11 ธ.ค. 2019 เวลา 14:08 • ครอบครัว & เด็ก
แมวไทยกับความเชื่อ
แมวนั้นเป็นสัตว์ที่อยู่คู่กับคนไทยมาตั้งแต่สมัย กรุงศรีอยุธยา โดยเป็นสัตว์มงคลที่มีความเชื่อว่าหากเลี้ยงแล้วจะนำพา ลาภยศ หรือ ความมั่งคั่ง สู่ผู้เลี้ยงโดยแมวไทยโบราณแต่ละ พันธ์นั้น มีลักษณะและความเชื่อที่ต่างกันโดยในสมัยอยุธยานั้น สายพันธ์ต่างๆของแมวไทยได้ถูกบันทึกลงในสมุดข่อย โดยมีทั้งสิ้น 23 ชนิด แต่ในปัจจุบันนั้น เหลือเพียง 4 ชนิด (ไม่นับ พันธุ์ ขาวมณี ) ได้แก่
แมววิเชียรมาศ
แมววิเชียรมาศ
โดยในสายพันธุ์แรก คือ แมววิเชียรมาศ ชื่อนั้นมีความหมายว่า " เพรชแห่งดวงจันทร์ "เป็นแมว สายพันธ์เก่าแก่ของไทย โดย แมววิเชียรมาศนั้น มีจุดดำบนร่างกาย9 จุด ที่ บริเวณ หู 2 ข้าง หน้า เท้า 4 เท้า หาง และ อัณฑะ โดยเป็นเอกลักษณ์ ของ แมวสายพันธุ์นี้ และยังเป็นแมวที่ชนชั้นสูง ขุนนาง ของไทย และต่างประเทศในอดีต นิยม เลี้ยงไว้ในบ้านอีกด้วย
แมวชนิดนี้มีความเชื่อว่า หากเลี้ยงไว้ในบ้าน จะ นำพาเงินทอง เข้าสู่บ้าน ทำให้ผู้เลี้ยง ปราศจากโรคภัย เสริมบารมี
แมว สีสวาด
สายพันธุ์ที่สอง มีชื่อ หลายชื่อ คือ แมวสีสวาด , แมวโคราช ,แมวมาเลศ , แมวดอกเลา ฯลฯ มีลักษณะ สำคัญคือ มีขนสีเทาเงิน และจะ มีสีเดียวกันตั้งแต่เกิดจนตาย หากมีสีอื่นปะปน จะไม่ใช่พันธุ์แท้ เท้าเป็นรูปไข่มีโครงร่างแข็งแรง กว่าแมวพันธ์อื่น หูใหญ่ตั้งสูงเด่น ด้วงตาเป็นประกาย วาว สีตาของลูกแมวจะเป็นสีฟ้า เมื่อโตขึ้นจะเปลี่ยนเป็นสี เหลีอง หรือ เขียว
แมวชนิดนี้มีความเชื่อว่าหากเลี้ยงไว้ จะพบเจอแต่ความสุขความเจริญ มีความสงบร่มเย็น พบเจอแต่สิ่งมงคล
แมวโกนจา
แมวโกนจา
แมวพันธุ์นี้ มีสีดำตลอดทั้งตัว มีขนสั้นนุ่ม หัวกลมโต ปากเรียว หูตั้ง นัยน์ตามีสีเหลืองอมเขียว หรือ เหลืองทอง รูปร่าง คล่องแคล่ว ปราดเปรียว หางยาวเรียวแหลม มีอุ้งเท้าคล้ายเท้าสิงค์
แมวพันธุ์นี้ มีความเชื่อว่า หากเลี้ยงไว้จะส่งเสริมในด้านการงาน การศึกษา ส่งเสริม อำนาจ บารมี วาสนา
แมวศุภลักษณ์
แมวศุภลักษณ์
แมวพันธุ์นี้มีลักษณะสำคัญคือ มีสีน้ำตาลเข้มหรือสี
ช็อคโกแล็ตทั้งตัวโดยไม่มีสีอื่นปะปนเลย ดวงตามีสีเหลืองทอง ขายาวเรียว ฝ่าเท้าอวบ หนวดมีสีทองแดง ในปัจจุบันเป็นแมวทีาใกล้สูญพันธุ์ เต็มที
ความเชื่อคือ ช่วยส่งเสริมให้เป็นเจ้าคนนายคน
ทำให้เงินทองไหลมาเทมา
แมวไทยโบราณ 4 สายพันธุ์นั้น เป็นสายพันธุ์ที่มีต้นกำเนิดมาตั้งแต่สมัย อยุธยา โดยที่ยังสามมารถคงลักษณะแบบเดิมตามทีาถูกบันทึกไว้ในสมึดข่อยเมื่อ ราวๆ 400 ปีที่แล้ว
โฆษณา