22 ธ.ค. 2019 เวลา 11:59 • วิทยาศาสตร์ & เทคโนโลยี
Unsinkable เรือที่ไม่มีวันจม
ไททานิค ชื่อนี้ผมได้ยินครั้งแรก ตอนที่ผมเรียนปริญญาตรี เมื่อตอนปี 1
และรู้จักมันมากขึ้น เมื่อ มันถูกสร้างเป็นภาพยนต์ฟอร์มยักษ์ ที่ทำรายได้ถล่มทลาย
ในโลกภาพยนต์ ไททานิค เป็นเรื่องราวความรักของหนุ่มสาวต่างชนชั้น
ที่กำลังเดินทาง สู่โลกใหม่...... อเมริกา
โดยเดินทางด้วยเรือเดินสมุทร ที่ใหญ่ และทันสมัยที่สุดในสมัยนั้น...…….ไททานิค
เรือที่ถูกนิยามว่าไม่มีวันจม Unsinkable
แต่เพียงการเดินทางครั้งแรก เรือที่ไม่มีวันจม
กลับดำดิ่งสู่ ก้น มหาสมุทร โดยไม่สามารถไปถึงจุดหมายได้
ผมเชื่อว่า หลายคนคงได้ยินกันมาว่า เรือไททานิค จม เพราะชนภูเขาน้ำแข็ง
นั้นก็เป็นความจริง
แต่ สิ่งที่น่าสนใจคือ ทำไมชนแล้ว เรือจึงเกิดการแตกร้าว เป็นทางยาว
จนน้ำทะเลไหลทะลักเข้าสู่ตัวเรือ ปริมาณมหาศาล
ในขณะที่หากเราขับรถ ชนกำแพง สิ่งที่เราพบคือรถเราจะบุบและยุบ
แต่เราไม่ค่อยเห็นการแตกร้าวของเหล็กที่ใข้ในการผลิตตัวรถ
คุณเคยสงสัยไหม ???
จากการตรวจสอบโครงสร้างจุลภาคของชองชิ้นส่วนเรือไททานิคบางส่วนที่กู้ได้จากมหาสมุทรแอตแลนติก
โดย Tim Foecke จาก National Institute of Standards and Technology U.S. DEPARTMENT OF COMMERC
ซึ่งที่น่าทึ่งคือ เหล็กที่ใช้ในการผลิตเรือ เต็มไปด้วย สารมลทิน MnS (Manganese Sulphide) ที่มีขนาดใหญ่
ในขณะที่มีเกรนเฟอร์ไรท์ที่หยาบ
และมีอัตราส่วน Mn/S และ Mn/C ต่ำ
ทำให้ ตัวเรือมีความต้านทานต่อการกระแทกต่ำมาก
โดยเฉพาะเมื่อ แล่นอยู่ในน้ำทะเลที่มีอุณหภูมิต่ำกว่า 0 องศาเซลเซียส
เนื่องจาก Transition Temperature (อุณหภูมิที่เกิดการเปลี่ยนแปลงสมบัติของโลหะ จากเหนืยวเป็นเปราะ)
ของเรือไททานิค มีค่าสูงถึงประมาณ 50 องศาเซลเซียส
ซึ่งค่าที่สูงขนาดนี้ต่อให้ใช้งานเรือแค่รอบๆ อ่าวไทย ก็อาจจะจมลงได้ไม่ยาวเช่นเดียวกัน
ดังนั้นเมื่อเกิดการชน เรือจึงเกิดการแตกร้าวได้ง่าย แม้จะถูกชนหรือแรงกระแทกกระทำเพียงน้อยนิด
และจากผิวแตกของเรือไททานิค ที่ได้ทำการทดสอบการกระแทกก็บ่งชี้เช่นนั้น
ผิวแตกส่วนใหญ่เป็นผิวแตกแบบเปราะ โดยเฉพาะบริเวณรอบๆ MnS
การจมของเรือของไททานิค จึงกลายเป็นกรณีที่ศึกษาที่น่าสนใจ
และเป็นเรื่องเล่าคลาสสิคของเหล่านักโลหะวิทยา
ที่จะบอกกับคนอื่นว่า มีเราไว้ทำไม และทำไมต้องมีเรา
#เหล็กไม่เอาถ่าน

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา