Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
วิศวพลังงาน
•
ติดตาม
19 ธ.ค. 2019 เวลา 15:39 • วิทยาศาสตร์ & เทคโนโลยี
กำลังเป็นประเด็น...
ประเด็น LNG ล้มดีลตอนนี้ ช่วยขยายความหน่อย
--จากมิตรสหายท่านนึง (ยาวหน่อยนะ)--
ความจริงผมเองแม้จะคุ้นเคยด้านเคมี
แต่สมัยเรียนราวปี ค.ศ.1996 แต่ก็ไม่คุ้นกับคำว่า LNG แม้ว่าในต่างประเทศเค้าจะเริ่มใช้กันตั้งแต่ปี ค.ศ.1960++
*** LNG คือ ก๊าซธรรมชาติมี คาร์บอน 1 อะตอมหรือ C1 (สูตรเคมี CH4) เป็นองค์ประกอบมากกว่าร้อยละ 85 (ปกติเรานำเข้า C1> 85%) นำไปลดอุณหภูมิให้ติดลบ -162 องศาเซลเซียส ที่ความดันบรรยากาศ1 atm***
เมื่อมาทำงาน ก็เพิ่งจะมาได้ยินและรู้คร่าวๆเมื่อปี 2554 ซึ่งเป็นครั้งแรกที่บ้านเราเริ่มนำเข้า LNG
จนเมื่อราว 2558 จึงได้เริ่มรู้จักและได้เรียนได้รับการสอนมากขึ้นจากในประเทศ ทั้งจากหน่วยงานและพี่ที่สนิทเมตตามาสอนผม ว่าจริงๆแล้ว อุณหภูมิน่ะคือคีย์เวิดสำคัญของ LNG และได้คลุกคลีอยู่พักนึง จนสนใจจริงจังศึกษาตามอ่านข่าวเอาเองมาเรื่อย
ในด้านเชื้อเพลิงภาคพลังงาน ยุคนี้ถือเป็นยุคของ LNG จริงๆ บูมมาก และเปลี่ยนเร็วมาก ทั้งเรื่อง ตลาดการค้า/เทคโนโลยี/การขนส่ง
จึงบอกตรงๆว่า ส่วนตัวค่อนข้างลำเอียง เอาใจช่วย กฟผ เต็มที่
ด้วยความที่ใหม่สำหรับ กฟผ จึงใช้เวลาพอสมควร กว่าจะเริ่มลงมือจนเปิด bidding LNG พร้อมด้วยเงื่อนไขที่ถูกกำหนดเพราะตลาด LNG ที่เปลี่ยนไปจาก shale gas
แต่ไม่ว่ายังไงก็ตาม แม้ว่าสัญญาสมัยใหม่จะมีความยืดหยุ่นมากแค่ไหน หากไม่มีการใช้ (1) การเก็บไว้ในถังเฉยๆ นั่นย่อมเกิดการสูญเสีย ต่อให้ระบบเทพขนาดไหนก็ตาม
เช่น เทคโนโลยีGTT ใหม่ที่พัฒนาผนังเพื่อรักษาความเย็นถังเก็บ LNG เคลมว่าเกิด loss (2) เพียงวันละ 0.07% ของปริมาตรถังเก็บที่มีขนาดถังจุ 160,000 ลูกบาศก์เมตร (m3)ก็คือวันละกว่า 100 m3 หรือง่ายๆคือ วันละกว่า 100000 ลิตร (ยังไม่นับเมื่อแลกเปลี่ยนความร้อนให้กลับเป็นก๊าซเพื่อใช้งาน ซึ่งต้องคูณอีก 600 เข้าไป)
การเปลี่ยน LNG ให้เป็นก๊าซ ก็ต้องใส่พลังงานเข้าไป! นั่นคือการแลกเปลี่ยนความร้อน ไม่ว่าจะใช้น้ำทะเล/อากาศ ก็ขึ้นกับที่ตั้งและการออกแบบ
(ที่บ้านเราใช้น้ำทะเล) จึงมีค่าดำเนินการอีก
ดังนั้น LNG จึงมีต้นทุนเพิ่มจากค่าดำเนินการ นอกเหนือจากการซื้อราคาเนื้อและค่าขนส่ง
ของพวกนี้แม้ว่าปัจจุบันจะบูม แต่ในอดีตต้องแย่งกัน/แข่งกันซื้อ และมีข้อจำกัดต่างๆ จึงต้องถูกมัดเป็นสัญญาระยะยาวมากกว่า 10 ปีขึ้นไป ซึ่งใช่เลย สัญญา LNG เดิมที่มีของประเทศเป็นสัญญาระยะยาวทั้งสิ้น
รวมที่เราต้องรับทุกปีตอนนี้ก็ 5.2 ล้านตัน หรือประมาณ 11+ ล้านลูกบาศก์เมตรต่อปี
คิดเป็นเรือขนาดใหญ่(Q-max) ราว 40++ ลำ
นี่ขอเล่าคร่าวๆแค่นี้ ยังมีประเด็นที่เกี่ยวข้องพอสมควรและต้องคิดให้ครบด้วย เพราะมันจะไปกระทบต่อทั้งการสูญเสียเงินตรา ค่าปรับทางสัญญา(take or pay) และค่าไฟฟ้าที่อาจเปลี่ยนไปด้วย
ดังนั้นโดยสรุป การล้มดีลนั้น มีเหตุและผลที่เป็นจริง
ไม่ลอยมาแน่นอน !
ภาพเครื่องแลกเปลี่ยนความร้อนด้วยอากาศ ที่ประเทศญี่ปุ่น (บ้านเราใช้น้ำทะเล)
บันทึก
3
1
3
1
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย