21 ธ.ค. 2019 เวลา 10:01 • ธุรกิจ
บทความแบบไหนคนอยากจะคลิก การตั้งชื่อบทความให้ดึงดูดนั้นสำคัญ ตั้งชื่ออย่างไรให้โดน บทความนี้มีคำตอบ
ชื่อ + ภาพปก ทำให้คนที่เลื่อนดูฟีดนั้นหยุดนิ้วได้ และเป็นหัวข้อที่เขาสนใจจะทำให้คลิกเข้าไปอ่าน ฉะนั้นชื่อจึงเป็นเหมือนหน้าตาที่ถูกตกแต่งเพื่อต้อนรับแขกที่แวะมาเยือนนั่นเอง
7 เทคนิคตั้งชื่อบทความให้คนอยากอ่าน
เช่นเดิมสำหรับท่านไหนที่อ่านบทความของเพจเราบ่อย ๆ คงจะทราบดีว่าควรเตรียมป๊อบคอนสักถัง อาหารว่างสักหน่อย พร้อมหาที่นั่งสบาย ๆ อ่านไปทีละนิดให้เพลินนะคะ บอกแล้วนะว่าบทความมันยาว
เหมาะสำหรับทุกท่านที่กำลังหาเทคนิคในการ "เขียนบทความ" ใช้ได้กับทุกที่นะคะ จะเขียนลง Blockdit Facebook Website Blog หรือที่ไหน ก็สามารถใช้หลักการนี้ได้เหมือนกันค่ะ อ่านไปก็จับทริคให้ได้ และมันจะได้ผลและมีประโยชน์สำหรับท่านก็ต่อเมื่อนำความรู้จักบทความนี้ "ไปใช้" นะคะ
1
ตั้งใจอ่านดี ๆ นะคะ อย่าอ่านเร็ว ค่อย ๆ อ่านน้าาาา 7 เทคนิคการตั้งชื่อบทความให้คนอยากอ่านมีดังนี้
1. ให้มีตัวเลข (เลขคี่) ในหัวข้อ
ใส่เลขคี่ในหัวข้อ
การใส่ตัวเลขนั้นช่วยให้คนอยากคลิกมากขึ้นนะคะ โดยเฉพาะเลขคี่ แต่จะใส่เลขคู่ก็ไม่ผิดอะไร เพียงแต่ว่ามันมีคนทำวิจัยออกมาแล้วว่า ผู้อ่านอยากจะคลิกอ่านบทความเพราะมีตัวเลขมากถึง 36 % เลยค่ะ เป็นงานวิจัยของเว็บ Conductor ลองหาอ่านดูนะคะ
และซับพอร์ตการใช้ตัวเลขเข้าไปอีกคืองานวิจัยของทาง Content Marketing Institute บอกว่าตัวเลขหัวข้อที่คนชอบคลิกอ่านคือ "เลขคี่ " ค่ะ
เลขคี่คืออะไร ? เช่น 1, 3, 5, 7, 9,..+ 99 จะใช้เลขอะไรก็เลือกให้เหมาะสมกับหัวข้อบทความตนเองได้เลยค่ะ
1
ตัวอย่างบทความที่ใช้ตัวเลขคี่ในหัวข้อ
>> 5 เทคนิคทำให้ผู้ติดตามบนเพจ Blockdit เพิ่มขึ้น >> https://www.blockdit.com/articles/5dfc8eb36a33310cf589d501
>> 5 วิธีสร้างรายได้จากการใช้ Facebook >> https://www.blockdit.com/articles/5dfbb696f2ba53252969517e
>> 5 วิธีสร้างเงินออนไลน์ ที่เริ่มต้นได้ ด้วยงบ 0 บาท >> https://www.blockdit.com/articles/5df7c484ec0a073883b7824f
ทั้ง 3 บทความที่ยกตัวอย่างมา มีทั้งคนอ่าน คนไลค์ (Like คนแชร์ ค่ะ และที่สำคัญได้ดาวทั้ง 3 บทเลย
นอกจากเป็นเลขคี่แล้ว ก็ให้ใช้เป็นเลขอารบิคด้วยนะคะ ข้อนี้ความคิดเห็นส่วนตัวค่ะ มันจะให้ความรู้สึกเป็นสากลมากกว่า อีกอย่างดูสบายตัว ให้ความคุ้นเคยกับคนอ่าน ก็ลองเทียบกับดูการใช้อารบิคกับเลขไทยแบบไหนมันน่าคลิกกว่ากันนะคะ ยกเว้นอะไรที่มันมีความเป็นไทย ๆ ในบทความนั้น ๆ ใช้เลขไทยก็อ่านนะเข้ากันมากกว่า ยังไงก็ลองพิจารณากันดูนะคะ
2. ตั้งชื่อบทความเป็นวิธีแก้ปัญหา (How to ) ต่าง ๆ
ตั้งชื่อเป็นวิธีแก้ปัญหาให้คนอ่าน
การตั้งชื่อบทความเป็นวิธีแก้ปัญหา (How to ) นั้น งานวิจัยของ Conductor สรุปว่ามีคนอ่านถึง 17% เลยค่ะ
ตัวอย่างบทความที่ตั้งชื่อแบบแก้ปัญหา
>> วิธีสร้างเงินด้วยบทความ 10 ช่องทาง >> https://www.blockdit.com/articles/5dfa03486f7dda4f4f557c4d
>> 3 วิธีสยบหม้อหุงข้าวบูด ชะงัดนัก >> https://www.blockdit.com/articles/5d9cc349ca4b5704c4f4faa2
>> 5 วิธีสร้างรายได้จากการใช้ Facebook >> https://www.blockdit.com/articles/5dfbb696f2ba53252969517e
เอาตั้งตัวเลขมาผสมกับการแก้ปัญหา ตั้งเป็นหัวข้อบทความก็เจ๋งนะคะ ลองดูค่ะ วิธีนี้จะทำให้เราเข้าถึงกลุ่มผู้อ่านที่กำลังหาทางออกให้กับปัญหานั้น ๆ เลย เช่น เราเองกำลังอยากจะรู้ว่า Blockdit สร้างรายได้อย่างไร ก็จะค้นหา "วิธีสร้างรายได้ผ่าน Blockdit " เป็นต้น
ซึ่งจะหาอ่านบทความ หาดูคลิปวิดิโอ ก็ตามสะดวก ถ้ามีคนทำไว้เราก็อ่านหรือดู เพื่อจะได้ทำตาม
ในมุมของผู้อ่านบทความก็เหมือนกันค่ะ หากเราเขียนบทความเกี่ยวกับ How to และตั้งชื่อบทความเป็น How to ใครที่กำลังอยากรู้ หรือกำลังหาข้อมูลเรื่องนั้น ๆ อยู่ ก็เข้าเป้าเราเลย มีโอกาสที่เขาจะเข้ามาอ่านบทความที่เราเขียนนะคะ
3. ใช้ Who/What/When/Where/Why/How ในการตั้งชื่อบทความ
ใช้ Who/What/When/Where/Why/How ตั้งหัวข้อ
สำหรับหลักการนี้อาจจะต้องเลือกใช้แบบผสม ๆ กัน อะไร + อะไร ที่เห็นบ่อย ๆ ก็จะมีการตั้งหัวข้อแบบคำถาม (What) ค่ะแบบอื่นก็มีนะคะ ลองสังเกตจากเว็บคอนเทนท์ดัง ๆ ก็ได้นะคะ ส่วนมากก็จะมีการใช้ Who/What/When/Where/Why/How ผสมกันอยู่ในชื่อบทความ
งานวิจัยของ Conductor สรุปว่ามีคนอ่านบทความหัวข้อที่เป็นแบบตั้งคำถามมีถึง 11 % เลยนะคะ
ตัวอย่างการตั้งหัวข้อบทความในแบบต่าง ๆ
1. What + Where + Why = ซื้อของใน 7 -11 ด้วยงบ 100 บาท ได้อะไรบ้าง ?
2. Who + What = แอดมินไดอารี่ความฝันเผยเทคนิคการเขียนบทความให้ได้เงิน
3. Who + How = นาย A นักซิ่งระดับโลกสอนวิธีขับรถเข้าโค้งให้ปลอดภัย
ฯลฯ-
เป็นเทคนิคเล็ก ๆ น้อย ๆ แต่ทำได้จริง และน่าสนใจมาก ๆ ค่ะ ลองนำมาปรับใช้กับการตั้งชื่อบทความของตนเองดูนะคะ อาจจะได้หัวข้อที่ตรงใจ
1
4. ตั้งชื่อบทความให้คนอ่านสงสัย
ตั้งชื่อให้คนอ่านสงสัย
สำหรับวิธีนี้เป็นการ "เล่นกับความสงสัยของคนอ่าน" ค่ะ
พออ่านหัวข้อแล้วเกิดความสงสัย >>> พอสงสัยทำให้อยากรู้>>>พออยากรู้ก็ต้องคลิกเข้าไปอ่าน>>> พออ่านจบก็หายสงสัยและได้คำตอบ
ว่าด้วยเรื่องภาวะความสงสัย ในยุค 90s George Loewenstein นักจิตวิทยาและนักเศรษฐศาสตร์จาก Carnegie Mellon ได้อธิบายไว้ว่า"เราจะเกิดความสงสัยขึ้นได้ต่อเมื่อมี ‘information gaps’ (ช่องว่างระหว่างข้อมูล) ความสงสัยเกิดจากความต้องการจะกระชับช่องว่างระหว่าง ‘สิ่งที่เรารู้’ กับ ‘สิ่งที่เราอยากรู้’
พอหัวข้อบทความของเรามีอะไรบางอย่างหายไป ที่อยากให้คนอ่านต้องตามหา มันคือช่องว่างตรงนั้นแหละ ลองดูนะเวลาตั้งหัวข้อคุณจะทำให้คนอ่านอยากจะตามหาคำตอบของอะไร
ยกตัวอย่างการตั้งหัวข้อบทความที่เล่นกับความสงสัยของคน
>> การนอนก่อน 4 ทุ่มจะส่งผลแบบนี้ต่อร่างกาย
(แบบนี้ คือแบบไหน ? พอคนอ่านสงสัยก็คลิกเข้าดูว่า นอนก่อน 4 ทุ่ม ร่างกายจะเป็นอย่าง )
>> รู้แล้วจะทึ่ง ชายหนุ่มคนนี้วิ่งวันละ 10 นาทีจนเปลี่ยนไป
(ความสงสัยคือ วิ่ง 10 นาทีแล้วอะไรเปลี่ยนไป ? พออยากรู้ ก็คลิกอ่าน )
ความสงสัย มี 2 แบบ
1. อยากรู้ทั่วไป (Diversive curiosity ) ซึ่งเป็นความอยากรู้ที่เรียกว่า clickbait ถ้าใครเล่นเฟซบุ๊ก (Facebook ) คงจะเคยเห็นเพจต่าง ๆ แชร์บทความที่มีหัวข้อที่มักจะเกิดความสงสัยให้เราอยากรู้อยู่เสมอ นั่นแหละค่ะ เขาใช้หลักการ clickbait พอคนอ่านคลิกเข้าไปอ่านแล้วก็หายอยากรู้ แก้ความสงสัยลงไปได้ ซึ่งความสงสัยระดับนี้ยังหมายถึง ความอยากรู้เรื่องคนอื่นด้วยนะคะ
2. ความกระหายในความรู้อย่างเข้มข้นลงลึก (Epistemic Curiosity) เป็นความอยากรู้ที่ลึกมาก ๆ ซึ่งมันก็อาจจะเริ่มมาจากการสงสัยแบบทั่วไป (Diversive curiosity) ก่อน แล้วถ้าสนใจก็อยากจะรู้ให้มากขึ้น เช่น เราสนใจเรื่องทำไมสุนัขถึงต้องหมุนรอบตัวเองก่อนจะนอนลง
พอเกิดความสงสัยก็เริ่มค้นหาคำตอบ อาจจะค้นหาข้อมูลในอินเตอร์เน็ต การสอบถามผู้รู้เพิ่มเติม เป็นต้น ซึ่งการกระหายอยากรู้แบบนี้ จะทำให้ "มีความรู้ " ทำให้ฉลาด มีปัญญา ค่ะ ทำให้เกิด "ความเข้าใจ" พอเข้าใจก็ทำให้ "มีความสุข" ค่ะ
คุณเคยสงสัยอะไรแล้วอยากรู้ พออยากรู้จึงหาข้อมูลแบบละเอียดไหมคะ นั่นแหละคือความสังสัยแบบ Epistemic Curiosity
5. ให้มีคำฮิต คำสะดุดตา โดนใจผสมเข้ากับชื่อบทความ
ใช้คำให้สะดุดใจ
ใส่คำที่อ่านแล้วรู้สึก สตั๊นไปสัก 2 วินาที จะช่วยทำให้คนหยุดดูและอ่านชื่อบทความเราต่อค่ะ
คำเหล่านั้นก็เช่นคำว่า ปัง! เฉียบ! เจ๋ง! หายาก! ฟรี! เยี่ยม! ตะลึง! น่าทึ่ง! ฯลฯ ประมาณนี้ค่ะ พอมีคำเหล่านี้จะกระตุ้นให้คนอ่านอยากรู้มากขึ้น
ตัวอย่างหัวข้อที่ตั้งโดยมีคำสะดุด ๆ คำฮิต ๆ แบบนี้ผสมอยู่มักจะอยู่ในบทความข่าวค่ะ แต่บทความรูปแบบอื่น ๆ ก็นำมาปรับใช้ได้ เช่น
>> เจ๋ง! เด็กไทยสร้างหุ่นยนต์บนเร็วที่สุดในโลกได้สำเร็จ
>> สุดปัง! แม่ค้าออนไลน์วัยเรียน Live สดขายของคืนเดียวยอดขายทะลุ 1 ล้านบาท
>> แจกฟรี! สูตรลัดหาเงินออนไลน์ใช้มือถือเครื่องเดียว
อย่าลืมใส่เครื่องหมายตกใจที่คำนั้นด้วยนะคะ )
เครื่องหมายตกใจ (!)
6. ตั้งชื่อบทความให้ขัดใจคนอ่าน
ตั้งชื่อบทความให้ขัดใจคนอ่าน
การตั้งชื่อบทความให้เกิดความรู้สึกขัดใจคนอ่าน จะทำให้คนอ่านรู้สึกหงุดหงิดหน่อย ๆ ค่ะ แต่ก็ในเนื้อหาบทความควรมีเนื้อหาที่ตอบสนองต่อความอยากรู้ อยากแก้ไข ของคนอ่านด้วยนะคะ
ซึ่งการตั้งชื่อบทความแบบนี้ อ่านแล้วจะรู้สึกในทางลบสักหน่อยค่ะ แต่มันก็เป็นเทคนิคเรียกคนอ่านเนาะ นำไปปรับใช้กันได้
ตัวอย่างชื่อบทความที่ตั้งให้รู้สึกขัดใจคนอ่าน
>>> คนมีรถต้องอ่าน อย่าทำแบบนี้ถ้าไม่อยากรถพัง (เป็นชื่อบทความที่มีทั้ง ความสงสัย + ความขัดใจ + ความอยากรู้ ค่ะ )
>>> เตือน! 10 ข้อที่มนุษย์ออฟฟิตห้ามทำถ้าไม่อยากป่วย
>>> 7 สิ่งที่ห้ามทำเด็ดขาดถ้าไม่อยากอ้วน
เป็นการเล่นกับความกลัวของคน (Scarcity Marketing) ด้วยค่ะ รู้สึกขัดใจ รู้สึกกลัว อย่างตามตัวอย่างหัวข้อที่ว่า 7 สิ่งที่ห้ามทำเด็ดขาดถ้าไม่อยากอ้วน ก็คือทำให้คนกลัวจะอ้วนนั่นเอง
แม้เนื้อหาบทความจะไม่ได้เป็นอะไรด้านลบ ๆ มากนัก แต่การตั้งหัวข้อที่รู้สึกขัดใจ ตั้งให้รู้สึกไม่ดีแบบนี้ก็เรียกยอดคลิกได้ค่ะ แน่นอนว่าวิธีนี้เหล่าเว็บ clickbait นิยมเอาไปใช้มาก เห็นได้ทั่วไปตามข่าวบนเฟซบุ๊กค่ะ แต่แม้จะเป็นแนว clickbait แต่สิ่งที่จะทำให้คนอ่านยังคงเชื่อถือเราอยู่คือ การเขียนเรื่องจริง ข่าวจริง ข้อมูลจริง ค่ะ
7. ใช้ 2 ภาษาในการตั้งหัวข้อ
ใชั 2 ภาษาตั้งหัวข้อ
การใช้ 2 ภาษาคือ ไทย + อังกฤษ ทำให้หัวข้อบทความอ่านง่ายขึ้นค่ะ
ถ้าใช้ภาษาไทยทั้งหมดบางทีมันก็ยาวไป ซึ่งเวลาจะใช้ภาษาอังกฤษมาผสมนั้นก็ต้องเลือกจังหวะ เช่น เลือกใช้ภาษาอังกฤษเป็น ชื่อแบรนด์ ชื่อสถานที่ ชื่อคนแต่จะต้องเป็นชื่อที่คุ้นเคยนะคะ ชื่อบางคนก็ยาวเหยียดคงไม่เหมาะ
คำภาษาอังกฤษที่น่าใช้ผสมในหัวข้อ
How To , Review New Item , ชื่อเฉพาะ ชื่อแบรนด์ ชื่อสถานที่ เป็นต้น
ตัวอย่างการตั้งชื่อบทความ ภาษาไทย + อังกฤษ
>>> ลือ! iPhone 12 จะมาแบบไร้จอแหว่งบางเฉียบกว่าเดิม (ลองดูที่คำว่า iPhone ถ้าเราเขียนว่า ไอโฟน 12 หรือ ไอโฟนสิบสอง มันก็จะดูยาว ๆ และตัวหนังสือติดกันเกินไปนั่นเองค่ะ )
>>> Review แก้วกับความเย็นสุดชิค เก็บนาน 48 ชั่วโมง
>>> How to ล้างหน้าอย่างไรให้สะอาด 100 % ( ซึ่งลองเทียบกับการเขียนว่า ฮาวทูล้างหน้าอย่างไรให้สะอาด 100 % หรือ วิธีล้างหน้าให้สะอาด 100 % แบบไหนมันอ่านง่ายสบายตามากกว่ากัน )
>>> สนามบินแตก!แฟนคลับแห่ต้อนรับ Bruno Mars เยือนไทย เปิดคอนเสิร์ตที่ central world 2 ม.ค.นี้
ครบแล้วนะคะ 7 เทคนิคการตั้งชื่อบทความ ลองเลือกและนำไปปรับใช้กันดูน้าาา หวังว่าบทความนี้จะเป็นประโยชน์สำหรับหลาย ๆ ท่านนะคะ
ถ้าชอบและเห็นว่ามีประโยชน์ ช่วยกดแชร์ กดไลก์ กดหัวใจให้คนละดวงสองดวง และคอมเมนต์เป็นกำลังใจให้ด้วยนะค้าาาา
โฆษณา