11 ธ.ค. 2019 เวลา 17:08 • วิทยาศาสตร์ & เทคโนโลยี
ความจริงที่น่ากลัวเกี่ยวกับกล้วยหอมทอง: หรือมันจะสูญพันธุ์ในไม่ช้า !!!!
หากท่านผู้อ่านนึกถึงกล้วยหอมทองก็คงไม่คิดอะไรมากใช่มั้ยครับ แต่รู้มั้ยครับว่าตลาดส่งออกกล้วยทั่วโลกกำลังอยู่ในภาวะวิกฤตอย่างหนักในช่วงทศวรรษที่ผ่านมาจนถึงอาจขั้นที่เรียกว่าเป็นหายนะที่แท้จริง แต่ทำไมหล่ะครับ!! เราจะมาหาคำตอบในบทความนี้กัน
หากคุณเดินเข้าไปในตลาดแล้วเห็นกล้วยหอมทองที่มีผิวเรียบเนียนน่ารับประทาน ด้วยผลที่มีขนาดใหญ่ รสชาติหวานอร่อยทานอร่อยและอุดมไปด้วยสารอาหารถูกห่อเก็บไว้ด้วยผิวที่เรียบหนาซึ่งช่วยกำจัดสิ่งสกปรกและยาฆ่าแมลง มันเหมือนถูกออกแบบมาเป็นพิเศษสำหรับมนุษย์เพื่อให้พกพาเป็นของว่างไปในกระเป๋าได้ทุกที่ กล้วยหอมทองส่วนใหญ่มากกว่า 99% [1] ที่มีจำหน่ายในท้องตลาดทั่วโลกในปัจจุบันคือ "กล้วยหอมคาเวนดิช (Cavendish banana)" เนื่องจากคุณสมบัติที่เหมาะสมต่อการปลูกเพื่อการค้าและรสชาติที่ดี ทำให้มันเป็นที่นิยมปลูกอย่างรวดเร็วทั่วโลก โดยตลาดค้าส่งกล้วยชนิดนี้มีมูลค้าการส่งออกทั่วโลกถึงปีล่ะ $13 ล้านดอล์ลาร์สหรัฐ อย่างไรก็ตามกล้วยชนิดนี้เป็นหมันโดยธรรมชาติและนั้นคือปัญหาสำคัญ
กล้วยที่ติดเชื้อโรคตายพรายจะแสดงอาการใบเหลืองที่ใบยอด (yellow leaf syndrome) คล้ายกับอาการขาดธาตุโพแตสเซี่ยม (Potassium: K) Cr. Bangkok post News
ก่อนที่ทุกวันนี้ทั่วโลกจะนิยมปลูกกล้วยสายพันธุ์ Cavendish ในช่วงก่อนทศวรรษที่ 1950 ทั่วโลกกลับนิยมปลูกกล้วยหอมทองสายพันธุ์ Gros Michel (AAA) มากกว่า จนกระทั่งเกิดการระบาดของโรคกล้วยตายพราย (Panama disease) โดยโรคตายพรายเป็นโรคที่สร้างความเสียอย่างรุนแรงกับต้นกล้วย ซึ่งพบการระบาดครั้งแรกในประเทศปานามาในช่วงปี 1890 ซึ่งมีสาเหตุมาจากเชื้อรา Fusarium oxysporum f. sp. cubense (Foc). โดยเชื้อฟิวซาเรี่ยมที่มีอยู่ในดินจะเข้าทำลายต้นกล้วยทางราก แล้วแพร่กระจายเข้าลำต้น นอกจากนี้ยังสร้างสปอร์พักไว้ในดินได้เป็นระยะเวลานานมาก ด้วยวงจรชีวิตที่ซับซ้อนมากกว่าเชื้อราอื่น ๆ อีกหลายชนิดจึงเป็นเหตุผลที่ทำให้โรคนี้เกิดระบาดเรื้อรังและควบคุมหรือป้องกันกำจัดได้ยากมาก ในระยะแรกโรคตายพรายชนิดที่เรียกว่า "Panama disease Tropical Race 1:TR1" แพร่ระบาดไปทั่วภูมิภาคอเมริกากลางซึ่งเป็นแหล่งปลูกกล้วยที่สำคัญของโรค การระบาดอย่างรุนแรงเรียกได้ว่าเกือบทำลายล้างแหล่งอุตสาหกรรมการปลูกกล้วยหอมทองที่สำคัญของโลกในช่วงทศวรรษ ที่ 1950s และ 1960s แต่นับว่าโชดช่วยที่มีการค้นพบกล้วยหอมทองสายพันธุ์ใหม่ที่ทนทานต่อการระบาดมากกว่าอย่าง "กล้วยหอมทองสายพันธุ์คาเวนดิช (The Cavendish cultivars)" ซึ่งทนทานต่อเชื้อราฟิวซาเรี่ยมสายพันธุ์ TR1 ที่ระบาดอยู่ในขณะนั้น แม้ว่าจะมีข้อเท็จจริงที่ว่ากล้วยสายพันธุ์คาเวนดิชมีรสชาติที่อร่อยน้อยกว่ากล้วย Gros Michel และมีแนวโน้มที่จะช้ำได้ง่ายกว่าระหว่างขนส่ง อย่างไรก็ตามโชดไม่ดีนักที่ทุกวันนี้กล้วยคาเวนดิชกำลังถูกคุกคามจากการระบาดของโรคตายพรายชนิด Panama disease Tropical Race 4 หรือ TR4 ซึ่งมีแนวโน้มว่าจะระบาดรุนแรงขึ้นและยังไม่มีกล้วยสายพันธุ์ใหม่ที่เหมาะสมมาทดแทนกล้วยคาเวนดิช
แผนที่แสดงภูมิภาคที่มีการระบาดของโรคตายพรายในกล้วย Cr.https://www.slideshare.net/ExternalEvents/global-epidemiological-situation-of-fusarium-wilt-of-bananas-tr4
การระบาดของโรคตายกล้วยตายพราย TR4 ได้ขยายวงกว้างไปอย่างรวดเร็วในช่วงไม่กี่ปี แต่ในบางส่วนของประเทศไทยเกษตรกรบางกลุ่มกลับคิดว่าวิธีการเดียวที่จะยับยั้งการระบาดนี้ได้คือต้องปลูกกล้วยหอมทองสายพันธุ์ Gros Michel ทดแทน แต่กล้วยสายพันธุ์นี้ได้สูญพันธุ์ไปแล้ว ทำให้ปัจจุบันมีการปลูกเฉพาะกล้วยคาเวนดิชเท่านั้น ซึ่งเป็นหมันและสามารถขยายพันธุ์ได้เฉพาะจากหน่อหรือเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อเท่านั้น จึงอาจพูดได้ว่ากล้วยคาเวนดิชทั่วโลกมีความหลากหลายทางพันธุกรรมเป็นศูนย์เพราะพวกมันมีต้นกำเนิดมาจากโคลนเดียวกันนั่นเอง มันจึงทำเกิดความเสี่ยงอย่างไม่น่าเชื่อหากเกิดการระบาดของโรคตายพราย ซึ่งตอนนี้เรากำลังเผชิญอยู่อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ เชื้อฟิวซาเรี่ยมที่ปนเปื้อนอยู่ในดินเพียงน้อยนิดก็มากพอที่จะเร่งให้เกิดการระบาดเหมือนไฟป่าไปในทุกๆที่ โดยมันอาจปนเปื้อนไปกับการขนส่ง หรือจากมนุษย์เองได้อย่างง่ายดายจากฝุ่นดินเพียงหยิบมือ
โดย George Mahuku [2] นักพยาธิสภาพโรคพืชจาก International Institute of Tropical Agriculture ได้กล่าวกับสำนักข่าว CNN ว่าเชื้อ TP4 ได้เริ่มแพร่กระจายไปทั่วภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้จากนั้นข้ามไปยังประเทศออสเตรเลียและภายในปี 2013 ก็แพร่ระบาดไปถึงภูมิภาคแอฟริกาและตะวันออกกลาง และมันก็สร้างผลกระทบร้ายแรงให้อุตสาหกรรมการปลูกกล้วยคาเวนดิชในประเทศโมซัมบิก คอสตาริกา ปานามา และอื่น ๆในภูมิภาคอเมริกากลาง เขากล่าวเสริมว่า " โรคนี้สร้างความเสียหายเป็นวงกว้างทำให้บริษัทที่เป็นเจ้าของพื้นที่เพาะปลูกจำนวน 230,000 โรงงานได้รับผลกระทบโดยมีมูลค่าความเสียหายถึงประมาณ 7.5 ล้านดอลลาร์สหรัฐ มีอัตราการสูญเสียจากการติดเชื้อถึง 15,000 ต้นต่อสัปดาห์แปลงเป็นมูลค่าถึง 236,000 ดอลลาร์ต่อสัปดาห์ "
มูลค่าการส่งออกกล้วยหอมคาเวนดิชมีมูลค่าสูงถึง 13.6 ล้านดอลลาร์สหรัฐไม่แน่ว่าการระบาดของโรคตายพราย TR4 อาจเป็นหายนะเหมือนที่เคยเกิดกับกล้วย Gros Michel ในช่วงทศวรรศที่ 1950-1960s
ดังนั้นเราจะแก้ปัญหานี้อย่างไร? ขณะนี้ผู้ปลูกกล้วยกำลังต่อสู้กับการระบาดของโรคกล้วยตายพราย TR4 ด้วยเทคนิคพันธุวิศวกรรมหรือ GMOs กับกล้วยคาเวนดิชให้มีความต้านทานต่อโรคมากขึ้นแต่ต้องใช้ความร่วมมือระดับโลกเป็นจำนวนมากในการกระจายพันธุ์และต้องปลูกในระดับที่ทำให้เกิดความหลากหลายทางพันธุกรรมที่มากพอ ซึ่งเป็นโจทย์ท้าทายอย่างมากสำหรับเกษตรกรที่เคยปลูกกล้วยแบบเชิงเดียวมาก่อน ฉะนั้นคราวหน้าที่คุณกินกล้วยหอมทองคาเวนดิชอันแสนอร่อย อย่าลืมนะครับมันอาจจะไม่มีให้เรากินอีกแล้วเหมือนกับที่เกิดกับกล้วย Gros Michel
โฆษณา