11 ม.ค. 2020 เวลา 13:48 • ท่องเที่ยว
Ashgabat เมืองแห่ง White Marbles "หินอ่อนสีขาว" ที่ เติร์กเมนิสถาน
ที่เติร์กเมนิสถาน มีเมืองหลวงที่ชื่อว่า อาชกาบัต
ที่ได้ชื่อว่า เป็นเมืองหลวงแห่งหินอ่อนของโลก ตามบันทึกกินเนสส์บุ๊ก
ประวัติย่อ
อาชกาบัต เป็นเมืองหลวงของเติร์กเมนิสถานและเมืองที่ใหญ่ที่สุดของประเทศ อาชกาบัต เติบโตขึ้นมาจากหมู่บ้านที่ก่อตั้งขึ้นโดยชาวรัสเซียในปี 1881 เป็นเมืองสำคัญบนเส้นทางสายไหมในอดีต เคยถูกทำลายโดยพวกมองโกลในศตวรรษที่ 13 จนกระทั่งรัสเซียเข้ามาในศตวรรษที่ 19
เมืองนี้เคยประสบเหตุแผ่นดินไหวครั้งรุนแรงในปี 2491 ซึ่งทำให้ประชากรเสียชีวิตไปถึงสองในสามของประชากรเมือง
หลังจากการล่มสลายของสหภาพโซเวียตในปี พ.ศ. 2534 เมืองได้รับการพัฒนาอย่างรวดเร็วและมีสถาปัตยกรรมที่น่าประทับใจ มีการก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐานขนาดใหญ่ ไม่ว่าถนน สวนสาธารณะสีเขียว อาคารที่อยู่อาศัย อาคารรัฐบาลที่งดงาม รวมถึงมัสยิดและพิพิธภัณฑ์
📷 wearekingingit
สิ่งที่โดดเด่นที่สุดของเมือง อาชกาบัตคือการใช้หินอ่อนจำนวนมหาศาลซึ่งส่วนหนึ่งเป็นหินอ่อนที่นำเข้าจากประเทศอิตาลี
อาคารสถานที่ทำงานของรัฐบาล รวมถึงตึกอพาร์ตเมนต์ที่ก่อสร้างขึ้นใหม่หลายร้อยแห่งถูกประดับด้วยหินอ่อนอิตาลีนำเข้า
มีการกล่าวว่า นี่เป็นการแสดงที่โอ้อวดที่ต้องการแสดงให้เห็นความมั่งคั่งของประเทศที่มีก๊าซธรรมชาติซึ่งเป็นทรัพยากรสำคัญอยู่จำนวนมาก
1
📷 ashgabattoday
ในปี 2013 เมืองอาซกาบัตได้รับการบันทึกเป็นสถิติลงใน Guinness World Records เนื่องจากมีอาคารหินอ่อนสีขาวมากที่สุดเมื่อเทียบกับเมืองอื่น ๆ ในโลก
อาซกาบัตถูกบันทึกว่ามีความโดดเด่นในด้านความสำเร็จทางสถาปัตยกรรมสามประการ
1. จำนวนอาคารหุ้มหินอ่อนสีขาวที่มีมากจรถูกบันทึกเป็นสถิติโลกในปี 2013
2. มีแอ่งน้ำพุในพื้นที่สาธารณะจำนวนมาก ซึ่ง Ashgabat Fountain ตั้งอยู่บนเส้นทางถนนจากสนามบินสู่เมืองรวม 27 แห่ง
3. ชิงช้าสวรรค์ในร่มที่ใหญ่ที่สุดในโลก ซึ่งใช้งบประมาณมหาศาล
📷 ashgabattoday
ซึ่งในขนาดพื้นที่เพียง 22 ตารางกิโลเมตรในเมืองหลวงอาซกาบัตมีอาคารปลูกสร้างใหม่ถึง 543 แห่งที่ปกคลุมด้วยหินอ่อนสีขาวจำนวนถึง 4.5 ล้านลูกบาศก์เมตรเลยทีเดียว
และการประเมินตามบันทึกของ Guinness นั่นมากถึงมีหินอ่อนหนึ่งตารางเมตรต่อที่ดิน 4.87 ตารางเมตร
ถนนสายหลักของเมืองคือ Bitarap Türkmenistan Sayolu ซึ่งมีความยาว 12.6 กม. สองข้างถนนจะเรียงรายไปด้วยอาคาร 170 อาคารที่หุ้มด้วยหินอ่อนสีขาวทั้งหมด 1.1 ล้านลูกบาศก์เมตร
แผนที่เมือง
เมืองได้พยายามสร้างความประทับใจด้วยการแสดงให้เห็นถึงความมั่งคั่งเพื่อเป็นหน้าตาของประเทศ
ซึ่งในความเป็นจริงเมืองอาซกาบัตแห่งนี้ ยังมีปัญหาด้านอื่นๆ เช่น ประชากรส่วนใหญ่ยังมีฐานะยากจน มีการกระจายรายได้ที่ยังต่ำอยู่ มีระบบการศึกษาที่ไม่ค่อยมีมาตราฐานสูงมากนักและรวมถึงมีรัฐบาลที่ยังมีข้อบกพร่องในเรื่องความโปร่งใสของการบริหารจัดการ
แผนที่เมือง
เบื้องหลัง
รูปลักษณ์ที่เป็นเอกลักษณ์ของ Ashgabat ส่วนหนึ่งเป็นเพราะประธานาธิบดี Gurbanguly Berdimuhamedow ที่ต้องการสร้างสถิติเป็นหน้าตา และอีกปัจจัยคือผู้นำ Saparmurat Niyazov ที่ดำรงตำแหน่งจากปี 1990 ถึงปี 2006 หลังจากได้รับเอกราชจากสหภาพโซเวียต ได้ทำการเปลี่ยนโฉมหน้าของประเทศเพื่อให้ปรากฏในรูปลักษณ์ที่งดงามทันสมัย
รัฐบาลเติร์กได้เริ่มโครงการบูรณะและตกแต่งใหม่ตั้งแต่ปี 1990 โดยได้ทำการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างของชุมชนแบบดั่งเดิม เพื่อหันมาพัฒนาเมืองโดยการก่อสร้างอนุสาวรีย์และอาคารสูงแทน
📷 ashgabattoday
และมีการผลักดันชาวเมืองไปยังเขตชานเมือง ซึ่งมักจะเป็นอพาร์ตเมนต์เล็ก ๆ และมีระบบสาธารณูปโภคที่ยังไม่ทั่วถึงนัก
ประเทศเติร์กเมนิสถาน มีสภาพเป็นทะเลทรายราว 70 เปอร์เซ็นต์และน้ำ 90% สำหรับบริโภคมาจากแหล่งเดียวคือแม่น้ำ Amu Darya
หลังจากการก่อสร้างน้ำพุอย่างฟุ่มเฟือยในจัตุรัสสาธารณะของ Ashgabat น้ำก็ถูกใช้ไปอย่างไม่สมเหตุสมผล ลดโอกาสการเข้าถึงน้ำของประชากรในเขตรอบเมือง
📷 ashgabattoday
ประเทศเติร์กเมนิสถาน เป็นที่ตั้งของแหล่งก๊าซธรรมชาติที่ใหญ่ที่สุดในโลก แต่เนื่องจากความผันผวนของราคาพลังงานในตลาดโลก
รัฐบาลจึงพยายามที่จะเปลี่ยนโฉมประเทศกลายให้เป็นแหล่งท่องเที่ยว ซึ่งกรณีแบบนี้เริ่มเกิดขึ้นในประเทศที่มีรายได้หลักจากแหล่งพลังงาน เช่น ซาอุดีอาระเบีย และ ยูเออี ที่ต้องการใช้การท่องเที่ยวทำเงินเข้าประเทศ
ในปี 2559 สนามบินนานาชาติรูปนกขนาดใหญ่ได้ถูกเปิดตัวใหม่ หลังจากการปรับปรุงที่มีมูลค่าสูงถึงราว 1.7 พันล้านปอนด์ เพื่อรองรับผู้โดยสาร ที่คาดว่าจะเพิ่มขึ้นจากการท่องเที่ยว แต่ปัจจุบันมีอัตราใช้งานไปเพียง 10% ของความสามารถในการรองรับผู้โดยสารเท่านั้น
สนามบินแห่งใหม่ 📷 sanook.com
เรียบเรียงโดย
สาระอัปเดต
📌 ติดตาม สาระอัปเดต เพิ่มเติมได้ทาง
➡️ Twitter
➡️ Facebook
➡️ Youtube
➡️ Instagram
➡️ Blockdit
...
ติดตามคำคมและแรงบันดาลใจได้ทาง
➡️ Tik Tok
...
ติดตามช่องทางล่าสุด line open chat
เพื่อการรับข้อมูลข่าวสารล่าสุด
➡️ Line
...
🙇🙇 ขอบคุณทุกช่องทางการติดตาม🙇🙇

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา