22 ธ.ค. 2019 เวลา 04:05
= ผ้าอนามัยควรย่อยสลายได้แบบนี้ =
.
ต้องบอกว่าในบรรดาขยะที่เกิดจากชีวิตประจำวัน ขยะที่น่าปวดหัวที่สุดคงหนีไม่พ้น ผ้าอนามัยและผ้าอ้อมใช้แล้ว เพราะขยะประเภทนี้ จะมีส่วนประกอบของขยะหลายๆ อย่างอยู่ด้วยกัน ผิวสัมผัสทำจากพลาสติก เส้นใยซึมซับทำจากเยื่อกระดาษ บวกกับขยะอินทรีย์+ติดเชื้อที่แทรกตัวอยู่ภายใน
.
เวลาจะทิ้งยิ่งลำบากเข้าไปใหญ่ จะทิ้งเฉยๆ สภาพก็ดูไม่ดีนัก ก็จะต้องห่อให้มิดชิดด้วยกระดาษบ้าง ถุงพลาสติกบ้าง
.
แน่นอนว่ารีไซเคิลไม่ได้ ถึงแม้จะมีคนพยายามหาวิธีรีไซเคิลอยู่ แต่ฟังดูก็รู้ว่าไม่ใช่เรื่องง่าย หรือจะเอาไปเผาเพื่อทำพลังงาน ก็ไม่สามารถทำได้เพราะมีความชื้นสูง ดังนั้นร้อยทั้งร้อยของขยะประเภทนี้จะไปจบอยู่ที่บ่อขยะ
.
ผ้าอนามัยพวกนี้มีส่วนผสมของพลาสติกอยู่ ประมาณ 3.4 กรัมต่อแผ่น ปีนึงมีการทิ้งประมาณ 12,000 ล้านแผ่น ก็เท่ากับ 40 ล้านตันของพลาสติกที่จะไปจบที่บ่อขยะ
.
แล้วจะทำอย่างไรเมื่อมันไม่ใช่สินค้าฟุ่มเฟือย แต่เป็นของที่จำเป็นจะต้องใช้แบบหลีกเลี่ยงไม่ได้ ถ้าจะใช้แบบถ้วยหรือแบบซักได้ ก็ลำบากสำหรับหลายๆ คน
.
ที่ประเทศอินเดียสตาร์ทอัพ ชื่อ Saathi จึงได้คิดค้นผ้าอนามัยแบบย่อยสลายได้ 100% โดยทำจากใยกล้วยหรือใยไผ่ เป็นส่วนสำหรับการซึมซับของเหลว ส่วนผิวสัมผัสและกันน้ำไม่ได้ระบุไว้ (น่าจะทำจากไบโอพลาสติก-ลุง)
.
โดยเค้าเคลมว่าเมื่อใช้แล้วและทิ้งลงในบ่อขยะ ผ้าอนามัยเหล่านี้จะสามารถย่อยสลายได้ภายใน 6 เดือน ในสภาพแวดล้อมปกติ
.
Saathi ได้รับรางวัลมากมาย รวมถึง The 100 best inventions 2019 ของนิตยสาร Time อีกด้วย
.
คิดว่านวัตกรรมนี้ไม่น่าจะยากเกิดไปที่บริษัทผลิตผ้าอนามัยรายอื่น จะเลียนแบบบ้าง สาวๆ จะได้สบายใจทุกครั้งในการทิ้งผ้าอนามัยเหล่านี้ นอกจากไม่เลอะเราแล้ว ก็จะไม่เลอะโลกด้วย
.
.
ถ้าชอบบทความนนี้
ี้อย่าลืมกดไลค์กดเเชร์เพื่อคนที่คุณรัก
์เเละเป็นกำลังใจให้ด้วยนะค่ะ😍
โฆษณา