14 ธ.ค. 2019 เวลา 02:51 • ความคิดเห็น
"Dunning-Kruger effect"
"ชีวิตผิดพลาดเพราะคิดว่าตนฉลาดกว่าที่เป็น"
.
.
หลายคนคงพอรู้จักทฤษฎีนี้กันบ้าง วันนี้ผมขอหยิบยกทฤษฎีนี้มาอธิบายปรากฎการณ์ในสังคมในแง่มุมอื่นๆดูบ้างครับ
.
2
"Dunning-Kruger effect" เป็นทฤษฎีที่พบว่า มนุษย์มักจัดสินใจในชีวิตผิดพลาดเพราะคิดว่าตนฉลาดกว่าที่เป็น ดังภาพในกราฟ
แกนตั้งเป็น "ความมั่นใจในตัวเอง" (Confidence) ส่วนแกนนอนเป็น ความฉลาด เริ่มจาก โง่แบบไม่รู้อะไรเลย (Know-Nothing) เลื่อนไปเริ่มเป็นมีปัญญา (Wisdom) จนเพิ่มพูนไปทางขวาสุดคือ เป็นกูรูผู้รู้จริง (Guru)
.
น่าสนใจตรงจุดที่ 1 ครับ ภูเขาแห่งความโง่เขลา (Mountain of Stupid) เมื่อมองเทียบแกนตั้งมันสูงชันน่าตกใจ ส่วนแกนนอนนั้นอยู่ในช่วง โง่แบบไม่รู้อะไรเลย (Know-Nothing) "นั่นหมายความว่าคนโง่มักมั่นใจในตัวเองสูงมาก" น่ากลัวจริงๆ ครับประโยคนี้ สะอึกเข้าตัวเองเลย
.
แต่การเลื่อนจากสถานะจากจุดที่ 1 มาจุดที่ 2 นี้ก็น่าสนใจมากอะไรคือปัจจัยหนอ? ทำให้คนเปลี่ยนไป อธิบายเป็นคำพูดได้ว่า เมื่อเริ่มฉลาดขึ้นความั่นใจจะหายไปจนสิ้นหวัง (despair) เขารู้แล้วว่าโลกมันกว้างกว่าที่เคยคิด ดังพระพุทธทาสกล่าวไว้ว่า "ความโง่นี่แปลก พอรู้ตัวว่าโง่เมื่อไรความโง่หายไปทันที"
.
แต่เมื่อพัฒนาเริ่มเป็นผู้มีปัญญาจนกลายเป็นกูรูผู้รู้จริงเมื่อไร ความมั่นใจในตัวเองจะกลับมาอีกครั้ง
.
ความมั่นใจในตัวเอง (Confidence) ระหว่างผู้รู้จริงกับคนโง่นี้น่าสนใจมากครับ ผู้รู้จริงจะไม่ตัดสินใจไม่ผิดพลาดถูกเสมอ ส่วนคนโง่นั้นผลลัพธ์ที่ได้จะตรงข้ามที่คิดไว้ผิดพลาดเป็นฝันร้ายเสมอ
.
"ผลลัพธ์" สิ่งนี้ชี้ให้เห็นว่าเราเป็นคนอย่างไรจากการตัดสินใจที่ผ่านมา ในฐานะที่เป็นนักอาชญาวิทยาผมแนะนำให้มองไปที่เด็กแว๊นซ์หรือวัยรุ่นคึกคะนอง พวกเขามั่นใจตัวเองสูงมากว่าตัวเองแน่ และไม่มีวันพลาด เก๋าเสมอเดินเหิรเหนือคนธรรมดา แต่ผลลัพธ์เราจะเห็นพวกเขาอยู่ในสถานพินิจจำนวนมาก
.
นักโทษจำนวนมากก็ล้วนเป็นคนที่มั่นใจในตัวเองแบบนี้มาก่อน ซึ่งผู้ตั้งทฤษฎี Dunning-Kruger effect ก็ได้ยกคดีปล้นธนาคารที่อาชญากรเอาน้ำมะนาวทาหน้าแล้วเดินเข้าไปปล้นจากนั้นกลับบ้านนอนกินขนมดูทีวีเฉย ซึ่งตำรวจตรวจกล้องวงจรปิดแล้วไม่นานก็ล้อมบ้านรวบตัวได้ทันที เขางุนงงมากและบ่นตลอดว่าเป็นไปได้ยังไงที่ตำรวจรู้ว่าเขาเป็นใคร เขาใช้น้ำมะนาวล่องหนทาหน้าแล้วนี่
.
น้ำเต็มแก้วแล้วรินอะไรใส่เพิ่มก็ล้นออกมาอีก เราได้ยินประโยคนี้กันบ่อย แต่สิ่งนี้แหละสำคัญมากที่จะทำให้เราเลื่อนสถานะทางปัญญาจากจุดที่ 1 มาจุดที่ 2 ทัศนคติของตัวเราเองคืออุปสรรคของเราเอง
.
ผมสังเกตเห็นคนจำนวนมากเกรงว่าปัญญาของตนจะตกอยู่ในอันตราย เขาคิดว่าคนมองความฉลาดเขาในแง่ร้ายมากกว่าในแง่ดี เขาจะใช้การโต้เถียงเมื่อมีใครปราถนาดีอยากจะแนะนำ ซึ่งหากใครคนนั้นไม่ได้คิดร้ายอย่างนั้นก็จำต้องปล่อยทิ้งพวกเขาอยู่บนขุนเขาต่อไป
.
ดังนั้นหากพิจารณาจากกราฟแล้ว ความมั่นใจในตัวเองเป็นเรื่องใหญ่มากในการเดินทางของปัญญาการแสวงหาการเรียนรู้อย่างไม่มีที่สิ้นสุดต่างหากคือทางสว่าง และคือเสน่ห์ในการเข้าสังคม
.
ไม่ใช่แค่วัยรุ่นที่เดินทางผิดเพราะ่คิดว่าตัวเองเจ๋ง ผู้ประสบความสำเร็จในชีวิตวัย 50-60-70 จำนวนมากต่างก็ปรับตัวไม่ทันกับยุค Disruption ความเจ่งในอดีตไม่สามารถเจ๋งได้ในปัจจุบันอันนี้เรื่องใหญ่
.
"ไม้แก่ดัดยาก" จากการสังเกต ผมคิดว่าแก่แล้วเรียนรู้ยากด้วยเมื่อเทียบกับตัวเอง เซลล์สมองก็ลด ความจำก็เลือนลางด้อยประสิทธิภาพ ผมมักจะเจอผู้หลักผู้ใหญ่เรียกไปฟังเรื่องเทคโนโลยีสื่อสารใหม่ๆ ซึ่งเขาไม่ได้ต้องการแลกเปลี่ยนความรู้อะไรจากผม แต่แค่อยากให้ผมปรบมือยอมรับและบอกเขาว่าทึ่งมากที่ท่านไม่เคยตกยุค ส่วนผมนั้นนับวันได้แต่อายเด็กๆ ตามเรื่องใหม่ๆ ไม่ทันเด็กรุ่นใหม่
.
ความจริงมักกลับหัว เรื่องใหม่ๆ กลับไปอยู่ที่เด็กๆ รุ่นใหม่ และผู้ใหญ่ที่ยังโลดโผนในโลกปัจจุบันระวังให้ดี ท่านจะถูกทำลายด้วยเทคโนโลยีใหม่ๆที่มาทดแทน เพราะสังคมก็เหมือนสมการมีหลายตัวแปร x y z ก็ว่าไป ซึ่งปัจจุบันเทคโนโลยีกลายมาเป็นตัวแปรเพิ่มมาอีกตัวกลายเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้สังคมเปลี่ยนแปลงการคาดคะเนไป และความรู้ใหม่ๆ ที่ค้นหาอย่างรวดเร็วในการเข้าถึงความจริงได้มากกว่าคนรุ่นเดิมที่ไม่อัพเดต
.
นักวิชาการบางคน อาจารย์มหาลัยบางคน นักการเมืองบางคน หรือแม้แต่ตัวเราเอง ก็ยังมีความมั่นใจผิดๆ ที่ผมเคยเห็นมา โดยเฉพาะอย่างยิ่งการไม่รับฟังสิ่งใหม่ การไม่สนใจทฤษฎีทางวิชาการ ซึ่งทฤษฎีทางวิชาการ คือ การเข้าถึงความจริงอย่างเป็นระบบและนำมาอธิบายปรากฎการณ์สังคมได้แม่นยำที่สุด แต่พวกเขาเลือกเชื่อตัวเอง เพราะความมั่นใจพ้นจุดกูรูไปแล้วในยุคที่ผ่านมา
.
นักการเมืองนี่ก็น่าสนใจ บางคนชาวบ้านไม่รู้จักเลย แต่เลือกเพราะกระแสพรรค ทำให้ท่านก็มั่นใจในความเจ๋งของตัวเองเหลือเกิน และนั่นทำให้เราเห้นได้จากกราฟว่า แม้ท่านฉลาดกว่าคนปกติก็อาจมีโอกาสตัดสินใจทำอะไรผิดได้ง่าย
.
จากกราฟเราจะเห็นความมั่นใจเท่ากันระหว่างคนโง่กับคนฉลาด ความมั่นใจของคนฉลาดหรือกูรูนั้น ผมเข้าใจว่า เหมือนหมอที่มั่นใจว่าจะผ่าตัดสำเร็จ เหมือนนักบินมั่นใจว่าจะลงจอดได้ เหมือนนักร้องประวกดมั่นใจว่ากรรมการจะให้ผ่าน แต่ถ้ามั่นใจมากไปจนไม่เห็นคนอื่นอยู่ในสายตาน่าจะเรียกว่า Ego
.
ความมั่นใจในตนเองในกราฟของ Dunning-Kruger effect นี้จึงเป็นประเด็นสำคัญที่สุดที่เราจะต้องทำความเข้าใจกับตนเองว่ามันปิดกั้นโอกาสในการเข้าถึงปัญญาให้รวดเร็วที่สุดได้อย่างไร และหากเป็นไปได้บอกบุญให้คนรอบข้าง
.
กราฟอธิบายปัญญากับความมั่นใจในตนเองของ Dunning-Kruger effect ทำให้มองเห็นได้หลายมุม และยังมีโอกาสในการพัฒนาทฤษฎีต่อยอดทางวิชาการ ตลอดจนสะท้อนตัวเราให้เข้าใจตัวเรามากขึ้น
.
ความมั่นใจการเลือกเชื่อตัวเองโดยไม่ปรากฎเหตุผลที่เป็นรูปธรรมชัด อาจเป็นเรื่องที่เราต้องหาทางกำจัดด้วยตัวเราเอง และเรียนรู้สิ่งใหม่ตลอดเวลา คิดตามทุกอย่างที่ได้ยิน พิจารณาทุกอย่างที่เห็น แต่บางครั้งก็เป็นเรื่องบุญกรรมใครทำมามากมาน้อยก็ว่ากันไป
.
ปรเมศวร์ กุมารบุญ
#ช่วยกันแชร์เผื่อได้บุญ
โฆษณา