22 ธ.ค. 2019 เวลา 14:57 • ประวัติศาสตร์
พระผงเทพนิมิต พิมพ์นาคปรกนางตรา อาจารย์ชุม ไชยคีรี พ.ศ. 2497
3
พระผงเทพนิมิต พิมพ์นาคปรกนางตรา อาจารย์ชุม ไชยคีรีได้จัดสร้างขึ้นเพื่อถวายให้กับวัดพระบรมธาตุ จังหวัดนครศรีธรรมราช เมื่อปี พ.ศ.2497
พุทธลักษณะ
ด้านหน้าเป็นพระพุทธรูปปางนาคปรก นาค 7 เศียร ประทับนั่งขัดสมาธิบนฐานขดนาค 3 ชั้น มีนางตราประทับนั่งอยู่ด้านล่าง
ด้านหลัง เป็นรูปพระบรมธาตุเจดีย์
ประวัติการจัดสร้างพระผงเทพนิมิต
พระผงเทพนิมิตร วัดพระบรมธาตุ พ.ศ.2497 จัดสร้างโดยอาจารย์ชุม ไชยคีรี มีการสร้างทั้งหมดหลายพิมพ์ เช่น พระพุทธชินราชท่าเรือ พระนาคปรกนางตราหลังเจดีย์ พระนาคปรกนางตราหลังยันต์ พระขุนแผน พระรอด โดยจัดสร้างพิมพ์ละ 84,000 องค์ จัดให้มีพิธีพุทธาภิเษกขึ้นตลอดพรรษา ณ วิหารวัดพระบรมธาตุ ได้ฤกษ์กดพิมพ์องค์พระในวันที่ 2 สิงหาคม 2497 กดพิมพ์พระครบตามจำนวนที่กำหนดในวันที่ 1 กันยายน 2497 เสร็จสิ้นพิธีพุทธาภิเษก ในวันที่ 12 ตุลาคม 2497 ซึ่งเป็นวันออกพรรษา
เมื่อเสร็จพิธี อาจารย์ชุม ไชยคีรี ได้นำพระพิมพ์นางตราและชินราชท่าเรือขนาดใหญ่-เล็ก พระนาคปรกหลังยันต์ พระพิมพ์ขุนแผน ออกแจกด้วยตัวท่านเอง พร้อมสมุดอุปเท่ห์การบูชาพระ ผู้คนจึงรู้จักกันว่าเป็นพระของอาจารย์ชุม จำนวนการสร้างนั้นมีพิมพ์ละ 84,000 องค์ เมื่อพระมีจำนวนมากบางส่วน ท่านจึงได้นำบรรจุเก็บไว้ในถัง 200 ลิตร ต่อมาปลวกมาทำรัง พระที่พบจึงมีทั้งแบบมีคราบปลวกและที่ไม่มีคราบ
มวลสารที่รวบรวมมามีพระกรุสุดยอดพระเครื่องจากทั่วประเทศ มาดำเนินการสร้างพระผงเทพนิมิตนี้ จากการรวบรวมปรากฎว่าได้พระกรุมากว่า 108 กรุ ว่านยาอีก 108 ชนิด รวมทั้งผงวิเศษ อาทิเช่น พระกรุนางตรา-ท่าเรือ, กรุท้าวโคตร, สมเด็จวัดระฆัง, สมเด็จบางขุนพรหม, พระผงสุพรรณ, ผงดำผงแดงหุ่นพยนต์หลวงพ่อเกตุ วัดขวิด, ขุนแผนวัดพระรูปและวัดบ้านกร่าง, พระนางพญาวัดนางพญาและวัดต้นจันทร์, พระกรุต่าง ๆ ในกำแพงเพชร, พระกรุต่าง ๆ ในสุโขทัย, หูยานลพบุรี, ท่ากระดานหูไห กาญจนบุรี, พระกรุวัดท่ามะปราง, พระวัดชินราช พิษณุโลก, พระหลวงพ่อจุก, พระจุฬามณี พิษณุโลก, พระรอด พระคง พระเปิม-ลำพูน, มหาว่านวัดเขาอ้อ-พัทลุง, และพระกรุศรีวิชัย ฯลฯ
2
พิธีพุทธาภิเษกครั้งแรก จัดขึ้นที่ วัดบรรพตพินิจ อำเภอเขาชัยสน จ.พัทลุง
พิธีพุทธาภิเษกครั้งที่ 2 จัดขึ้นที่วัดพระบรมธาตุ ในพิธีพุทธาภิเษกนี้ ได้นิมนต์พระเกจิอาจารย์ผู้เรืองเวทย์ จำนวน 108 รูป มาร่วมทำพิธีพุทธาภิเษก โดยมีท่านเจ้าคุณพระภัทรมุนี เจ้าอาวาสวัดพระบรมธาตุ เป็นประธานฝ่ายสงฆ์
รายนามพระเกจิอาจารย์ที่ร่วมพิธีพุทธาภิเษก
1. หลวงพ่อคล้าย วัดสวนขัน จันดี
2. หลวงพ่อโอภาสี บางมด ธนบุรี
3. หลวงพ่อเขียว วัดหรงบน
4. หลวงพ่อเมือง วัดท่าพญา
5. หลวงพ่อคง วัดคลองน้อย
6. หลวงพ่อมุ่ย วัดป่าระกำ ปากพนัง
7. หลวงพ่อแดง วัดโท ท่าศาลา
8. หลวงพ่อคลิ้ง วัดถลุงทอง ร่อนพิบูลย์
9. หลวงพ่อแดง วัดเขาหลัก ทุ่งใหญ่,
10. หลวงพ่อตุด วัดทุ่งกง กระบี่
11. หลวงพ่อวัน มะนะโส วัดประสิทธิชัย
12. หลวงพ่อแสง วัดคลองน้ำเจ็ด ตรัง
13. หลวงพ่อปาล วัดเขาอ้อ
14. หลวงพ่อคง วัดบ้านสวน
15. หลวงพ่อดิษฐ์ วัดปากสระ
16. หลวงพ่อเจ็ก วัดเขาแดงตะวันตก
17. หลวงพ่อหมุน วัดเขาแดง ตะวันออก พัทลุง
18 หลวงพ่อพัว วัดเขาราหู (วัดบางเดือน)
19. หลวงพ่อแดง วัดคลองไทร
20, หลวงพ่อวิรัช วัดกะเปา คีรีรัฐนิคม สุราษฎร์ธานี
21. หลวงพ่อทอง วัดดอนสะท้อน
22, หลวงพ่อสงฆ์ วัดศาลาลอย
23. หลวงพ่อจีด วัดถ้ำเขาพลู
24, หลวงพ่อรุ่ง วัดบางแหวน ชุมพร
25, หลวงพ่อท้วม วัดเขาโบสถ์ บางสะพาน
26, หลวงพ่อเปี่ยม วัดเกาะหลัก ประจวบคีรีขันธ์
27. หลวงพ่อทองศุข วัดโตนดหลวง เพชรบุรี
28. หลวงพ่อแดง วัดเขาบันไดอิฐ เพชรบุรี
29. หลวงพ่อเงิน วัดดอนยายหอม
30. หลวงพ่อเต๋ วัดสามง่าม นครปฐม ฯลฯ
อาจารย์ที่เป็นฆราวาสได้แก่
อาจารย์ชุม ไชยคีรี
อาจารย์นำ แก้วจันทร์
พล.ต.ต. ขุนพันธรักษ์ ราชเดช
การปลุกเสกเน้นการเสกแบบเฉพาะทาง แบ่งออกเป็นช่วง ช่วงละ 7 วัน เช่น ปลุกเสกเน้นด้านคงกระพันชาตรี 7 วัน มหาอุด 7 วัน ป้องกันสัตว์ร้ายและโจรร้าย 7 วัน ป้องกันโรคภัยไข้เจ็บและภูตผีปีศาจ 7 วัน เมตตามหานิยม 7 วัน เป็นต้น
โฆษณา