความหมายและความชอบธรรมต่างๆ ในโลก …ความเชื่อนี้ ได้เปลี่ยนแปลงมนุษย์ไปอย่างไรบ้าง
ทำไมความพยายามที่จะสานฝัน Humanism จะนำไปสู่การสูญสิ้นความหมายของ Sapiens เสียเอง …และหาก Humanism อยู่ในอันตราย จะมีอะไรมาแทนที่มัน?
ติตตาม อัพเดท บทความอื่นๆ ได้ที่ FB : ในโลกของคนอยู่

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา